พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 506-510

                                                            หน้าที่ ๕๐๖

                                                ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖
                                                ๖. สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑
                                                เรื่องพระสาคตะ
                [๕๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จจาริกในเจติยชนบทได้ดำเนินทรง
ไปทางตำบลบ้านรั้วงาม คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนชาวนา คนเดินทาง ได้แลเห็น
พระผู้มีพระภาคกำลังทรงดำเนินมาแต่ไกลเที่ยว. ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอ-
พระองค์อย่าได้เสด็จไปยังท่ามะม่วงเลย พระพุทธเจ้าข้า, เพราะที่ท่ามะม่วงมีนาคอาศัยอยู่ในอาศรม
ชฏิล เป็นสัตว์มีฤทธิ์เป็นอสรพิษร้าย มันจะได้ไม่ทำร้ายพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า.
                เมื่อเขากราบทูลเรื่องนั้นแล้ว พระองค์ได้ทรงดุษณี,
                แม้ครั้งที่สองแล ...  แม้ครั้งที่สามแล ...
                ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลบ้านรั้วงามแล้ว ทราบว่า พระองค์
ประทับอยู่ ณ ตำบลบ้านรั้วงามนั้น.
                ครั้งนั้นแล ท่านพระสาคตะเดินผ่านไปทางท่ามะม่วง อาศรมชฎิล. ครั้นถึงแล้วได้เข้า
ไปยังโรงบูชาไฟ ปูหญ้าเครื่องลาด นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. นาคนั้น
พอแลเห็นท่านพระสาคตะเดินผ่านเข้ามา ได้เป็นสัตว์ดุร้ายขุ่นเครือง, จึงบังหวนควันขึ้นในทันใด.
แม้ท่านพระสาคตะก็บังหวนควันขึ้น. มันทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที. แม้ท่าน
พระสาคตะก็เข้าเตโชธาตุกสิณสมาบัติ บันดาลไฟต้านทานไว้. ครั้นท่านครอบงำไฟของนาคนั้น
ด้วยเตโชสิณแล้ว เดินผ่านไปทางตำบลบ้านรั้วงาม.
                ส่วนพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลบ้านรั้วงาม ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จ
หลีกไปสู่จาริกทางพระนครโกสัมพี. พวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพีได้ทราบข่าวว่า พระคุณเจ้า
สาคตะได้ต่อสู้กับนาคผู้อยู่ ณ ตำบลท่ามะม่วง. พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับถึง
พระนครโกสัมพี. จึงพวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพีพากันรับเสด็จพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไป-
หาท่านพระสาคตะ กราบไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง, แล้วถามท่านว่า ท่านขอรับ
อะไรเป็นของหายากและเป็นของชอบของพระคุณเจ้า พวกกระผมจะจัดของอะไรถวายดี?


                                                            หน้าที่ ๕๐๗

                เมื่อเขาถามอย่างนั้นแล้ว, พระฉัพพัคคีย์ได้กล่าวตอบคำนี้กะพวกอุบาสกว่า มี ท่าน
ทั้งหลาย สุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ เป็นของหายาก ทั้งเป็นของชอบของพวกพระ ท่านทั้งหลาย
จงแต่งสุรานั้นถวายเถิด.
                ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพี ได้จัดเตรียมสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบไว้
ทุกๆ ครัวเรือน, พอเห็นท่านพระสาคตะเดินมาบิณฑบาต จึงต่างพากันกล่าวเชื้อเชิญว่า นิมนต์
พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบเจ้าข้า, นิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดง
ดังเท้านกพิราบ เจ้าข้า.
                ครั้งนั้น ท่านพระสาคตะได้ดื่มสุราใสสีแดงดังเท้าดังนกพิราบทุกๆ ครัวเรือนแล้ว เมื่อจะ
เดินออกจากเมือง, ได้ล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง.
                พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากเมืองพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก, ได้ทอดพระเนตร
เห็นท่านพระสาคตะล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง, จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงช่วยกันหามสาคตะไป.
                ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว หามท่านพระสาคตะไปสู่อารามให้นอนหัน
ศีรษะไปทางพระผู้มีพระภาค. แต่ท่านพระสาคตะได้พลิกกลับนอนผันแปรเท้าทั้งสองไปทาง
พระผู้มีพระภาค.
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาคตะมีความ
เคารพ มีความยำเกรงในตถาคตมิใช่หรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เออก็บัดนี้ สาคตะมีความเคารพ มีความยำเกรงในตถาคตอยู่หรือ?
                ภิ. ข้อนั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาคตะได้ต่อสู้กับนาคอยู่ที่ตำบลท่ามะม่วงมิใช่หรือ?
                ภิ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เดี๋ยวนี้สาคตะสามารถจะต่อสู้แม้กับงูน้ำได้หรือ?
                ภิ. ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำที่ดื่มเข้าไปแล้วถึงวิสัญญีภาพนั้นควรดื่มหรือไม่?
                ภิ. ไม่ควรดื่ม พระพุทธเจ้าข้า.


                                                            หน้าที่ ๕๐๘

                ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของสาคตะไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉน สาคตะจึงได้ดื่มน้ำที่ทำผู้ดื่มให้เมาเล่า? การกระทำของสาคตะนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่
เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๐๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย.
                                                เรื่องพระสาคตะ จบ.
                                                _______________
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๕๗๖] ที่ชื่อว่า สุรา ได้แก่สุราที่ทำด้วยแป้ง สุราที่ทำด้วยขนม สุราที่ทำด้วยข้าวสุก
สุราที่หมักส่าเหล้า สุราที่ผสมด้วยเครื่องปรุง.
                ที่ชื่อ เมรัย ได้แก่น้ำดองดอกไม้ น้ำดองผลไม้ น้ำดองน้ำผึ้ง น้ำดองน้ำอ้อยงบ
น้ำดองที่ผสมด้วยเครื่องปรุง.
                คำว่า ดื่ม คือ ดื่ม โดยที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้าคา, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกะปาจิตตีย์
                [๕๗๗] น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าน้ำเมา ดื่ม, ต้องอาบัติปาจิตตีย์. น้ำเมา ภิกษุสงสัย ดื่ม,
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่ามิใช่น้ำเมา ดื่ม, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกะทุกกฏ
                ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าน้ำเมา ดื่ม, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสงสัย ดื่ม, ต้องอาบัติทุกกฏ.


                                                            หน้าที่ ๕๐๙

                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา ดื่ม, ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๕๗๘] ภิกษุดื่มน้ำที่มีกลิ่นรสเหมือนน้ำเมา แต่ไม่ใช่น้ำเมา ๑; ภิกษุดื่มน้ำเมาที่เจือลง
ในแกง ๑,  ... ที่เจือลงในเนื้อ ๑,  ... ที่เจือลงในน้ำมัน ๑,  ...  น้ำเมาในน้ำอ้อยที่ดองมะขามป้อม ๑,
ภิกษุดื่มยาดองอริฏฐะซึ่งไม่ใช่ของเมา ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
                                                ____________


                                                            หน้าที่ ๕๑๐

                                                ๖. สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๒
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๕๗๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ได้ทำภิกษุรูปหนึ่งในจำพวก
ภิกษุสัตตรสวัคคีย์ให้หัวเราะ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือ. ภิกษุรูปนั้นเหนื่อย หายใจไม่ทันได้ถึง
มรณภาพลง. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์
จึงได้ทำภิกษุให้หัวเราะ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ผู้มีพระภาค ...
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอทำภิกษุ
ให้หัวเราะเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ทำ
ภิกษุให้หัวเราะ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือเล่า? การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๑๐๑. ๒. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะจี้ด้วยนิ้วมือ.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
                                                ________________
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๕๘๐] ที่ชื่อว่า จี้ด้วยนิ้วมือ คือ ใช้นิ้วมือจี้ อุปสัมบันมีความประสงค์จะยัง
อุปสัมบันให้หัวเราะ ถูกต้องกายด้วยกาย, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘