พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 291-295

                                                            หน้าที่ ๒๙๑

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๒๘๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ, ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง
ประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน.
                [๒๘๖] ที่ชื่อว่า โดยบท ได้แก่ บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ.
                ที่ชื่อว่า บท คือ ขึ้นต้นพร้อมกัน ให้จบลงพร้อมกัน.
                ที่ชื่อว่า อนุบท คือ ขึ้นต้นต่างกัน ให้จบลงพร้อมกัน.
                ที่ชื่อว่า อนุอักขระ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ อนุปสัมบันกล่าวพร้อมกันว่า รู
ดังนี้ แล้วหยุด.
                ที่ชื่อว่า อนุพยัญชนะ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ อนุปสัมบันเปล่งเสียงรับว่า
เวทนา อนิจฺจา.
                บท ก็ดี อนุบท ก็ดี อนุอักขระ ก็ดี อนุพยัญชนะ ก็ดี ทั้งหมดนั้น ชื่อว่าธรรม
โดยบท.
                ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่บาลีที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิภาษิต เทวตาภาษิต ซึ่ง
ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม.
                บทว่า ให้กล่าว คือ ให้กล่าวโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท ให้กล่าวโดย
อักขระ, ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ อักขระ.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกปาจิตตีย์
                [๒๘๗] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกกฏ
                อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ให้กล่าวธรรมโดยบท ต้องอาบัติทุกกฏ.


                                                            หน้าที่ ๒๙๒

                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้กล่าวธรรมโดยบท ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๒๘๘] ภิกษุให้สวดพร้อมกัน ๑ ท่องพร้อมกัน ๑ อนุปสัมบันผู้กล่าวอยู่ สวดอยู่
ซึ่งคัมภีร์ที่คล่องแคล่วโดยมาก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๒๙๓

                                                ๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕
                                                เรื่องพระนวกะ
                [๒๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี
ครั้งนั้น พวกอุบาสกพากันมาสู่อารามเพื่อฟังธรรม เมื่อพระธรรมกถึกแสดงธรรมจบแล้ว ภิกษุ
ชั้นเถระกลับไปยังที่อยู่ ภิกษุชั้นนวกะสำเร็จการนอนร่วมกับพวกอุบาสกอยู่ในศาลาที่ฟังธรรม
นั้นเอง เผลอสติ ไม่รู้สึกตัว เป็นผู้เปลือยกายละเมอ กรนอยู่.
                พวกอุบาสกต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงได้สำเร็จการ-
นอนเผลอสติ ไม่รู้สึกตัว เป็นผู้เปลือยกายละเมอ กรนอยู่เล่า
                ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระภิกษุทั้งหลาย จึงได้สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่-
พระผู้มีพระภาค
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายสำเร็จการนอนร่วมกับ
อนุปสัมบัน จริงหรือ
                ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้
สำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบันเล่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๕๔. ๕. ก. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน  เป็นปาจิตตีย์.
                ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ฉะนี้.
                                                เรื่องพระนวกะ จบ.


                                                            หน้าที่ ๒๙๔

                                                เรื่องสามเณรราหุล
                [๒๙๐] กาลต่อมา พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เมืองอาฬวี ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว
เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครโกสัมพี เสด็จจาริกโดยลำดับ, ถึงพระนครโกสัมพีแล้ว
ข่าวว่า พระองค์ประทับอยู่พทริการาม เขตพระนครโกสัมพีนั้น.
                ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวคำนี้กะท่านสามเณรราหุลว่า อาวุโสราหุล พระผู้มีพระภาคทรง-
บัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน อาวุโสราหุล ท่านจงรู้
สถานที่ควรนอน.
                วันนั้น ท่านสามเณรราหุลหาที่นอนไม่ได้ จึงสำเร็จการนอนในวัจจกุฎี.
                ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมแล้ว ได้เสด็จไปวัจจกุฎี, ครั้นถึง
จึงทรงพระกาสะ แม้ท่านราหุลก็กระแอมรับ.
                พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ใครอยู่ในวัจจกุฎีนี้
                ท่านสามเณรราหุลทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าราหุล พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เหตุไรเธอจึงนอน ณ ที่นี้
                จึงท่านสามเณรราหุล กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สำเร็จการนอน
ร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๒-๓ คืน ...  ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระอนุบัญญัติ
                ๕๔. ๕. ข. อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน,
เป็นปาจิตตีย์.
                                                เรื่องสามเณรราหุล จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๒๙๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง
ประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน.
                บทว่า ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน คือเกินกว่า ๒-๓ คืน.
                บทว่า ร่วม คือด้วยกัน.


                                                            หน้าที่ ๒๙๕

                ที่ชื่อว่า การนอน ได้แก่ภูมิสถานเป็นที่นอนอันเขามุงทั้งหมด บังทั้งหมด มุงโดยมาก
บังโดยมาก.
                คำว่า สำเร็จการนอน ความว่า ในวันที่ ๔ เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว อนุปสัมบัน
นอนแล้ว ภิกษุนอน, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุนอนแล้ว อนุปสัมบันนอน, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                หรือนอนทั้งสอง, ต้องอาบัติปาจิตตีย์
                ลุกขึ้นแล้ว กลับนอนอีก, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                บทภาชนีย์
                                                                ติกปาจิตตีย์
                [๒๙๒] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน, ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ติกทุกกฏ
                ในสถานที่มุงกึ่ง บังกึ่ง ภิกษุสำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
                อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน สำเร็จการนอนร่วม ยิ่งกว่า ๒-๓ คืน ไม่ต้อง
อาบัติ
                                                                อนาปัตติวาร
                [๒๙๓] ภิกษุอยู่ ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่ไม่ถึง ๒-๓ คืน ๑ ภิกษุอยู่ ๒ คืนแล้ว คืนที่
๓ ออกไปก่อนอรุณ แล้วอยู่ใหม่ ๑ อยู่ในสถานที่มุงทั้งหมด ไม่บังทั้งหมด ๑ อยู่ในสถานที่
บังทั้งหมด ไม่มุงทั้งหมด ๑ อยู่ในสถานที่ไม่มุงโดยมาก ไม่บังโดยมาก ๑ อนุปสัมบันนอน
ภิกษุนั่ง ๑ ภิกษุนอน อนุปสัมบันนั่ง ๑ หรือนั่งทั้งสอง ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-
กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
                                                                ___________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘