พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 226-230

                                                            หน้าที่ ๒๒๖

                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป
                [๓๘๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชเด็กหญิงชาวบ้านผู้มีอายุยัง
ไม่ครบ ๑๒ ปี เด็กหญิงเหล่านั้นเป็นผู้อดทนไม่ได้ต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความ
กระหาย ไม่อดทนต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน มักไม่อดกลั้นต่อ
ถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย หยาบคาย มีปกติไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดในสรีระอย่างแรงกล้า หยาบช้า
เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันอาจพร่าชีวิตเสีย.
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึง
ได้บวชเด็กหญิงชาวบ้าน ผู้มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปีเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลาย
พากันบวชเด็กหญิงชาวบ้านผู้มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปี จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากัน
บวชเด็กหญิงชาวบ้านที่มีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปีเล่า เพราะเด็กหญิงมีอายุยังไม่ครบ ๑๒ ปี เป็นผู้
อดทนไม่ได้ต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ไม่อดทนต่อสัมผัสแห่งเหลือบ
ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน มักไม่อดกลั้นต่อถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย หยาบคาย มีปกติ
ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดในสรีระอย่างแรงกล้า หยาบช้า เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ
อันอาจพร่าชีวิตเสีย ส่วนเด็กหญิงที่มีอายุครบ ๑๒ ปี เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน
ความหิว ความระหาย อดทนต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน มีปกติ
อดกลั้นต่อถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย หยาบคาย มักอดทนต่อทุกข์เวทนาที่เกิดในสรีระอย่างแรงกล้า
หยาบช้า เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ อันอาจพร่าชีวิตเสีย การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:


                                                            หน้าที่ ๒๒๗

                                พระบัญญัติ
                ๑๒๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังเด็กหญิงชาวบ้านผู้มีอายุหย่อนสิบสองฝนให้บวช เป็น
ปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๘๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า มีอายุหย่อนสิบสองฝน คือ มีอายุไม่ครบ ๑๒ ปี.
                ที่ชื่อว่า เด็กหญิงชาวบ้าน ได้แก่ เด็กหญิงที่เขากล่าวกันว่าอาจมีสามีได้.
                บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
                ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี
ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                บทภาชนีย์
                [๓๘๒] เด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุหย่อน ๑๒ ปี ให้บวช ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                เด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
                เด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ ให้บวช ไม่ต้องอาบัติ.
                เด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุหย่อน ๑๒ ปี ต้องอาบัติทุกกฏ.
                เด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                เด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ ไม่ต้องอาบัติ.
                                อนาปัตติวาร
                [๓๘๓] บวชเด็กหญิงมีอายุหย่อน ๑๒ ปี สำคัญว่ามีอายุครบ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.


                                                            หน้าที่ ๒๒๘

                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป
                [๓๘๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี
ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี. เธอเหล่านั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จัก
สิ่งที่ควรหรือไม่ควร.
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย
จึงได้พากันบวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีพากัน
บวชเด็กหญิงอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้พากันบวช
เด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีเล่า การกระทำของ
พวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี แก่เด็ก
หญิงผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี.
                                วิธีให้สิกขาสมมติ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สิกขาสมมตินั้น อย่างนี้:
                อันเด็กหญิงผู้มีอายุครบ ๑๒ ปีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบ
เท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า
                แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นเด็กหญิงของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ขอสิกขาสมมติใน
ธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีต่อสงฆ์.
                พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
                ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:


                                                            หน้าที่ ๒๒๙

                                กรรมวาจา
                แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เด็กหญิงนี้ชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี
ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว
สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี แก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี
นี่เป็นญัตติ.
                แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เด็กหญิงนี้ชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี
ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประ
การตลอด ๒ ปี แก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี การให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปี แก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุครบ ๑๒ ปี ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็น
ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
                สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี อันสงฆ์ให้แล้วแก่เด็กหญิงชื่อนี้ ผู้มีอายุ
ครบ ๑๒ ปี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
                ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถนั้น พึงกล่าวกะเด็กหญิงผู้มีอายุครบ ๑๒ ปีนั้นว่า เธอจงกล่าว
อย่างนี้ แล้วพึงกล่าว ว่าดังนี้:
                ๑. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี ...
                ๖. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี
                ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วตรัสโทษ
แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๒๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังเด็กหญิงมีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ประการตลอดสองฝนให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๘๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...


                                                            หน้าที่ ๒๓๐

                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า มีอายุ ๑๒ ปีบริบูรณ์ คือ มีอายุครบ ๑๒ ฝนแล้ว.
                ที่ชื่อว่า เด็กหญิง ได้แก่ เด็กหญิงที่เขากล่าวกันว่าอาจมีสามีได้.
                บทว่า ตลอดสองฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
                ที่ชื่อว่า ยังมิได้ศึกษาสิกขา คือ สงฆ์ยังมิได้ให้สิกขา หรือให้แล้วแต่เธอทำขาดเสีย.
                บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
                ตั้งใจว่า จักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี
ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                บทภาชนีย์
                                ติกะปาจิตตีย์
                [๓๘๖] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                ติกะทุกกฏ
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                อนาปัตติวาร
                [๓๘๗] บวชเด็กหญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
                                _______________________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘