พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 411-415

                                                            หน้าที่ ๔๑๑

                ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.
                บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.
                บทว่า ชักชวนกันแล้ว คือ ชักชวนกันว่า ไปกันเถิดน้องหญิง ไปกันเถิดพระคุณเจ้า
ไปกันเถิดเจ้าค่ะ ไปกันเถิดจ้ะ พวกเราไปกันในวันนี้ ไปกันในวันพรุ่งนี้ หรือไปกันในวัน
มะรืนนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                บทว่า โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง คือ ในหมู่บ้านกำหนดชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าหาบ้านมิได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ กึ่งโยชน์.
                บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกไว้แต่สมัย.
                หนทางที่ชื่อว่า จะต้องไปด้วยพวกเกวียน คือ เว้นพวกเกวียนแล้ว ไม่สามารถจะ
ไปได้.
                ที่ชื่อว่า เป็นที่น่ารังเกียจ คือ ในหนทางนั้นมีสถานที่พวกโจรส้องสุม บริโภค ยืน
นั่ง นอน ปรากฏอยู่.
                ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ ในหนทางนั้นมีมนุษย์ถูกพวกโจรฆ่า ปล้น ทุบตี
ปรากฏอยู่.
                ภิกษุพาไปตลอดทางที่มีภัยเฉพาะหน้า ถึงทางที่ปลอดภัยแล้ว พึงส่งพวกภิกษุณีไปด้วย
คำว่า ไปเถิดน้องหญิงทั้งหลาย.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกปาจิตตีย์
                [๔๕๔] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้วเดินทางไกลด้วยกัน โดยที่สุด
แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสงสัย เดินทางไกลด้วยกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง
เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวนกัน เดินทางไกลด้วยกัน โดยที่สุดแม้สิ้น
ระยะบ้านหนึ่ง เว้นไว้แต่สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ติกทุกกฏ
                ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.


                                                            หน้าที่ ๔๑๒

                ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน ... ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๔๕๕] มีสมัย ๑ ไม่ได้ชักชวนกันไป ๑ ภิกษุณีชักชวน ภิกษุไม่ได้ชักชวน ๑
ไปผิดนัด ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๔๑๓

                                                ๓. โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๔๕๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือ
ลำเดียวกับพวกภิกษุณี ประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พวกเราพร้อมด้วยภรรยาเล่นเรือ
ลำเดียวกันฉันใด พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ชักชวนกันแล้ว เล่นเรือลำเดียวกับ
พวกภิกษุณี ก็ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็น
ผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ชักชวนกันแล้ว โดยสาร
เรือลำเดียวกับพวกภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า
พวกเธอชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณีทั้งหลาย จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ชักชวนกันแล้ว
โดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๗๗.๘ ก. อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณี ขึ้นน้ำ
ไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
                ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการ
ฉะนี้.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.


                                                            หน้าที่ ๔๑๔

                                                เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป
                [๔๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุและภิกษุณีหลายรูปด้วยกันจะเดินทางไกลจากเมืองสาเกต
ไปพระนครสาวัตถี ระหว่างทางมีแม่น้ำที่จะต้องข้าม จึงภิกษุณีพวกนั้นได้กล่าวคำนี้กะภิกษุ
พวกนั้นว่า แม้พวกดิฉันก็จักข้ามไปกับด้วยพระคุณเจ้า.
                ภิกษุพวกนั้นพูดว่า ดูกรน้องหญิง การชักชวนกันแล้วโดยสารเรือลำเดียวกันกับภิกษุณี
ไม่สมควร พวกเธอจักข้ามไปก่อน หรือพวกฉันจักข้ามไป
                ภิกษุณีพวกนั้นตอบว่า พวกพระคุณเจ้าเป็นชายผู้ล้ำเลิศ, พระคุณเจ้านั่นแหละจงข้าม
ไปก่อน.
                เมื่อภิกษุณีพวกนั้นข้ามไปภายหลัง, พวกโจรได้พากันแย่งชิงและประทุษร้าย. ครั้นภิกษุณี
พวกนั้นไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายๆ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่พวก-
ภิกษุๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                ทรงอนุญาตให้โดยสารเรือลำเดียวกันข้ามฟาก
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในการข้ามฟาก เราอนุญาตให้
ชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณีได้.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระอนุบัญญัติ
                ๗๗. ๘. ข. อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณี
ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก เป็นปาจิตตีย์.
                                                เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๕๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง
ประสงค์ในอรรถนี้.
                ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.
                บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.


                                                            หน้าที่ ๔๑๕

                บทว่า ชักชวนกันแล้ว คือ ชักชวนกันว่า ไปโดยสารเรือกันเถิดน้องหญิง, ไปโดย-
สารเรือกันเถิดพระคุณเจ้า ไปโดยสารเรือกันเถิดเจ้าค่ะ ไปโดยสารเรือกันเถิดจ้ะ พวกเราไป
โดยสารเรือกันในวันนี้ ไปโดยสารเรือกันในวันพรุ่งนี้ หรือไปโดยสารเรือกันในวันมะรืนนี้
ดังนี้, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                เมื่อภิกษุณีโดยสารแล้ว ภิกษุจึงโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                เมื่อภิกษุโดยสารแล้ว ภิกษุณีจึงโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                หรือโดยสารทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า ขึ้นน้ำไป คือ แล่นขึ้นทวนน้ำ.
                บทว่า ล่องน้ำไป คือ แล่นลงตามน้ำ.
                บทว่า เว้นไว้แต่ข้ามฟาก คือ ยกเว้นแต่ข้ามฟาก.
                ในหมู่บ้านกำหนดชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าหาบ้าน
มิได้, ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ กึ่งโยชน์.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกปาจิตตีย์
                [๔๕๙] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกัน ขึ้นน้ำ
ไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสงสัย โดยสารเรือลำเดียวกัน ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้น
ไว้แต่ข้ามฟาก, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวนกัน โดยสารเรือลำเดียวกัน ขึ้นน้ำไปก็ดี
ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ติกทุกกฏ
                ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวน ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสงสัย ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘