พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 476-480

                                                            หน้าที่ ๔๗๖

                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกะปาจิตตีย์
                [๕๓๓] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                จักกะทุกกฏ
                ทำเป็นโกรธ ส่งกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ส่งอนุปสัมบันกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ทำเป็นโกรธ ส่งกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๕๓๔] ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่าเรา ๒ รูป รวมกันจักไม่พอฉัน ๑ ภิกษุส่งกลับไป
ด้วยคิดว่า รูปนั้นพบสิ่งของมีราคามากแล้ว จักยังความโลภให้เกิด ๑ ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า
รูปนั้นเห็นมาตุคามแล้วจักยังความกำหนัดให้เกิด ๑ ภิกษุส่งกลับไปด้วยสั่งว่า จงนำข้าวต้ม
หรือข้าวสวย ของเคี้ยวหรือของฉันไปให้แก่ภิกษุผู้อาพาธ แก่ภิกษุผู้ตกค้างอยู่ หรือแก่ภิกษุผู้เฝ้า
วิหาร ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะประพฤติอนาจาร แต่เมื่อมีกิจจำเป็นจึงส่งกลับไป ๑ ภิกษุวิกล-
จริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๔๗๗

                                                ๕. อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๓
                                                เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
                [๕๓๕] โดยสมัยนั้น พระภาคผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไปสู่เรือนของ
สหายแล้ว สำเร็จการนั่งในเรือนนอนกับภรรยาของเขา จึงบุรุษสหายนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตร ครั้นแล้วกราบไหว้ท่านพระอุปนันทศากยบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขานั่ง
เรียบร้อยแล้วบอกภรรยาว่า จงถวายภิกษาแก่พระคุณเจ้า จึงนางได้ถวายภิกษาแก่ท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตร บุรุษนั้นได้เรียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า นิมนต์ท่านกลับเถิด ขอรับ เพราะ
ภิกษาข้าพเจ้าก็ได้ถวายแก่พระคุณเจ้าแล้ว สตรีภรรยานั้นกำหนดรู้ในขณะนั้นว่า บุรุษนี้อันราคะ
รบกวนแล้ว จึงเรียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า นิมนต์ท่านนั่งอยู่ก่อนเถิด เจ้าค่ะ อย่าเพิ่งไป
                แม้ครั้งที่สอง บุรุษนั้น ...
                แม้ครั้งที่สาม บุรุษนั้นก็ได้เรียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า นิมนต์ท่านกลับเถิด
ขอรับ เพราะภิกษาข้าพเจ้าก็ได้ถวายแก่พระคุณเจ้าแล้ว.
                แม้ครั้งที่สาม หญิงนั้นก็ได้เรียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า นิมนต์ท่านนั่งอยู่ก่อนเถิด
เจ้าค่ะ อย่าเพิ่งไป.
                ทันใด บุรุษสามีเดินออกไปกล่าวยกโทษต่อภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้า
อุปนันทะนี้นั่งในห้องนอนกับภรรยาของกระผม  กระผมนิมนต์ให้ท่านกลับไป ก็ไม่ยอมกลับ
กระผมมีกิจมาก มีกรณียะมาก.
                บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านอุปนันท-
ศากยบุตรจึงได้สำเร็จการนั่งแทรกแซง ในตระกูลที่มีคน ๒ คนเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุปนันทะว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่ง
แทรกแซง ในตระกูลที่มีคน ๒ คน จริงหรือ?
                ท่านพระอุปนันทะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


                                                            หน้าที่ ๔๗๘

                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้สำเร็จการนั่งแทรก-
แซงในตระกูลที่มีคน ๒ คนเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๙๒.๓. อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คน เป็น
ปาจิตตีย์.
                                                เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๕๓๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง-
ประสงค์ในอรรถนี้.
                ตระกูลที่ชื่อว่า มีคน ๒ คน คือ มีเฉพาะสตรี ๑ บุรุษ ๑ ทั้ง ๒ คนยังไม่ออกจากกัน
ทั้ง ๒ คนหาใช่ผู้ปราศจากราคะไม่.
                บทว่า แทรกแซง คือ กีดขวาง.
                บทว่า สำเร็จการนั่ง ความว่า ในเรือนใหญ่ ภิกษุนั่งละหัตถบาสแห่งบานประตู
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ในเรือนเล็ก นั่งล้ำท่ามกลางห้องเรือน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกะปาจิตตีย์
                [๕๓๗] ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าห้องนอน สำเร็จการนั่งแทรกแซง ในตระกูลที่มีคน ๒ คน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ห้องนอน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนั่งแทรกแซงในตระกูลที่มีคน ๒ คน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๔๗๙

                ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ห้องนอน สำเร็จการนั่งแทรกแซง ในตระกูลที่มีคน ๒ คน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกะทุกกฏ
                ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าห้องนอน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                ไม่ใช่ห้องนอน ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ห้องนอน ... ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๕๓๘] ภิกษุนั่งในเรือนใหญ่ ไม่ล่วงล้ำหัตถบาสแห่งบานประตู ๑ ภิกษุนั่งในเรือนเล็ก
ไม่เลยท่ามกลางห้อง ๑ ภิกษุมีเพื่อนอยู่ด้วย ๑ คนทั้ง ๒ ออกจากกันแล้ว ทั้ง ๒ ปราศจากราคะ
แล้ว ๑ ภิกษุนั่งในสถานที่อันมิใช่ห้องนอน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง-
อาบัติแล.
                                                อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๔๘๐

                                                ๕. อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๔
                                                เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
                [๕๓๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไปสู่เรือนของสหายแล้ว
สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบังกับภรรยาของเขา จึงบุรุษสหายนั้น เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันทะจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบังกับภรรยา
ของเราเล่า.
                ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร จึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ
ในอาสนะกำบังกับมาตุคามเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุปนันทะว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่ง
ในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบังกับมาตุคาม จริงหรือ?
                ท่านพระอุปนันทะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ
คือในอาสนะกำบังกับมาตุคามเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๙๓.๔. อนึ่ง ภิกษุใด สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง กับ
มาตุคาม เป็นปาจิตตีย์.
                                                เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘