พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หน้า 291-295

                                                            หน้าที่ ๒๙๑

                                                                ฝนกำลังตั้งเค้า
                ก็โดยสมัยนั้นแล  ในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ถึงวันปวารณาภิกษุสงฆ์มาประชุม
กันมาก.  สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนกำลังตั้งเค้ามาใหญ่  จึงภิกษุเหล่านั้นได้
ปรึกษากันว่า  ภิกษุสงฆ์นี้มาประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็กำลัง
ตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ฝนนี้ก็จักตกเสียก่อน
พวกเราจะพึงปฏิบัติสถานไรหนอ  แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาค รับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้มา
ประชุมกันมาก.  สถานที่ประชุมคับแคบคุ้มฝนไม่ได้  และฝนก็กำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายในอาวาสนั้นมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบ
คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็กำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน  สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณา
ทั่วกัน  ฝนนี้ก็จักตกหนักเสียก่อน.  ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
กรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านเจ้าข้า  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า  ภิกษุสงฆ์นี้ประชุมกันมาก สถานที่ประชุม
คับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็กำลังตั้งเค้ามาใหญ่  ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จัก
ไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ฝนนี้ก็จักตกเสียก่อน. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง
ปวารณา ๒ หน .... หนเดียว .... มีพรรษาเท่ากัน.
                                                                อันตราย ๑๐ ประการ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่งในตำบลนี้ ถึงวันปวารณา มีอันตราย
เกิดขึ้น คือ
                ๑. พระราชาเสด็จมา ....
                ๒. โจรปล้น ....
                ๓. ไฟไหม้ ....
                ๔. น้ำหลากมา ....
                ๕. คนมามาก ....
                ๖. ผีเข้าสิงภิกษุ ....
                ๗. สัตว์ร้ายเข้ามา ....


                                                            หน้าที่ ๒๙๒

                ๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา ....
                ๙. ภิกษุจะถึงเสียชีวิต ....
                ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์เกิดขึ้น.
                ในข้อนั้น หากภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้นมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า  เหตุฉุกเฉินนี้แหละ
คือ  อันตรายแก่พรหมจรรย์  ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน  สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วถึงกัน
อันตรายแก่พรหมจรรย์นี้ก็จักเกิดเสียก่อน.  ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เหตุฉุกเฉินนี้คืออันตรายแก่พรหมจรรย์ ถ้าสงฆ์
จักปวารณา ๓ หน  สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วถึงกัน  อันตรายแก่พรหมจรรย์นี้ก็จักเกิด
เสียก่อน. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน .... หนเดียว .... มีพรรษา
เท่ากัน.
                                                                ภิกษุมีอาบัติห้ามปวารณา
                [๒๔๕]  ก็โดยสมัยนั้นแล  พระฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวได้ปวารณา.  ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย  ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวปวารณา รูปนั้นทำโอกาส โจทด้วยอาบัติ.
                สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อันสงฆ์ให้ทำโอกาส ก็ไม่ปรารถนาจะทำโอกาส.  ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปวารณาของภิกษุผู้ไม่ยอมทำโอกาส.
                                                                วิธีงดปวารณา
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็แล  สงฆ์พึงงดปวารณาอย่างนี้:-
                เมื่อถึงวันปวารณา ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ  เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ภิกษุผู้ฉลาด
ผู้สามารถ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ว่าดังนี้:-
                ท่านเจ้าข้า  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีอาบัติติดตัวปวารณา ข้าพเจ้า
ของดปวารณาของเธอเสีย เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์ไม่พึงปวารณา.
                เท่านี้ เป็นอันงดปวารณาแล้ว.


                                                            หน้าที่ ๒๙๓

                สมัยต่อมา  พระฉัพพัคคีย์หารือกันว่า  ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก งดปวารณาของ
พวกเราก่อน  ดังนี้  จึงรีบงดปวารณาของภิกษุที่บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติเสียก่อน  เพราะเรื่องอันไม่
สมควร  เพราะเหตุอันไม่สมควร แม้ปวารณาของภิกษุที่ปวารณาแล้วก็งดด้วย.  ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงงดปวารณา ของภิกษุผู้บริสุทธิ์  ไม่มีอาบัติ  เพราะเรื่องอันไม่สมควร เพราะเหตุ
อันไม่สมควร  รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ.  ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม้ปวารณาของภิกษุ
ที่ปวารณาแล้ว ก็ไม่พึงงด รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ลักษณะปวารณาที่ไม่เป็นอันงด
                [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล ปวารณาเป็นอันงด อย่างนี้ไม่เป็นอันงด.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ปวารณาไม่เป็นอันงดอย่างไรเล่า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ถ้าเมื่อปวารณา ๓ หน
อันภิกษุกล่าวว่าจบแล้ว จึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณา ๒ หน ....
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณาหนเดียว ....
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณามีพรรษาเท่ากัน อันภิกษุกล่าวว่าจบแล้ว จึงงดปวารณา
ปวารณาไม่เป็นอันงด.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  ปวารณาไม่เป็นอันงด.
                                                                ลักษณะปวารณาเป็นอันงด
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างไรเล่า?
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณา ๓ หน  อันภิกษุกล่าวว่ายังไม่ทันจบ  จึงงดปวารณา
ปวารณาเป็นอันงด.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณา ๒ หน ....
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณาหนเดียว ....
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณามีพรรษาเท่ากันอันภิกษุกล่าวว่ายังไม่ทันจบ จึงงด
ปวารณา  ปวารณาเป็นอันงด.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  ปวารณาเป็นอันงด.


                                                            หน้าที่ ๒๙๔

                                                                ภิกษุผู้งดปวารณา
                [๒๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้ งดปวารณาของภิกษุ
เสีย.  ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า  ท่านองค์นี้แล  มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์  มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์  เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม
ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซักถาม. สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะ
กัน อย่าแก่งแย่งกัน  อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งดปวารณาของภิกษุเสีย.
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า  ท่านองค์นี้แล  มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์  แต่มีความ
ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์  มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์  เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม
ก็ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซักถาม. สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะ
กัน อย่าแก่งแย่งกัน  อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งดปวารณาของภิกษุเสีย.
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า  ท่านองค์นี้แล  มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์  มีความประพฤติ
ทางวาจาบริสุทธิ์  แต่มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์  เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม ก็ไม่อาจให้
คำตอบข้อที่ซักถาม. สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน
อย่าแก่งแย่งกัน  อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งดปวารณาของภิกษุเสีย.
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า  ท่านองค์นี้แล  มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์  มีความประพฤติ
ทางวาจาบริสุทธิ์  มีอาชีวะบริสุทธิ์  แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม ก็ไม่อาจให้คำตอบ
ข้อที่ซักถาม. สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน  อย่า
แก่งแย่งกัน  อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้ งดปวารณาของภิกษุ
เสีย. ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แล มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความ
ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์  มีอาชีวะบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เมื่อถูกซักถาม
สามารถให้คำตอบข้อที่ซักถามได้.  ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงว่ากล่าว  อย่างนี้ว่า  อาวุโส  คุณงด
ปวารณาของภิกษุรูปนี้เพราะอะไร? งดเพราะศีลวิบัติหรือ?  งดเพราะอาจารวิบัติหรือ?
งดเพราะทิฏฐิวิบัติหรือ?  หากเธอจะพึงตอบ อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดเพราะศีลวิบัติ ข้าพเจ้า


                                                            หน้าที่ ๒๙๕

งดเพราะอาจารวิบัติ  ข้าพเจ้างดเพราะทิฏฐิวิบัติ.  เธออันสงฆ์พึงถาม  อย่างนี้ว่า  คุณรู้จัก
ศีลวิบัติ รู้จักอาจารวิบัติ รู้จักทิฏฐิวิบัติหรือ?  หากเธอจะพึงตอบ อย่างนี้ว่า  อาวุโสทั้งหลาย
ข้าพเจ้ารู้จักศีลวิบัติ  รู้จักอาจารวิบัติ รู้จักทิฏฐิวิบัติ.  เธออันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโส
ก็ศีลวิบัติเป็นอย่างไร? อาจารวิบัติเป็นอย่างไร?  ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร?  หากเธอ
จะพึงตอบ  อย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔  สังฆาทิเสส ๑๓ นี้ชื่อว่าศีลวิบัติ  ถุลลัจจัย  ปาจิตติยะ
ปาฏิเทสนียะ  ทุกกฏ ทุพภาสิต  นี้ชื่อว่าอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ  อันตคาหิกทิฏฐิ  นี้ชื่อว่า
ทิฏฐิวิบัติ.  เธออันสงฆ์พึงถาม อย่างนี้ว่า  อาวุโส  คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยเหตุอะไร?
งดด้วยได้เห็นหรือ?  งดด้วยได้ฟังหรือ?  งดด้วยสงสัยหรือ?.  หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้างดด้วยได้เห็นก็ดี  ข้าพเจ้างดด้วยได้ฟังก็ดี ข้าพเจ้างดด้วยสงสัยก็ดี.  เธออันสงฆ์พึงถาม
อย่างนี้ว่า  อาวุโส  คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้เห็นอย่างไร?  คุณเห็นอะไร?  คุณเห็นว่า
อย่างไร?  คุณเห็นเมื่อไร?  คุณเห็นที่ไหน?  ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิก  คุณเห็นหรือ?  ภิกษุนี้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คุณเห็นหรือ?  ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย .... อาบัติปาจิตติยะ .... อาบัติ
ปาฏิเทสนียะ .... อาบัติทุกกฏ .... อาบัติทุพภาสิต  คุณเห็นหรือ?  คุณอยู่ที่ไหน?  และภิกษุนี้
อยู่ที่ไหน?  คุณทำอะไรบ้าง?  ภิกษุนี้ทำอะไรบ้าง?. หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้เห็น  แต่งดปวารณาด้วยได้ฟังต่างหาก. เธออันสงฆ์พึง
ถามอย่างนี้ว่า อาวุโส  คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้ฟังมาอย่างไร?  คุณได้ฟังเรื่องอะไร?
คุณได้ฟังมาว่าอย่างไร?  คุณได้ฟังมาเมื่อไร?  คุณได้ฟังที่ไหน?  คุณได้ฟังว่า  ภิกษุนี้ต้องอาบัติ-
ปาราชิกหรือ?  ได้ฟังว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ?  ได้ฟังว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
.... อาบัติปาจิตติยะ .... อาบัติปาฏิเทสนียะ .... อาบัติทุกกฏ .... อาบัติทุพภาสิตหรือ? ได้ฟังมาจากภิกษุ
หรือ?  ได้ฟังมาจากภิกษุณีหรือ?  ได้ฟังมาจากสิกขมานาหรือ?  ได้ฟังมาจากสามเณรหรือ?
ได้ฟังมาจากสามเณรีหรือ?  ได้ฟังมาจากอุบาสกหรือ?  ได้ฟังมาจากอุบาสิกาหรือ? ได้ฟังมาจาก
พระราชาหรือ?  ได้ฟังมาจากราชมหาอำมาตย์หรือ? ได้ฟังมาจากพวกเดียรถีย์หรือ?  ได้ฟังมาจาก
พวกสาวกเดียรถีย์หรือ?. หากเธอจะพึงตอบ อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณา
ของภิกษุนี้ด้วยได้ฟัง  แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยสงสัยต่างหาก.  เธออันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า
อาวุโส คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยสงสัยอย่างไร?  คุณสงสัยอะไร?  สงสัยว่าอย่างไร?
สงสัยเมื่อไร? สงสัยที่ไหน?  คุณสงสัยว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ?  สงสัยว่าภิกษุนี้ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหรือ?  สงสัยว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจ .... อาบัติปาจิตติยะ .... อาบัติปาฏิเทสนียะ ....

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘