พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หน้า 266-270

                                                            หน้าที่ ๒๖๖

ก็พวกเรามีอยู่เพียง ๕ รูป  จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ  จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป
ปวารณาเป็นการสงฆ์.
                                                                ปวารณาเป็นการคณะ
                สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป จึงภิกษุเหล่านั้น
ได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ก็พวกเรา
มีอยู่เพียง ๔ รูป จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มี
พระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณา
ต่อกัน.
                                                                วิธีทำคณะปวารณา
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายพึงปวารณาอย่างนี้:-
                ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
                                                                ญัตติกรรมวาจา
                ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า  วันนี้เป็นวันปวารณา  ถ้าความพร้อมพรั่งของท่าน
ทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด.
                ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณา
ต่อภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้ว่า
                                                                คำปวารณา
                เธอ  ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย  ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วยได้ฟังก็ดี  ด้วยสงสัยก็ดี
ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน  ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย
                เธอ  ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย  แม้ครั้งที่สอง  ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วยได้ฟังก็ดี
ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน  ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย


                                                            หน้าที่ ๒๖๗

                เธอ  ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม  ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วยได้ฟังก็ดี
ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน  ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย
                ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่า  นั่งกระโหย่ง  ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำ
ปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้ว่า
                ท่านเจ้าข้า  ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย  ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี  ด้วยสงสัย
ก็ดี  ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.
                ท่านเจ้าข้า ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย  แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟัง
ก็ดี  ด้วยสงสัยก็ดี  ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.
                ท่านเจ้าข้า ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย  แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟัง
ก็ดี  ด้วยสงสัยก็ดี  ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.
                                                                คณะปวารณา  (พระ ๓ รูป)
                สมัยต่อมา  ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณามีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จึงภิกษุเหล่านั้น
ได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ
๔ รูป ปวารณาต่อกัน ก็พวกเรามีอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณาต่อกัน
                                                                วิธีทำคณะปวารณา
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายพึงปวารณาอย่างนี้:-
                ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
                                                                ญัตติกรรมวาจา
                ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า  วันนี้เป็นวันปวารณา  ถ้าความพร้อมพรั่งของท่าน
ทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด.
                ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว  กล่าวคำ
ปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้:-


                                                            หน้าที่ ๒๖๘

                                                                คำปวารณา
                เธอ  ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย  ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วยได้ฟังก็ดี  ด้วยสงสัยก็ดี
ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน  ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย
                เธอ  ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย  แม้ครั้งที่สอง  ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วยได้ฟังก็ดี
ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน  ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย
                เธอ  ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม  ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วยได้ฟังก็ดี
ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน  ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.
                ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า  นั่งกระโหย่ง  ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวคำ
ปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้น อย่างนี้ว่า
                ท่านเจ้าข้า  ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย  ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี  ด้วย
สงสัยก็ดี  ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.
                ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง  ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย
ได้ฟังก็ดี  ด้วยสงสัยก็ดี  ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็น
อยู่จักทำคืนเสีย.
                ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย  แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย
ได้ฟังก็ดี  ด้วยสงสัยก็ดี  ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็น
อยู่จักทำคืนเสีย.
                                                                คณะปวารณา  (พระ ๒ รูป)
                สมัยต่อมา  ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จึงภิกษุทั้งสอง
นั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้
ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓  รูป ปวารณาต่อกัน ก็เรามีอยู่ด้วยกันสองรูป จะพึง
ปวารณากันอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้ภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน.


                                                            หน้าที่ ๒๖๙

                                                                วิธีทำคณะปวารณา
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งสองพึงปวารณาอย่างนี้:-
                ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำปวารณา
ต่อภิกษุผู้นวกอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                เธอ  ฉันปวารณาต่อเธอ ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วยได้ฟังก็ดี  ด้วยสงสัยก็ดี  ขอเธอ
จงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย
                เธอ  ฉันปวารณาต่อเธอ แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วยได้ฟังก็ดี  ด้วยสงสัย
ก็ดี  ขอเธอจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย
                เธอ  ฉันปวารณาต่อเธอ แม้ครั้งที่สาม  ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัย
ก็ดี ขอเธอจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน  ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.
                ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง   ประคองอัญชลี  แล้วกล่าวคำ
ปวารณาต่อภิกษุผู้เถระอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านจง
อาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย
                ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน  แม้ครั้งที่สอง  ด้วยได้เห็นก็ดี  ด้วยได้ฟังก็ดี  ด้วยสงสัย
ก็ดี ขอท่านจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย
                ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัย
ก็ดี ขอท่านจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.
                                                                อธิษฐานปวารณา
                สมัยต่อมา  ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา มีภิกษุอยู่รูปเดียว  จึงภิกษุนั้นได้มีความ
ปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป
ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน  ก็เรามีอยู่รูปเดียว
จะพึงปวารณากันได้อย่างไรหนอ. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา  มีภิกษุใน
ศาสนานี้อยู่รูปเดียว. ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมาแห่งภิกษุทั้งหลาย คือ จะเป็นโรงฉัน


                                                            หน้าที่ ๒๗๐

มณฑปหรือโคนต้นไม้  ก็ตาม แล้วจัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้  ปูอาสนะ ตามประทีป แล้วนั่งรออยู่.
หากมีภิกษุเหล่าอื่นมา พึงปวารณาร่วมกับพวกเธอ หากไม่มีมา พึงอธิษฐานว่า ปวารณาของเรา
วันนี้ หากไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๕ รูป  จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่ง
มาแล้ว ๔ รูปปวารณาเป็นการสงฆ์ไม่ได้ หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป  จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่งมา
แล้ว ๓ รูปปวารณาต่อกันไม่ได้ หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป  จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่ง
มาแล้ว ๒ รูปปวารณาต่อกันไม่ได้  หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป  จะนำปวารณาของภิกษุรูปหนึ่ง
มาแล้ว  อีกรูปหนึ่งอธิษฐานไม่ได้  หากขืนอธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                แสดงอาบัติก่อนปวารณา
                [๒๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล  ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ ในวันปวารณา.  เธอได้คิดสงสัย
ในขณะนั้นว่า  พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า  ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา ดังนี้ ก็เรา
เป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็ภิกษุในศาสนานี้  ต้องอาบัติในวัน
ปวารณา.  ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า  นั่งกระโหย่ง ประคอง
อัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่าน  ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น
                ภิกษุผู้รับพึงถามว่า ท่านเห็นหรือ?
                ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า ครับ ผมเห็น.
                ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า  ท่านพึงสำรวมต่อไป.
                                                                สงสัยในอาบัติ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อนึ่ง ถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ.
เธอพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘