พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 306-310

                                                            หน้าที่ ๓๐๖

ของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูปโน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้
ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้น
เป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖ ดังนี้,
เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราก็จะพึงเป็น
ผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.
                ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า อาวุโสทั้งหลาย การที่พวกเราพากันกล่าวชมอุตตริ-
มนุสสธรรมของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์นี้แหละ ประเสริฐที่สุด แล้วพากันกล่าวชมอุตตริ-
มนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูปโน้นได้ทุติยฌาน
รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี
รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖
ดังนี้.
                                                ประชาชนพากันยินดี
                ครั้นต่อมา ประชาชนเหล่านั้นพากันยินดีว่า เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้ดี
แล้วหนอ ที่มีภิกษุทั้งหลายผู้ทรงคุณพิเศษเห็นปานนี้ อยู่จำพรรษา เพราะก่อนแต่นี้ ภิกษุ
ทั้งหลายที่อยู่จำพรรษาของพวกเรา จะมีคุณสมบัติเหมือนภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ไม่มีเลย,
โภชนะชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่บริโภคด้วยตน ไม่ให้มารดา บิดา
บุตร ภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของเคี้ยว ของลิ้ม น้ำดื่ม
ชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่ดื่มด้วยตน ไม่ให้มารดา บิดา บุตร ภรรยา
คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต. จึงภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีน้ำนวล มีอินทรีย์
ผ่องใส มีสีหน้าสดชื่น มีผิวพรรณผุดผ่อง.
                                                ประเพณีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
                [๓๐๕] ก็การที่ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคนั่นเป็นประเพณี.
ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้ว เก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรหลีกไปโดยมรรคา
อันจะไปสู่พระนครเวสาลี. ถึงพระนครเวสาลี ป่ามหาวัน กูฏคารศาลา โดยลำดับ เข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
                ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลาย เป็นผู้ผอม ซูบซีด มีผิวพรรณ
หมอง เหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น. ส่วนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เป็นผู้มีน้ำนวล
มีอินทรีย์ผ่องใส มีสีหน้าสดชื่น มีผิวพรรณผุดผ่อง.


                                                            หน้าที่ ๓๐๗

                                                ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะ
                อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่น
เป็นพุทธประเพณี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ร่างกายของพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ?
                ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็นไปได้
พระพุทธเจ้าข้า,  อนึ่ง พวกข้าพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษา
เป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                พุทธประเพณี
                พระตถาคตทั้งหลาย ทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี
ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถาม
สิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ พระตถาคตทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถาม
ภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.
                                                                ตรัสถาม
                ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วย
บิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร
                ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบแล้ว.
                ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คุณวิเศษของพวกเธอนั่น มีจริงหรือ?
                ภิ. มีจริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวชม
อุตตริมนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งท้องเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย


                                                            หน้าที่ ๓๐๘

การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๕๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใดบอกอุตตริมนุสสธรรมแก่อนุปสัมบัน เป็นปาจิตตีย์
เพราะมีจริง.
                                เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๐๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน ความว่า ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน.
                                                                บทภาชนีย์
                [๓๐๗] ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
ญาณทัสสนะ การทำมรรคให้เกิด การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ความเปิดจิต ความ
ยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.
                [๓๐๘] ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน.
                ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์.
                ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ.
                ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ.
                ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่วิชชา ๓
                ที่ชื่อว่า การทำมรรคให้เกิด ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.


                                                            หน้าที่ ๓๐๙

                ที่ชื่อว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ... สกทาคามิผล
... อนาคามิผล ... อรหัตผล.
                ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ ... โทสะ ... โมหะ.
                ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิตจากโทสะ ความ
เปิดจิตจากโมหะ.
                ที่ชื่อว่า ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่ ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า
ด้วยปฐมฌาน,  ...  ด้วยทุติยฌาน,  ...  ด้วยตติยฌาน,  ...  ด้วยจตุตถฌาน.
                                                                บอกปฐมฌาน
                [๓๐๙] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว ดังนี้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานอยู่ ดังนี้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าปฐมฌานแล้ว ดังนี้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ดังนี้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในปฐมฌาน ดังนี้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ปฐมฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บอกทุติยฌาน
                [๓๑๐] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานแล้ว ดังนี้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... ข้าพเจ้าเข้าทุติยฌานอยู่ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าทุติยฌานแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ทุติยฌาน ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๓๑๐

                ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในทุติยฌาน ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... ทุติยฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บอกตติยฌาน
                ... เข้าตติยฌานแล้ว ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... เข้าตติยฌานอยู่ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... เป็นผู้เข้าตติยฌานแล้ว ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... เป็นผู้ได้ตติยฌาน ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... เป็นผู้ชำนาญในตติยฌาน ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... ตติยฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บอกจตุตถฌาน
                ... เข้าจตุตถฌานแล้ว ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... เข้าจตุตถฌานอยู่ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... เป็นผู้เข้าจตุตถฌานแล้ว ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... เป็นผู้ได้จตุตถฌาน ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... เป็นผู้ชำนาญในจตุตถฌาน ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... จตุตถฌานข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                บอกสุญญตวิโมกข์
                [๓๑๑] บทว่า บอก คือ ภิกษุบอกแก่อนุปสัมบันว่า ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว
ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... ข้าพเจ้าเข้าสุญญตวิโมกข์อยู่ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... ข้าพเจ้าเป็นผู้เข้าสุญญตวิโมกข์แล้ว ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้สุญญตวิโมกข์ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... ข้าพเจ้าเป็นผู้ชำนาญในสุญญตวิโมกข์ ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ... สุญญตวิโมกข์ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                บอกอนิมิตตวิโมกข์
                ... เข้าอนิมิตตวิโมกข์แล้ว ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘