พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หน้า 256-260

                                                            หน้าที่ ๒๕๖

                                                                หัวข้อประจำขันธกะ
                [๒๒๓] ๑. เรื่องจำพรรษา  ๒. เรื่องจำพรรษาในเวลาไหน  ๓. เรื่องวันเข้าพรรษามี
เท่าไร  ๔. เรื่องเที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา  ๕. เรื่องไม่ประสงค์จำพรรษา  ๖. เรื่องแกล้งไม่
จำพรรษา  ๗. เรื่องทรงเลื่อนกาลฝน  ๘. เรื่องอุบาสกสร้างวิหาร   ๙. เรื่องภิกษุอาพาธ  ๑๐. เรื่อง
มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง ญาติและบุรุษผู้ภักดีต่อภิกษุป่วยไข้  ๑๑. เรื่องวิหาร
ชำรุด  ๑๒. เรื่องสัตว์ร้ายเบียดเบียน  ๑๓. เรื่องงูเบียดเบียน  ๑๔. เรื่องพวกโจรเบียดเบียน
๑๕. เรื่องปิศาจรบกวน  ๑๖. เรื่องหมู่บ้านประสบอัคคีภัย  ๑๗. เรื่องเสนาสนะถูกไฟไหม้
๑๘. เรื่องหมู่บ้านประสบอุทกภัย  ๑๙. เรื่องเสนาสนะถูกน้ำท่วม  ๒๐. เรื่องชาวบ้านพากันอพยพ
๒๑. เรื่องผู้ที่เป็นทายกมีจำนวนมากกว่า  ๒๒. เรื่องไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีต ไม่ได้
โภชนะและเภสัชอันสบาย  ไม่ได้อุปัฏฐากที่สมควร  ๒๓. เรื่องถูกสตรีนิมนต์  ๒๔. เรื่องถูก
หญิงแพศยานิมนต์  ๒๕. เรื่องถูกหญิงสาวเทื้อนิมนต์  ๒๖. เรื่องถูกบัณเฑาะก์นิมนต์  ๒๗. เรื่อง
ถูกพวกญาตินิมนต์  ๒๘. เรื่องถูกพระราชานิมนต์  ๒๙. เรื่องถูกพวกโจรนิมนต์  ๓๐.  เรื่องถูก
พวกนักเลงนิมนต์  ๓๑. เรื่องพบขุมทรัพย์  ๓๒. เรื่องทำลายสงฆ์ ๘ วิธี  ๓๓. เรื่องจำพรรษา
ในหมู่โคต่าง  ๓๔. เรื่องจำพรรษาในหมู่เกวียน ๓๕. เรื่องจำพรรษาในเรือ  ๓๖.  เรื่องจำพรรษา
ในโพรงไม้  ๓๗. เรื่องจำพรรษาบนค่าคบไม้  ๓๘. เรื่องจำพรรษาในที่แจ้ง  ๓๙. เรื่องภิกษุไม่มี
เสนาสนะจำพรรษา  ๔๐. เรื่องจำพรรษาในกระท่อมผี  ๔๑. เรื่องจำพรรษาในร่ม  ๔๒. เรื่อง
จำพรรษาในตุ่ม  ๔๓. เรื่องตั้งกติกา  ๔๔. เรื่องให้ปฏิญาณ  ๔๕.  เรื่องทำอุโบสถนอกวิหาร
๔๖. เรื่องวันจำพรรษาต้น  ๔๗. เรื่องวันจำพรรษาหลัง  ๔๘. เรื่องไม่มีกิจจำเป็นหลีกไป  ๔๙. เรื่อง
มีกิจจำเป็นหลีกไป  ๕๐. เรื่องพักอยู่ ๒-๓ วัน  ๕๑.  เรื่องหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ ๕๒. เรื่อง
ยังอีก ๗ วันจะถึงวันปวารณา  จะมาก็ตาม ไม่มาก็ตาม.
                พึงพิจารณาแนวฉบับ ตามลำดับหัวข้อเรื่อง.
                                                                ในขันธกะนี้มี ๕๒ เรื่อง
                                                                __________________


                                                            หน้าที่ ๒๕๗

                                                                ปวารณาขันธกะ
                                                                เรื่องภิกษุหลายรูป
                [๒๒๔] โดยสมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี  เขตพระนครสาวัตถี.  ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหา
กันมา  จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท จึงภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า  ด้วยวิธี
อย่างไรหนอ พวกเราจึงพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และ
จะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต  ครั้นแล้วได้ปรึกษากันต่อไปว่า  หากพวกเราจะไม่พึงทักทาย
จะไม่พึงปราศรัยซึ่งกันและกัน  รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน  รูปนั้นพึงปูอาสนะ จัดหาน้ำ
ล้างเท้า ตั่งรองเท้า  กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉัน
น้ำใช้ไว้  รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการ
พึงฉัน  ถ้าไม่ต้องการ  ก็พึงเททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของสีเขียวสด หรือเทล้างเสียในน้ำที่
ปราศจากตัวสัตว์  รูปนั้นพึงรื้ออาสนะ  พึงเก็บน้ำล้างเท้า  ตั่งรองเท้า  กระเบื้องเช็ดเท้า  ล้าง
ภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดหอฉัน  รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน  หม้อ
น้ำใช้ หม้อน้ำชำระ ว่างเปล่า  รูปนั้นพึงจัดหาไว้  หากภิกษุนั้นไม่สามารถ  พึงกวักมือเรียกเพื่อน
มาช่วยเหลือกัน  แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล  พวกเราจึงจะพร้อมเพรียง
กัน  ปรองดองกัน  ไม่วิวาทกัน  อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก  และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต.
ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้น  ไม่ทักทาย  ไม่ปราศรัยต่อกันและกัน   ภิกษุรูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้าน
ก่อน  ภิกษุรูปนั้นปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า  กระเบื้องเช็ดเท้าไว้  ล้างภาชนะสำหรับ
ถ่ายบิณฑบาต เตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ภิกษุรูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หาก
อาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการ ก็ฉัน  ถ้าไม่ต้องการก็เททิ้งเสียในสถานที่อัน
ปราศจากของเขียวสด  หรือเทล้างเสียในน้ำอันปราศจากตัวสัตว์   ภิกษุรูปนั้นรื้ออาสนะ  เก็บน้ำ
ล้างเท้า  ตั่งรองเท้า  กระเบื้องเช็ดเท้า  ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้


                                                            หน้าที่ ๒๕๘

กวาดหอฉัน  ภิกษุรูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน  หม้อน้ำใช้  หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า  ภิกษุรูปนั้นก็
จัดหาไว้  หากภิกษุนั้นไม่สามารถ  ก็กวักมือเรียกเพื่อนภิกษุมาช่วยเหลือกัน  แต่ไม่เปล่งวาจา
เพราะเหตุนั้นเลย.
                                                ธรรมเนียมเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
                [๒๒๕]  ก็การที่ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้ว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค  นั่นเป็นประเพณี.
ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาศแล้วเก็บงำเสนาสนะถือบาตรจีวร  หลีกไปโดยมรรคา
อันจะไปสู่พระนครสาวัตถี ถึงพระนครสาวัตถีและพระเชตวัน  อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี
โดยลำดับแล้ว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
                อนึ่ง  การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย  ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย
นั่นเป็นพุทธประเพณี.
                ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ร่างกายของ
พวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ  พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน  ปรองดองกัน
ไม่วิวาทกัน  อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก  และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต  หรือ?
                ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า  ยังพอให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า
อนึ่ง  พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน  ปรองดองกัน  ไม่วิวาทกัน  อยู่จำพรรษา
เป็นผาสุก  และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต  พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                พุทธประเพณี
                พระตถาคตทั้งหลาย ทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี  ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี
ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม  ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม  พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมตรัสถามสิ่งที่
ประกอบด้วยประโยชน์  ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์  ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ.  พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสอบถาม
ภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง  จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.
                ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า   ดูกรภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอเป็นผู้
พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน  ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
ด้วยวิธีการอย่างไร?


                                                            หน้าที่ ๒๕๙

                ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า  พระพุทธเจ้าข้า  พวกข้าพระพุทธเจ้า  บรรดาที่นั่งเฝ้า ณ ที่นี้
เป็นภิกษุซึ่งเคยเห็นคบหากันมา  จำนวนมากด้วยกัน  ได้จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ใน
โกศลชนบท  พวกข้าพระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า  ด้วยวิธีอย่างไรหนอ  พวกเราจึงจะ
พร้อมเพรียงกัน  ปรองดองกัน  ไม่วิวาทกัน  อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก  และจะไม่ต้องลำบากด้วย
บิณฑบาต   พวกข้าพระพุทธเจ้านั้นได้ปรึกษากันต่อไปว่า  หากพวกเราจะไม่พึงทักทาย จะไม่พึง
ปราศรัยซึ่งกันและกัน  รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน  รูปนั้นพึงปูอาสนะ  จัดหาน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า  กระเบื้องเช็ดเท้าไว้  ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาต เตรียมตั้งไว้  จัดตั้งน้ำฉัน
น้ำใช้ไว้  รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ  ถ้าต้องการ
พึงฉัน  ถ้าไม่ต้องการ ก็พึงเททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของเขียวสด   หรือเทล้างเสียในน้ำ
ที่ปราศจากตัวสัตว์ รูปนั้นพึงรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะ
สำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน  หม้อน้ำใช้
หม้อน้ำชำระว่างเปล่า รูปนั้นพึงจัดหาไว้  หากภิกษุนั้นไม่สามารถ  พึงกวักมือเรียกเพื่อนมา
ช่วยเหลือกัน  แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล  พวกเราจึงจะพร้อมเพรียง
กัน ปรองดองกัน  ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก  และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต
พระพุทธเจ้าข้า  ครั้นแล้วพวกข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่ทักทาย  ไม่ปราศรัยต่อกันและกัน  ภิกษุรูปใด
บิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน  ภิกษุรูปนั้นย่อมปูอาสนะไว้ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้อง
เช็ดเท้าไว้  ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาต  เตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉัน  น้ำใช้ไว้  ภิกษุรูปใด
บิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง  หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการก็ฉัน  ถ้าไม่
ต้องการ  ก็เททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของเขียวสด  หรือเทล้างเสียในน้ำอันปราศจากตัวสัตว์
ภิกษุรูปนั้นย่อมรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า  กระเบื้องเช็ดเท้า  ล้างภาชนะสำหรับ
ถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้  เก็บน้ำฉันน้ำใช้  กวาดหอฉัน  ภิกษุรูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน  หม้อน้ำใช้
หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า  ภิกษุรูปนั้นก็จัดหาไว้  หากภิกษุรูปนั้นไม่สามารถก็กวักมือเรียกเพื่อน
มาช่วยเหลือกัน  แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล  พวกข้าพุทธเจ้าจึงเป็น
ผู้พร้อมเพรียงกัน  ปรองดองกัน  ไม่วิวาทกัน  อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก  และไม่ต้องลำบากด้วย
บิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.


                                                            หน้าที่ ๒๖๐

                                                                ทรงติเตียน
                [๒๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า
โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาไม่ผาสุกเลย ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก ข่าวว่า โมฆบุรุษ
พวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างปศุสัตว์อยู่ร่วมกันแท้ๆ  ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก ข่าวว่า
โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษา อย่างแพะอยู่ร่วมกันแท้ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก
ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างคนประมาทอยู่ร่วมกันแท้ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษา
เป็นผาสุก.
                                                                ทรงห้ามมูควัตร ติตถิยสมาทาน
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เหตุไฉน  โมฆบุรุษพวกนี้จึงได้ถือมูควัตร  ซึ่งพวกเดียรถีย์ถือกัน
การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น  นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ....
ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุไม่พึงสมาทานมูควัตร
ที่พวกเดียรถีย์สมาทานกัน  รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                พระพุทธานุญาตปวารณา
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอยู่จำพรรษา แล้วปวารณาด้วยเหตุ ๓ สถาน
คือ ด้วยได้เห็น ๑  ด้วยได้ฟัง ๑ ด้วยสงสัย ๑ การปวารณานั้นจักเป็นวิธีเหมาะสมเพื่อว่ากล่าว
กันและกัน  เป็นวิธีออกจากอาบัติ เป็นวิธีเคารพพระวินัยของพวกเธอ.
                                                                วิธีปวารณา
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็แลพวกเธอพึงปวารณา อย่างนี้:-
                ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ  พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา  ว่าดังนี้:-
                                                                สัพพสังคาหิกาญัตติ
                ท่านเจ้าข้า  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา.
                ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้วกล่าวปวารณา
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘