พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 276-280

                                                            หน้าที่ ๒๗๖

ฝ่ายนี้ แล้วบอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้, ฟังคำของฝ่ายโน้น แล้วบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลาย
ฝ่ายโน้น เพราะเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น
การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๕๒. ๓. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะส่อเสียดภิกษุ.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๒๕๖] ที่ชื่อว่า ส่อเสียด ขยายความว่า วัตถุสำหรับเก็บมาส่อเสียด มีได้ด้วยอาการ
๒ อย่าง คือ ของคนผู้ต้องการจะให้เขาชอบ ๑ ของคนผู้ประสงค์จะให้เขาแตกกัน ๑.
                ภิกษุเก็บเอาวัตถุสำหรับส่อเสียดมากล่าวโดยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ชาติ ๑ ชื่อ ๑
โคตร ๑ การงาน ๑ ศิลปะ ๑ โรค ๑ รูปพรรณ ๑ กิเลส ๑ อาบัติ ๑ คำด่า ๑.
                                                                บทภาชนีย์
                ที่ชื่อว่า ชาติ ได้แก่กำเนิด มี ๒ คือ กำเนิดทราม ๑ กำเนิดอุกฤษฏ์ ๑.
                ที่ชื่อว่า กำเนิดทราม ได้แก่กำเนิดคนจัณฑาล กำเนิดคนจักสาน กำเนิดพราน
กำเนิดคนช่างหนัง กำเนิดคนเทดอกไม้ นี่ชื่อว่ากำเนิดทราม.
                ที่ชื่อว่า กำเนิดอุกฤษฏ์ ได้แก่กำเนิดกษัตริย์ กำเนิดพราหมณ์ นี่ชื่อว่า กำเนิด
อุกฤษฏ์ ฯลฯ ๑-
                ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่คำด่ามี ๒ คำ คำด่าทราม ๑ คำด่าอุกฤษฏ์ ๑.
                ที่ชื่อว่า คำด่าทราม ได้แก่คำด่าว่า เป็นอูฐ เป็นแพะ เป็นโค เป็นลา เป็นสัตว์-
ดิรัจฉาน เป็นสัตว์นรก, สุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ, คำด่าที่เกี่ยวด้วยยะอักษร
ภะอักษร, หรือนิมิตของชายและนิมิตของหญิง นี่ชื่อว่า คำด่าทราม.
#๑. ที่ ฯลฯ ไว้นี้ หมายถึงนาม โคตรเป็นต้น พึงดูในสิกขาบทที่ ๒ ข้อ ๑๘๘ ถึง ๑๙๕
#หน้า ๒๕-๒๗


                                                            หน้าที่ ๒๗๗

                ที่ชื่อว่า คำด่าอุกฤษฏ์ ได้แก่คำด่าว่า เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์
เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก, ทุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ, นี่ชื่อว่า คำด่าอุกฤษฏ์.
                                                อุปสัมบันส่อเสียดอุปสัมบัน
                                                พูดเหน็บแนมกระทบชาติทราม
                [๒๕๗] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อุป-
สัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นชาติคนจัณฑาล, ... ชาติคนจักสาน, ... ชาติพราน,
... ชาติคนช่างหนัง, ... ชาติคนเทดอกไม้. ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบชาติอุกฤษฏ์
                [๒๕๘] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อุป-
สัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นชาติกษัตริย์, ... เป็นชาติพราหมณ์, ดังนี้เป็นต้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบชื่อทราม
                [๒๕๙] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด ไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า ชื่อว่าอวกัณณกะ, ... ชื่อชวกัณณกะ, ... ชื่อธนิฏฐกะ,
... ชื่อสวิฏฐกะ, ... ชื่อกุลวัฑฒกะ, ... ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบชื่ออุกฤษฏ์
                [๒๖๐] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียด ไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า ชื่อพุทธรักขิต, ... ชื่อธัมมรักขิต, ... ชื่อสังฆรักขิต,
ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบโคตรทราม
                [๒๖๑] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อุป-
สัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นโกสิยโคตร ภารทวาชโคตร ดังนี้เป็นต้น, ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบโคตรอุกฤษฏ์
                [๒๖๒] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อุป
สัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นโคตมโคตร, ... โมคคัลลานโคตร, ... กัจจายนโคตร,
... วาเสฏฐโคตร, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.


                                                            หน้าที่ ๒๗๘

                                                พูดเหน็บแนมกระทบการงานทราม
                [๒๖๓] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นคนทำงานช่างไม้, ... เป็นคนทำงานเทดอกไม้,
ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                พูดเหน็บแนมกระทบการงานอุกฤษฏ์
                [๒๖๔] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อุป-
สัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นคนทำงานไถนา, ... ทำงานค้าขาย, ... ทำงานเลี้ยงโค,
ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบศิลปะทราม
                [๒๖๕] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า มีวิชาการช่างจักสาน, ... มีวิชาการช่างหม้อ, ... มีวิชา
การช่างหูก, ... มีวิชาการช่างหนัง, ... มีวิชาการช่างกัลบก, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบศิลปะอุกฤษฏ์
                [๒๖๖] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อุป-
สัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า มีวิชาการช่างนับ, ... มีวิชาการช่างคำนวณ, ... มีวิชา
การช่างเขียน, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบโรคทราม
                [๒๖๗] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นโรคเรื้อน, ... โรคฝี, ... โรคกลาก, ... โรคมองคร่อ,
... โรคลมบ้าหมู, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบโรคอุกฤษฏ์
                [๒๖๘] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นโรคเบาหวาน, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด.


                                                            หน้าที่ ๒๗๙

                                                พูดเหน็บแนมกระทบรูปพรรณทราม
                [๒๖๙] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นคนสูงเกินไป, ... ต่ำเกินไป, ... ดำเกินไป,
... ขาวเกินไป, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                พูดเหน็บแนมกระทบรูปพรรณอุกฤษฏ์
                [๒๗๐] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นคนไม่สูงนัก, ... ไม่ต่ำนัก, ... ไม่ดำนัก,
... ไม่ขาวนัก, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบกิเลสทราม
                [๒๗๑] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม, ... ถูกโทสะย่ำยี, ... ถูกโมหะ
ครอบงำ, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบกิเลสอุกฤษฏ์
                [๒๗๒] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า  เป็นผู้ปราศจากราคะ, ... ปราศจากโทสะ, ... ปราศจาก
โมหะ, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบอาบัติทราม
                [๒๗๓] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก, ... อาบัติสังฆาทิเสส,
... อาบัติถุลลัจจัย, ... อาบัติปาจิตตีย์, ... อาบัติปาฏิเทสนียะ, ... อาบัติทุกกฏ, ... อาบัติทุพภาสิต,
ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเหน็บแนมกระทบอาบัติอุกฤษฏ์
                [๒๗๔] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นโสดาบัน ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกๆ คำพูด.
                                พูดเหน็บแนมกระทบคำสบประมาททราม
                [๒๗๕] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นอูฐ, ... เป็นแพะ, ... เป็นโค, ... เป็นลา,


                                                            หน้าที่ ๒๘๐

... เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ... เป็นสัตว์นรก, สุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ, ดังนี้เป็นต้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                พูดเหน็บแนมกระทบคำสบประมาทอุกฤษฏ์
                [๒๗๖] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเหน็บแนมท่านว่า เป็นบัณฑิต, ... เป็นคนฉลาด, ... เป็นคนมีปัญญา,
... เป็นพหูสูต, ... เป็นธรรมกถึก, ทุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ, ดังนี้เป็นต้น
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                พูดเปรยเหน็บแนมกระทบชาติทราม
                [๒๗๗] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นชาติคน
จัณฑาล, ... เป็นชาติคนจักสาน, ... เป็นชาติพราน, ... เป็นชาติคนช่างหนัง, ... เป็นชาติคนเทดอกไม้,
ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้, ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำพูด.
                                พูดเปรยเหน็บแนมกระทบชาติอุกฤษฏ์
                [๒๗๘] อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่
อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นชาติกษัตริย์,
... ชาติพราหมณ์, ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น, ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเปรยเหน็บแนมกระทบชื่อทราม
                อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อุปสัมบันว่า
ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกชื่ออวกัณณกะ, ... ชื่อ
ชวกัณณกะ, ... ชื่อธนิฏฐกะ, ... ชื่อสวิฏฐกะ, ... ชื่อกุลวัฑฒกะ, ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น
ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้, ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเปรยเหน็บแนมกระทบชื่ออุกฤษฏ์
                อุปสัมบันได้ยินถ้อยคำของอุปสัมบันแล้ว เก็บเอาคำส่อเสียดไปบอกแก่อุปสัมบันว่า
ภิกษุชื่อนี้ พูดเปรยเหน็บแนมว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกชื่อพุทธรักขิต, ... ชื่อธัมมรักขิต,
... ชื่อสังฆรักขิต, ดังนี้เป็นต้น ภิกษุนั้นไม่ว่าคนอื่น, ว่าเฉพาะท่าน ดังนี้, ต้องอาบัติทุกกฏ
ทุกๆ คำพูด.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘