พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 276-280

                                                            หน้าที่ ๒๗๖

                                ทรงอนุญาตยาน
                พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานแก่ภิกษุณีผู้อาพาธ.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระอนุบัญญัติ
                ๑๔๐. ๒. ก. อนึ่ง ภิกษุณีใด มิใช่ผู้อาพาธ ไปโดยยาน เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีอาพาธ จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๕๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...  นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ ผู้สามารถเดินไปได้ด้วยเท้า.
                ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ผู้ไม่สามารถเดินไปได้ด้วยเท้า.
                ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ วอ รถ เกวียน คานหาม แคร่ เก้าอี้.
                บทว่า ไป คือ ไปแม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                บทภาชนีย์
                                ติกะปาจิตตีย์
                [๔๕๒] ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ สำคัญว่ามิได้อาพาธ ไปโดยยาน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ มีความสงสัย ไปโดยยาน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุณีมิใช่ผู้อาพาธ สำคัญว่าอาพาธ ไปโดยยาน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                ทุกะทุกกฏ
                ภิกษุณีผู้อาพาธ สำคัญว่ามิได้อาพาธ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุณีผู้อาพาธ มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                ไม่ต้องอาบัติ
                ภิกษุณีผู้อาพาธ สำคัญว่าอาพาธ ไม่ต้องอาบัติ.
                                อนาปัตติวาร
                [๔๕๓] อาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.


                                                            หน้าที่ ๒๗๗

                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๓
                                เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
                [๔๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง เป็นกุลุปิกาของสตรีคนหนึ่ง ซึ่งสตรี
นั้นได้กล่าวขอร้องภิกษุณีรูปนั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านได้โปรดนำเครื่องประดับเอวนี้ไปให้แก่
หญิงชื่อโน้น จึงภิกษุณีนั้นคิดเห็นว่า ถ้าเราจะนำไปด้วยบาตร เสียงดังจักมีแก่เรา แล้วได้สวมไป
เมื่อด้ายขาด เครื่องประดับเอวตกเรี่ยรายลงบนถนน. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ  ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้เครื่องประดับเอวเหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
                ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ใช้เครื่องประดับเอวเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีใช้เครื่อง
ประดับเอว จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงได้ใช้เครื่องประ
ดับเอวเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๔๑. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้เครื่องประดับเอว เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๕๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...  นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.


                                                            หน้าที่ ๒๗๘

                ที่ชื่อว่า เครื่องประดับเอว ได้แก่ เครื่องประดับเอวชนิดใดชนิดหนึ่ง
                บทว่า ใช้ คือ ใช้แม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                อนาปัตติวาร
                [๔๕๖] ใช้ด้ายรัดเอวเพราะเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
                                ____________________________


                                                            หน้าที่ ๒๗๙

                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๔
                                เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
                [๔๕๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี.
คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ใช้เครื่องประดับสำหรับ
สตรี เหมือนพวกสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
                ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีเหล่าฉัพพัคคีย์จึงได้ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี
เล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี จริงหรือ?
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จึง
ได้ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๔๒. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ใช้เครื่องประดับสำหรับสตรี เป็นปาจิตตีย์
                                เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๕๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...  นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.


                                                            หน้าที่ ๒๘๐

                ที่ชื่อว่า เครื่องประดับสำหรับสตรี ได้แก่ เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับศอ เครื่อง
ประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว.
                บทว่า ใช้ คือ ใช้แม้ครั้งเดียว ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                อนาปัตติวาร
                [๔๕๙] เหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
                                ____________________________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘