พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 281-285

                                                            หน้าที่ ๒๘๑

                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๕
                                เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
                [๔๖๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์สนานกายด้วยน้ำเครื่องประทิ่น
มีกลิ่นหอม. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้สนาน
กายด้วยน้ำเครื่องประทิ่นมีกลิ่นหอม เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
                ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้สนานกายด้วยน้ำเครื่องประ
ทิ่นที่มีกลิ่นหอมเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
อาบน้ำด้วยเครื่องประทิ่นมีกลิ่นหอม จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้
อาบน้ำด้วยเครื่องประทิ่นมีกลิ่นหอมเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๔๓. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด อาบน้ำด้วยเครื่องประทิ่นมีกลิ่นหอม เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๖๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรง
ประสงค์ในอรรถนี้.


                                                            หน้าที่ ๒๘๒

                ที่ชื่อว่า มีกลิ่นหอม ได้แก่ กลิ่นหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง.
                ที่ชื่อว่า เครื่องประทิ่น ได้แก่ เครื่องหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง.
                บทว่า อาบน้ำ คือ ทำให้สะอาด เป็นทุกกฏในประโยค อาบเสร็จต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                อนาปัตติวาร
                [๔๖๒] เหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
                                ____________________________


                                                            หน้าที่ ๒๘๓

                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๖
                                เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
                [๔๖๓]  โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์สนานกายด้วยน้ำกำยานที่อบ
คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้อาบน้ำกำยานที่อบ
เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
                ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้อาบน้ำกำยานที่อบเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
อาบน้ำกำยานที่อบ จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้
อาบน้ำกำยานที่อบเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๔๔. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด อาบน้ำด้วยกำยานที่อบ เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๖๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า อบ ได้แก่ วัตถุที่อบด้วยของหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง.


                                                            หน้าที่ ๒๘๔

                ที่ชื่อว่า กำยาน ได้แก่ วัตถุที่เรียกว่า แป้งงา.
                บทว่า อาบน้ำ คือ ทำให้สะอาด เป็นทุกกฏในประโยค อาบเสร็จต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                อนาปัตติวาร
                [๔๖๕] เหตุอาพาธ ๑ อาบน้ำกำยานธรรมดา ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
                                ____________________________


                                                            หน้าที่ ๒๘๕

                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๗
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป
                [๔๖๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง.
คนทั้งหลายเที่ยวไปในวิหารพบเห็นแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลายจึงได้ใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
                ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีใช้
ภิกษุณีให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้าง จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้ใช้ภิกษุณี
ให้นวดบ้าง ให้ฟั้นบ้างเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๔๕. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังภิกษุณีให้นวดก็ดี ให้ฟั้นก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๖๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...  นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘