พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 261-265

                                                            หน้าที่ ๒๖๑

                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๒๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว.
                คำว่า ดูกรแม่เจ้า ถ้าเธอจักติดตามเราตลอด ๒ ปี ความว่า เธอจักอุปัฏฐากตลอด ๒ ปี.
                คำว่า เมื่อได้เช่นนี้ เราจึงจะให้เธออุปสมบท ความว่า เมื่อเธอทำได้เช่นนี้ เราจึงจะ
ให้เธออุปสมบท.
                คำว่า นางไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่ออันตรายไม่มี.
                บทว่า ไม่ให้อุปสมบท คือ ไม่บวชให้ด้วยตนเอง.
                บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้อุปสมบท คือ ไม่มอบหมายภิกษุณีรูปอื่นให้จัดการ
แทน
                พอทอดธุระว่า จักไม่ให้อุปสมบท จักไม่ขวนขวายเพื่อให้อุปสมบทดังนี้ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                                อนาปัตติวาร
                [๔๒๘] ในเมื่อมีอันตราย ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
                                ___________________________


                                                            หน้าที่ ๒๖๒

                                กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
                [๔๒๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาบวชสิกขมานาชื่อจัณฑกาลี
ผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ ผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก.
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา
จึงได้บวชสิกขมานาชื่อจัณฑกาลี ผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ ผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้
ระทมโศกเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทา
บวชสิกขมานาชื่อจัณฑกาลี ผู้เกี่ยวข้องกับบุรุษ ผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก
จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้บวช
สิกขมานาชื่อจัณฑกาลี ผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษ ผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก
เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๓๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาผู้เกี่ยวข้องด้วยบุรุษผู้คลุกคลีกับเด็กหนุ่ม
ผู้ดุร้าย ผู้ยังชายให้ระทมโศก ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๓๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด ...


                                                            หน้าที่ ๒๖๓

                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ ชายผู้มีอายุถึง ๒๐ ปี.
                ที่ชื่อว่า เด็กหนุ่ม ได้แก่ ชายผู้มีอายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี.
                ที่ชื่อว่า ผู้เกี่ยวข้องหรือคลุกคลี คือ สังสรรค์กันด้วยความเกี่ยวข้องกันทางกายและวาจา
อันไม่สมควร.
                ที่ชื่อว่า ผู้ดุร้าย ได้แก่ ที่เรียกกันว่า ผู้มักโกรธ.
                ที่ชื่อว่า ผู้ยังชายให้ระทมโศก คือ ผู้ก่อทุกข์ นำความโศกมาให้แก่ชายอื่น.
                ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว.
                บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
                ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดีจีวรก็ดี สมมติสีมา
ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                อนาปัตติวาร
                [๔๓๑] ไม่รู้ ให้อุปสมบท ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
                                ________________________


                                                            หน้าที่ ๒๖๔

                                กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
                [๔๓๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาบวชสิกขมานาผู้อันมารดาบิดาบ้าง
อันสามีบ้าง ยังมิได้อนุญาต มารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานาที่พวกเรายังมิได้อนุญาตเล่า.
                ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินมารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา
ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้บวชสิกขมานา
ผู้อันมารดาบิดาบ้าง อันสามีบ้าง ยังมิได้อนุญาตเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา
บวชสิกขมานาผู้อันมารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง ยังมิได้อนุญาตจริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้บวช
สิกขมานาผู้อันมารดาบิดาบ้าง อันสามีบ้าง ยังมิได้อนุญาตเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๓๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาผู้อันมารดาบิดาหรือสามียังมิได้อนุญาต
ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๔๓๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...


                                                            หน้าที่ ๒๖๕

                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า มารดาบิดา ได้แก่ ที่เรียกกันว่าผู้ให้กำเนิด.
                ที่ชื่อว่า สามี ได้แก่บุรุษผู้หวงแหน.
                บทว่า ยังมิได้อนุญาต คือ ยังมิได้บอกลามารดาบิดาหรือสามี
                ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว.
                บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
                ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมา
ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                อนาปัตติวาร
                [๔๓๔] ไม่รู้ ให้อุปสมบท ๑ ขออนุญาตแล้วจึงให้บวช ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่
ต้องอาบัติแล.
                                กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
                                ____________________________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘