พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 501-505

                                                            หน้าที่ ๕๐๑

                                                ๕. อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๙
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๕๖๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์มีกิจจำเป็นเดินผ่านกองทัพไป
แล้วแรมคืนอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรี. ประชาชนพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้พักแรมอยู่ในกองทัพเล่า? มิใช่ลาภของพวกเรา แม้พวก
ที่มาอยู่ในกองทัพ เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรภรรยาก็ได้ไม่ดีแล้ว.
                ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น
ผู้มักน้อย ...  ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้พักแรมอยู่ในกองทัพ
เกิน ๓ ราตรีเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอพักแรม
อยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรี จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้
พักแรมอยู่ในกองทัพเกิน ๓ ราตรีเล่า? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๙๘. ๙. อนึ่ง ปัจจัยบางอย่างเพื่อจะไปสู่เสนา มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้น
พึงอยู่ได้ในเสนาเพียง ๒-๓ คืน ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.


                                                            หน้าที่ ๕๐๒

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๕๖๘] คำว่า อนึ่ง ปัจจัยบางอย่างเพื่อจะไปสู่เสนา มีแก่ภิกษุนั้น คือ มีเหตุ
ได้แก่มีกิจจำเป็น.
                คำว่า ภิกษุนั้นพึงอยู่ได้ในเสนาเพียง ๒-๓ คืน คือ พึงอยู่ได้ ๒-๓ คืน.
                คำว่า ถ้าอยู่ยิ่งกว่านั้น ความว่า เมื่ออาทิตย์อัสดงค์ในวันที่ ๔ แล้วภิกษุยังอยู่ใน
กองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกะปาจิตตีย์
                [๕๖๙] เกิน ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                เกิน ๓ คืน ภิกษุยังแคลงอยู่ อยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                เกิน ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง อยู่ในกองทัพ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกะทุกกฏ
                ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน ...  ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุยังแคลงอยู่ ...  ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                ยังไม่ถึง ๓ คืน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ถึง ...  ไม่ต้องอาบัติ
                                                                อนาปัตติวาร
                [๕๗๐] ภิกษุอยู่ ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่ไม่ถึง ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่ ๒ คืนแล้ว
ออกไปก่อนอรุณของคืนที่ ๓ ขึ้นมา กลับอยู่ใหม่ ๑ ภิกษุอาพาธพักแรมอยู่ ๑ ภิกษุอยู่ด้วยกิจ
ธุระของภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุตกอยู่ในกองทัพที่ถูกข้าศึกล้อมไว้ ๑ ภิกษุมีเหตุบางอย่างขัดขวาง
ไว้ ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
                                                ___________________


                                                            หน้าที่ ๕๐๓

                                                ๕. อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๕๗๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์กำลังอยู่ในกองทัพ ๒-๓ คืน
ไปสู่สนามรบบ้าง ไปสู่ที่พักพลบ้าง ไปสู่ที่จัดขบวนทัพบ้าง ไปดูกองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้วบ้าง.
พระฉัพพัคคีย์รูปหนึ่งไปสู่สนามรบแล้วถูกยิงด้วยลูกปืน. คนทั้งหลายจึงล้อเธอว่า พระคุณเจ้าได้
รบเก่งมาแล้วกระมัง, พระคุณเจ้าได้คะแนนเท่าไร. เธอถูกเขาล้อได้เก้อเขินแล้ว, ชาวบ้านจึง
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้มาถึงสนามรบ เพื่อจะ
ดูเขาเล่า? มิใช่ลาภของพวกเรา, แม้พวกเราที่มาสนามรบ เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่ง
บุตรภรรยา ก็ได้ไม่ดีแล้ว.
                ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...  ต่างก็เพ่ง
โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ไปถึงสนามรบเพื่อจะดูเขาเล่า? แล้วกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอไปถึง
สนามรบเพื่อดูเขา จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมษบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ถึง
สนามรบเพื่อดูเขาเล่า? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-


                                                            หน้าที่ ๕๐๔

                                                                พระบัญญัติ
                ๙๙. ๑๐. ถ้าภิกษุอยู่ในเสนา ๒-๓ คืน ไปสู่สนามรบก็ดี ไปสู่ที่พักพลก็ดี
ไปสู่ที่จัดขบวนทัพก็ดี ไปดูกองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้วก็ดี, เป็นปาจิตตีย์
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๕๗๒] คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ในเสนา ๒-๓ คืน นั้น คือ พักแรมอยู่ ๒-๓ คืน.
                ที่ชื่อว่า สนามรบ ได้แก่ สถานที่มีการรบพุ่ง ซึ่งยังปรากฏอยู่.
                ที่ชื่อว่า ที่พักพล ได้แก่สถานที่พักกองช้างมีประมาณเท่านี้, กองม้ามีประมาณเท่านี้,
กองรถมีประมาณเท่านี้, กองพลเดินเท้ามีประมาณเท่านี้,
                ที่ชื่อว่า ที่จัดขบวนทัพ ได้แก่สถานที่เขาจัดว่า กองช้างจงอยู่ทางนี้, กองม้าจงอยู่ทางนี้,
กองรถจงอยู่ทางนี้, กองพลเดินเท้าจงอยู่ทางนี้,
                ที่ชื่อว่า กองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้ว ได้แก่ กองทัพช้าง ๑ กองทัพม้า ๑ กองทัพรถ ๑
กองพลเดินเท้า ๑.
                กองทัพช้างอย่างต่ำมี ๓ เชือก, กองทัพม้าอย่างต่ำมี ๓ ม้า, กองทัพรถอย่างต่ำมี ๓ คัน,
กองพลเท้าอย่างต่ำมีทหารถือปืน ๔ คน.
                                                                บทภาชนีย์
                [๕๗๓] ภิกษุไปเพื่อจะดู, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุยืนอยู่ในสถานที่เช่นไรมองเห็น, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุละทัศนูปจารแล้ว ยังมองดูอยู่อีก, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุยืนดูอยู่ในที่ใดมองเห็น, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุละทัศนูปจารแล้วยังมองดูอีก, ต้องอาบัติทุกกฏ.


                                                            หน้าที่ ๕๐๕

                                                                อนาปัตติวาร
                [๕๗๔] ภิกษุอยู่ในอารามมองเห็น ๑, การรบพุ่งผ่านมายังสถานที่ภิกษุยืน นั่ง หรือนอน
เธอมองเห็น ๑, ภิกษุเดินสวนทางไปพบเข้า ๑, ภิกษุมีกิจจำเป็นเดินไปพบเข้า ๑, มีอันตราย ๑,
ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
                                                ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕ จบ.
                                                __________________
                                                หัวข้อประจำเรื่อง
                ๑. อเจลกสิกขาบท       ว่าด้วยแจกขนมแก่นักบวช
                ๒. อุยโยชนสิกขาบท      ว่าด้วยบอกให้กลับ
                ๓. สโภชนสิกขาบท       ว่าด้วยนั่งแทรกแซง
                ๔. ปฐมานิยตสิกขาบท     ว่าด้วยนั่งในที่กำบัง
                ๕. ทุติยานิยตสิกขาบท     ว่าด้วยนั่งในที่ลับ
                ๖. จาริตตสิกขาบท       ว่าด้วยรับนิมนต์แล้วไปฉันที่อื่น
                ๗. มหานามสิกขาบท      ว่าด้วยปวารณาด้วยปัจจัย
                ๘. อุยยุตตสิกขาบท       ว่าด้วยไปดูกองทัพ
                ๙. เสนาวาสสิกขาบท     ว่าด้วยอยู่ในกองทัพ
                ๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท     ว่าด้วยไปสู่สนามรบ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘