พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 296-300

                                                            หน้าที่ ๒๙๖

                คำว่า ถามปัญหา คือ ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระสูตรแล้วถามพระวินัย หรือพระ
อภิธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระวินัย แล้วถามพระสูตร หรือพระอภิธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ยังภิกษุให้ทำโอกาสในพระอภิธรรม แล้วถามพระสูตร หรือพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                บทภาชนีย์
                                ติกะปาจิตตีย์
                [๔๗๘] ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้ขอโอกาส ถามปัญหา ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีมีความสงสัย ถามปัญหา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่าขอโอกาสแล้ว ถามปัญหา ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                ทุกะทุกกฏ
                ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                ไม่ต้องอาบัติ
                ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าขอโอกาสแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
                                อนาปัตติวาร
                [๔๗๙] ยังภิกษุให้ทำโอกาสแล้วถาม ๑ ยังภิกษุให้ทำโอกาสไม่เจาะจงแล้วถามปัญหาใน
ปิฎกใดปิฎกหนึ่ง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ จบ.
                                _____________________________


                                                            หน้าที่ ๒๙๗

                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๓
                                เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
                [๔๘๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่มีผ้ารัดถัน เข้าไปเพื่อบิณฑะในหมู่
บ้าน ลมบ้าหมูพัดเวิกผ้าสังฆาฏิขึ้นที่ถนนนั้น. คนทั้งหลายได้ส่งเสียงว่าถันและท้องของแม่เจ้าสวย
ภิกษุณีรูปนั้นถูกคนทั้งหลายเยาะเย้ยได้เป็นผู้เก้อเขิน ครั้นนางไปถึงสำนักแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นให้
ภิกษุณีทั้งหลายฟัง.
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงไม่มี
ผ้ารัดถัน เข้าบ้านเล่า.
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีไม่มีผ้ารัดถัน
เข้าบ้าน จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงไม่มีผ้ารัดถันเข้า
บ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๕๑. ๑๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่มีผ้ารัดถัน เข้าบ้าน เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๘๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                บทว่า ไม่มีผ้ารัดถัน คือ ปราศจากผ้ารัดนม.


                                                            หน้าที่ ๒๙๘

                ที่ชื่อว่า ผ้ารัดถัน ได้แก่ ผ้าที่ใช้ปกปิดอวัยวะเบื้องต่ำตั้งแต่รากขวัญลงมา เบื้องบน
ตั้งแต่นาภีขึ้นไป.
                คำว่า เข้าบ้าน คือ บ้านที่มีเครื่องล้อม เดินเลยเครื่องล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                อนาปัตติวาร
                [๔๘๒] มีจีวรถูกชิงไป ๑ มีจีวรหาย ๑ อาพาธ ๑ หลงลืมไป ๑ ไม่รู้ตัว ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ จบ.
                                ปาจิตติยวรรค ที่ ๙ จบ .
                                บทสรุป
                [๔๘๓] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลาย ในธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบทนั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริ
สุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถาม
แม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาจิตตีย์
ทั้ง ๑๖๖ สิกขาบทเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
                                ปาจิตติยกัณฑ์ จบ.
                                ______________


                                                            หน้าที่ ๒๙๙

                                ปาฏิเทสนียกัณฑ์
                แม่เจ้าทั้งหลาย อนึ่ง ธรรม คือปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทเหล่านี้แลมาสู่อุเทศ.
                                ปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑
                                เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
                [๔๘๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขอเนยใสเขามาฉัน. คนทั้งหลาย
พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอเนยใสเขามาฉันเล่า อาหารที่
พร้อมมูล ใครจะไม่พอใจ อาหารที่อร่อย ใครจะไม่ชอบ.
                ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ขอเนยใสเขามาฉันเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ขอเนยใสเขามาฉัน จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้
ขอเนยใสเขามาฉันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๒๒๒. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอเนยใสมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า แม่เจ้า
ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรจะแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
                ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
                                เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.


                                                            หน้าที่ ๓๐๐

                                เรื่องภิกษุณีอาพาธ
                [๔๘๕] ต่อจากสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายอาพาธ. พวกภิกษุณีผู้พยาบาลไข้ได้ถามภิกษุณี
ผู้อาพาธทั้งหลายว่า แม่เจ้ายังพอทนอยู่หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ?
                ภิกษุณีอาพาธทั้งหลายตอบว่า แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันขอเนยใสเขามาฉันได้ ด้วยเหตุ
ที่ฉันเนยใสนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ พวกดิฉันรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคทรง
ห้ามเสียแล้ว จึงไม่กล้าขอ เพราะเหตุที่ไม่ได้ฉันเนยใสนั้น ความผาสุกจึงไม่มีแก่พวกดิฉัน.
                ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...
                                ทรงอนุญาตเนยใส
                พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธขอเนยใส
เขามาฉันได้.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระอนุบัญญัติ
                ๒๒๒. ๑. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่เป็นไข้ ขอเนยใสมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดง
คืนว่า แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นสัปปายะ ควรแสดงคืน ดิฉันแสดงคืนธรรมนั้น.
                                เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๘๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า ไม่เป็นไข้ คือเว้นเนยใสก็มีความผาสุก.
                ที่ชื่อว่า เป็นไข้ คือ เว้นเนยใสแล้วไม่มีความผาสุก.
                ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่เกิดจากโคก็ดี ที่เกิดจากแพะก็ดี ที่เกิดจากกระบือก็ดี
หรือเนยใสแห่งสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ.
                ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอมาเพื่อประโยชน์ตน เป็นทุกกฏในประโยค ได้มารับประเคนไว้
ด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะทุกๆ คำกลืน.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘