พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 371-375

                                                            หน้าที่ ๓๗๑

                บทว่า ฉุดคร่า คือ จับในห้องฉุดคร่าออกไปหน้ามุข, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จับที่หน้ามุขฉุดคร่าออกไปข้างนอก, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ให้ก้าวพ้นประตูแม้หลายแห่ง ด้วยประโยคเดียว, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า ให้ฉุดคร่า ความว่า ใช้ผู้อื่น, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ใช้ครั้งเดียวให้ก้าวพ้นประตู แม้หลายแห่ง, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกะปาจิตตีย์
                [๓๙๐] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่า
ก็ดี, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                วิหารของสงฆ์ ภิกษุสงสัย โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี, ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี,
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกกฏ
                ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุนั้น, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ออกไปจากอุปจารวิหารก็ดี จากโรงฉันก็ดี จากปะรำก็ดี
จากใต้ต้นไม้ก็ดี จากที่แจ้งก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งอนุปสัมบัน จากวิหารก็ดี จากอุปจารวิหารก็ดี จาก
โรงฉันก็ดี จากปะรำก็ดี จากใต้ต้นไม้ก็ดี จากที่แจ้งก็ดี, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของอนุปสัมบัน, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
                วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
                วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล ..., ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะเป็นของส่วนตัว
ของผู้อื่น.
                วิหารเป็นส่วนตัวของตน ..., ไม่ต้องอาบัติ.


                                                            หน้าที่ ๓๗๒

                                                                อนาปัตติวาร
                [๓๙๑] ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุอลัชชี ๑ ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี
ซึ่งบริขารของภิกษุอลัชชี ๑ ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุขนก็ดี
ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุวิกลจริตนั้น ๑ ภิกษุฉุดคร่าก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งภิกษุผู้ก่อการ
บาดหมางก็ดี ก่อการทะเลาะก็ดี การก่อการวิวาทก็ดี ก่อความอื้อฉาวก็ดี ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ก็ดี ๑
ภิกษุขนก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของภิกษุผู้ก่อการบาดหมางเป็นต้นนั้น ๑ ภิกษุฉุดคร่าก็ดี
ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งอันเตวาสิก หรือสัทธิวิหารริก ผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย ๑, ภิกษุขนก็ดี
ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกนั้น ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๓๗๓

                                                ๒. ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๘
                                                เรื่องภิกษุ ๒ รูป
                [๓๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุ ๒ รูป อยู่บนร้านในวิหารเป็น
ของสงฆ์ รูปหนึ่งอยู่ชั้นล่าง รูปหนึ่งอยู่ชั้นบน ภิกษุอยู่ชั้นบนนั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียงอันมี
เท้าเสียบ เท้าเตียงตกโดนศีรษะภิกษุผู้อยู่ชั้นล่าง ภิกษุนั้นส่งเสียงร้องลั่น ภิกษุทั้งหลายพากัน
วิ่งเข้าไปถามภิกษุนั้นว่า ท่านส่งเสียงร้องทำไม? จึงภิกษุนั้นได้ชี้แจงเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.
                บรรดาภิกษุที่มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงนั่งทับ
โดยแรง ซึ่งเตียงมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์? แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่า เธอนั่งทับโดยแรง ซึ่งเตียง
มีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์ จริงหรือ?
                ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้นั่งทับโดยแรง ซึ่ง
เตียงมีเท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์เล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๖๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี อันมี
เท้าเสียบ บนร้านในวิหารเป็นของสงฆ์, เป็นปาจิตตีย์.
                                                เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ.


                                                            หน้าที่ ๓๗๔

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๙๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                วิหาร ที่ชื่อว่า เป็นของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่เขาถวายแล้ว สละแล้วแก่สงฆ์.
                [๓๙๔] ที่ชื่อว่า ร้าน ได้แก่ ร้านที่ไม่กระทบศีรษะของมัชฌิมบุรุษ.
                เตียงที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือเขาสอดเท้าเสียบเข้าไว้ในตัวเตียง.
                ตั่ง ที่ชื่อว่า มีเท้าเสียบ คือเขาสอดเท้าเสียบเข้าไว้ในตัวตั่ง.
                บทว่า นั่งทับ คือนั่งทับบนเตียงตั่งนั้น, ต้องอาบัติปาจิตตีย์
                บทว่า นอนทับ คือนอนทับบนเตียงตั่งนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกะปาจิตตีย์
                [๓๙๕] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี
ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้าเสียบ บนร้าน, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                วิหารของสงฆ์ ภิกษุสงสัย นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี อันมีเท้า
เสียบ บนร้าน, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล นั่งทับก็ดี นอนทับก็ดี ซึ่งเตียงก็ดี ซึ่งตั่งก็ดี
อันมีเท้าเสียบ บนร้าน, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ติกะทุกกฏ
                วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของสงฆ์ ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
                วิหารของบุคคล ภิกษุสงสัย ..., ต้องอาบัติทุกกฏ.
                วิหารของบุคคล ภิกษุสำคัญว่าของบุคคล เพราะเป็นส่วนตัวของภิกษุอื่น ... ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.


                                                            หน้าที่ ๓๗๕

                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                วิหารเป็นส่วนตัวของตน ..., ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๓๙๖] ไม่ใช่ร้าน ๑ ร้านสูงพอกระทบศีรษะ ๑ ข้างล่างไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่ ๑ ข้างบน
ปูพื้นไว้ ๑, เท้าเตียงเท้าตั่งได้ตรึงสลักกับตัว ๑ ภิกษุยืนบนเตียงตั่งนั้นหยิบจีวรหรือพาดจีวรได้ ๑
ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
                                                _______________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘