พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 536-540

                                                            หน้าที่ ๕๓๖

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๖๒๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                บทว่า ของภิกษุ คือ ของภิกษุอื่น.
                ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่ บาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก ๑ บาตรดินเผา ๑
                ที่ชื่อว่า จีวร หมายถึงผ้า ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้อง
วิกัปเป็นอย่างต่ำ.
                ที่ชื่อว่า ผ้าปูนั่ง ตรัสหมายผ้าปูนั่งที่มีชาย.
                ที่ชื่อว่า กล่องเข็ม ได้แก่กล่องที่มีเข็มก็ตาม ไม่มีเข็มก็ตาม.
                ที่ชื่อว่า ประคตเอว ได้แก่ประคตเอว ๒ ชนิด คือ ประคตผ้าชนิดหนึ่ง ประคต
ไส้สุกรชนิดหนึ่ง.
                บทว่า ซ่อน คือ ซ่อนเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า ให้ซ่อน คือ ใช้ผู้อื่นให้ซ่อน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ใช้หนเดียว เขาซ่อน
แม้หลายหน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ คือ มุ่งจะล้อเล่น.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกะปาจิตตีย์
                [๖๒๙] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสมบัน ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวร
ก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคตเอวก็ดี โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
                อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี ผ้าปูนั่งก็ดี กล่อง
เข็มก็ดี ประคตเอวก็ดี โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี
ผ้าปูนั่งก็ดี กล่องเข็มก็ดี ประคตเอวก็ดี โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๕๓๗

                                                                ปัญจกะทุกกฏ
                ภิกษุซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบริขารอย่างอื่น โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
                ภิกษุซ่อนก็ดี ให้ซ่อนก็ดี ซึ่งบาตรก็ดี จีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี ของอนุปสัมบัน
โดยที่สุดแม้หมายจะหัวเราะ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๖๓๐] ภิกษุไม่มีความประสงค์จะหัวเราะ ๑ ภิกษุเก็บบริขารที่ผู้อื่นวางไว้ไม่ดี ๑ ภิกษุ
เก็บไว้ด้วยหวังสั่งสอนแล้วจึงจะคืนให้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
                                                ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖ จบ.
                                                ___________
                                                หัวข้อประจำเรื่อง
                ๑. สุราปานสิกขาบท         ว่าด้วยการดื่มสุรา
                ๒. อังคุลิปโตทกสิกขาบท      ว่าด้วยการจี้
                ๓. หัสสธัมมสิกขาบท         ว่าด้วยการเล่นน้ำ
                ๔. อนาทริยสิกขาบท         ว่าด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ
                ๕. ภิงสาปนสิกขาบท         ว่าด้วยการหลอนภิกษุ
                ๖. โชติสมาทหนสิกขาบท      ว่าด้วยการติดไฟ
                ๗. นหานสิกขาบท           ว่าด้วยการอาบน้ำ
                ๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท       ว่าด้วยของสำหรับทำให้เสียสี
                ๙. วิกัปปนสิกขาบท          ว่าด้วยการวิกัปจีวร และ
                ๑๐. จีวราปนิธานสิกขาบท     ว่าด้วยการซ่อนจีวร


                                                            หน้าที่ ๕๓๘

                                                ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๗
                                                ๗. สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑
                                                เรื่องพระอุทายี
                [๖๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นผู้ชำนาญในการยิงธนู
นกกาทั้งหลายไม่เป็นที่ชอบใจของท่านๆ ได้ยิงมัน แล้วตัดศีรษะเสียบหลาวเรียงไว้เป็นลำดับ
                ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ใครฆ่านกกาเหล่านี้?
                พระอุทายีตอบว่า ผมเองขอรับ เพราะผมไม่ชอบนกกา.
                บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระ
อุทายีจึงได้แกล้งพรากสัตว์จากชีวิตเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอแกล้งพรากสัตว์
จากชีวิต จริงหรือ?
                ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้แกล้งพรากสัตว์
จากชีวิตเล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๑๐. ๑. อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากสัตว์จากชีวิต เป็นปาจิตตีย์.
                                                เรื่องพระอุทายี จบ.


                                                            หน้าที่ ๕๓๙

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๖๓๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                บทว่า แกล้ง คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ ตั้งใจ พยายาม ละเมิด.
                ที่ชื่อว่า สัตว์ ตรัสหมายสัตว์ดิรัจฉาน.
                บทว่า พราก ... จากชีวิต ความว่า ตัดทอน บั่นทอน ซึ่งอินทรีย์มีชีวิต ทำความ
สืบต่อให้กำเริบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บทภาชนีย์
                [๖๓๓] สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าสัตว์มีชีวิต พรากจากชีวิต ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย พรากจากชีวิต ต้องอาบัติทุกกฏ.
                สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญไม่ใช่สัตว์มีชีวิต พรากจากชีวิต ไม่ต้องอาบัติ.
                ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าสัตว์มีชีวิต ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่สัตว์มีชีวิต ... ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๖๓๔] ภิกษุไม่แกล้งพราก ๑ ภิกษุพรากด้วยไม่มีสติ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุไม่ประ-
สงค์จะให้ตาย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๕๔๐

                                                ๗. สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๒
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๖๓๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์รู้อยู่
จึงได้บริโภคน้ำมีตัวสัตว์เล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอรู้อยู่
บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอรู้อยู่ จึงได้
บริโภคน้ำมีตัวสัตว์เล่า? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๑๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ เป็นปาจิตตีย์.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๖๓๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘