พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หน้า 221-225

                                                            หน้าที่ ๒๒๑

                ไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ นั่งอยู่ด้วย  รูปใดสวด ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
                ไม่พึงสวดปาติโมกข์  ในบริษัทที่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัตินั่งอยู่ด้วย รูปใด
สวด พึงปรับอาบัติตามธรรม.
                .... ในบริษัทที่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย  ฐานไม่กระทำคืนอาบัติ  นั่งอยู่ด้วย ....
                ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ในบริษัทที่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามกนั่ง
อยู่ด้วย รูปใดสวด พึงปรับอาบัติตามธรรม.
                ไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่บัณเฑาะก์นั่งอยู่ด้วย รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ในบริษัทที่คนลักเพศนั่งอยู่ด้วย ....
                .... ที่ภิกษุเข้ารีดเดียรถีย์นั่งอยู่ด้วย ....
                .... ที่คนคล้ายสัตว์ดิรัจฉานนั่งอยู่ด้วย ....
                .... ที่คนฆ่ามารดานั่งอยู่ด้วย ....
                .... ที่คนฆ่าบิดานั่งอยู่ด้วย ....
                .... ที่คนฆ่าพระอรหันต์นั่งอยู่ด้วย ....
                .... ที่คนประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย ....
                .... ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่งอยู่ด้วย ....
                .... ที่คนผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิตนั่งอยู่ด้วย ....
                ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ในบริษัทที่อุภโตพยัญชนกนั่งอยู่ด้วย รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
                [๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ไม่พึงทำอุโบสถ ด้วยการให้ปาริสุทธิค้างคราว เว้นแต่
บริษัทยังไม่ลุกไป.
                [๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อนึ่ง ไม่พึงทำอุโบสถ ในกาลมิใช่วันอุโบสถ เว้นแต่
วันสังฆสามัคคี.
                                                อุโบสถขันธกะ จบ ภาณวารที่ ๓ จบ.
                                                                เรื่องในขันธกะนี้มี ๘๖ เรื่อง
                                                                __________________


                                                            หน้าที่ ๒๒๒

                                                                หัวข้อประจำขันธกะ
                [๒๐๔] เรื่องพวกเดียรถีย์ ๒. เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร ๓. เรื่องประชุมกันนั่งนิ่ง ๔. เรื่อง
ประชุมกล่าวธรรม ๕. เรื่องประทับในที่สงัด ๖. เรื่องสวดปาติโมกข์ครั้งนั้นทุกวัน ๗. เรื่อง
ทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ปักษ์ละครั้ง ๘. เรื่องสวดปาติโมกข์ในบริษัทเท่าที่มีอยู่ ๙. เรื่อง
สวดปาติโมกข์แก่ภิกษุผู้พร้อมเพรียงกัน ๑๐. เรื่องทรงอนุญาตสามัคคี ๑๑. เรื่องมัททกุจฉิ-
มฤคทายวัน ๑๒. เรื่องสมมติสีมา ๑๓. เรื่องสมมติสีมาใหญ่เกินขนาด ๑๔. เรื่องสมมตินทีปารสีมา
๑๕. เรื่องสวดปาติโมกข์ที่อนุบริเวณ ๑๖. เรื่องสมมติโรงอุโบสถ ๒ โรง ๑๗. เรื่องสมมติ
โรงอุโบสถเล็กเกินขนาด ๑๘.  เรื่องพวกนวกะภิกษุ ๑๙. เรื่องพระนครราชคฤห์ ๒๐. เรื่อง
สมมติสีมาให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร  ๒๑. เรื่องสมมติสมานสังวาสสีมาก่อน
๒๒. เรื่องถอนสมานสังวาสสีมาทีหลัง ๒๓. เรื่องคามสีมาที่ไม่ได้สมมติ ๒๔. เรื่องอุทกุกเขป
ในแม่น้ำ  ๒๕. เรื่องอุทกุกเขปในสมุทร ๒๖. เรื่องอุทกุกเขปในชาตสระ ๒๗. เรื่องสีมา
คาบเกี่ยว ๒๘. เรื่องสมมติสีมาทับสีมา ๒๙. เรื่องวันอุโบสถมีเท่าไร ๓๐. เรื่องอาการทำ
อุโบสถมีเท่าไร  ๓๑. เรื่องปาติโมกขุทเทสมีเท่าไร  ๓๒. เรื่องคนชาวดงมาพลุกพล่าน
๓๓. เรื่องไม่มีอันตราย ๓๔. เรื่องแสดงธรรม ๓๕. เรื่องถามวินัย ๓๖. เรื่องกล่าวคุกคาม
๓๗. เรื่องวิสัชนาวินัย ๓๘. เรื่องกล่าวคุกคามอีกเรื่องหนึ่ง ๓๙. เรื่องโจทด้วยอาบัติ
๔๐. เรื่องทำโอกาส ๔๑. เรื่องค้านกรรมที่ไม่เป็นธรรม ๔๒. เรื่องภิกษุ ๔-๕ รูปทำความเห็นแย้ง
๔๓. เรื่องแกล้งสวดปาติโมกข์ไม่ให้ได้ยิน ๔๔. เรื่องทรงอนุญาตให้พยายามสวด ๔๕. เรื่อง
สวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย  ๔๖. เรื่องไม่ได้รับอาราธนาสวดปาติโมกข์
๔๗. เรื่องภิกษุไม่รู้ในโจทนาวัตถุนคร  ๔๘. เรื่องภิกษุมากรูปด้วยกันไม่รู้จักอุโบสถเป็นต้น
๔๙. เรื่องส่งไปพอจะกลับมาทันในวันนั้น ๕๐. เรื่องไม่ยอมไป ๕๑. เรื่องดิถีที่เท่าไรแห่งปักษ์
๕๒. เรื่องภิกษุมีเท่าไร ๕๓. เรื่องไปบิณฑบาตบ้านไกลทรงอนุญาตให้บอก ๕๔. เรื่องไม่ระลึก
ไม่ได้ ๕๕. เรื่องโรงอุโบสถรก  ๕๖. เรื่องอาสนะและประทีป  ๕๗. เรื่องภิกษุไปสู่ทิศ
๕๘. เรื่องภิกษุรูปอื่นเป็นพหูสูต ๕๙. เรื่องส่งภิกษุไปพอจะกลับมาทันในวันนั้น ๖๐. เรื่องจำ
พรรษา ๖๑. เรื่องทำอุโบสถ ๖๒. เรื่องให้ปาริสุทธิ ๖๓. เรื่องทำกรรม ๖๔. เรื่องพวกญาติ


                                                            หน้าที่ ๒๒๓

๖๕. เรื่องภิกษุชื่อคัคคะ ๖๖. เรื่องภิกษุ ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป และรูปเดียว ๖๗. เรื่องต้อง
อาบัติ ๖๘. เรื่องแสดงสภาคาบัติ ๖๙. เรื่องภิกษุรูปหนึ่งระลึกอาบัติได้ ๗๐. เรื่องสงฆ์ทั้งหมด
ต้องสภาคาบัติและสงสัย  ๗๑. เรื่องไม่รู้ชื่อและโคตรอาบัติ ๗๒. เรื่องภิกษุพหูสูต
๗๓. เรื่องภิกษุมามากกว่า มาเท่ากัน และมาน้อยกว่า  ๗๔. เรื่องบริษัทยังไม่ทันลุกไปและ
บางพวกลุกไปแล้ว ๗๕. เรื่องบริษัทลุกไปหมดแล้ว ๗๖. เรื่องภิกษุรู้ ๗๗. เรื่องภิกษุสงสัย
๗๘. เรื่องภิกษุฝืนใจทำด้วยเข้าใจว่าควร ๗๙. เรื่องภิกษุรู้ ได้เห็นและได้ยิน ๘๐. เรื่องภิกษุ
อาคันตุกะกับภิกษุเจ้าถิ่น  ๘๑. เรื่องวันจาตุททสี วันปัณณรสี  ๘๒. เรื่องวันปาฏิบทกับวัน
ปัณณรสี ๘๓. เรื่องลิงค์ ๘๔. เรื่องสังวาส ๘๕. เรื่องให้ปาริสุทธิค้างคราว ๘๖. เรื่องทำ
อุโบสถในกาลมิใช่วันอุโบสถ นอกจากวันสังฆสามัคคี อุททานที่จำแนกแล้วเหล่านี้ เป็นหัวข้อ
บอกเรื่อง.
                                                                หัวข้อประจำขันธกะ จบ.
                                                                _____________
                                                                วัสสูปนายิกขันธกะ
                                                                เรื่องภิกษุหลายรูป
                [๒๐๕] โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงบัญญัติ
การจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน.
คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ  ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้เที่ยว
จาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์
อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็กๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
เหล่านี้เป็นผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังพัก ยังอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกเหล่านี้เล่า
ก็ยังทำรังบนยอดไม้ และพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
เหล่านี้ เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน  เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด


                                                            หน้าที่ ๒๒๔

เบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็กๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวาย. ภิกษุทั้งหลาย
ได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น  ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษา.
                                                                การจำพรรษา ๒ อย่าง
                [๒๐๖] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดกันว่า  พวกเราพึงจำพรรษาเมื่อไรหนอ แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษา
ในฤดูฝน.
                ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดกันว่า วันเข้าพรรษามีกี่วันหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  วันเข้าพรรษานี้มี ๒ คือ ปุริมิกา
วันเข้าพรรษาต้น ๑ ปัจฉิมิกา วันเข้าพรรษาหลัง ๑ เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วง
ไปแล้ววันหนึ่ง พึงเข้าพรรษาต้น  เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้วเดือนหนึ่ง
พึงเข้าพรรษาหลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษามี ๒ วันเท่านี้แล.
                                                พระฉัพพัคคีย์เที่ยวจาริกทุกเวลา
                [๒๐๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์จำพรรษาแล้ว ยังเที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา.
คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาเช่นนั้นแหละว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
จึงได้เที่ยวจาริกตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียน
อินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะยังสัตว์เล็กๆ  มีจำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกอัญญเดียรถีย์
เหล่านี้ เป็นผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน  อนึ่ง ฝูงนกเหล่านี้เล่า
ก็ยังทำรังบนยอดไม้แล้วพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน  ส่วนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
เหล่านี้ เที่ยวจาริกตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน  เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียน
อินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็กๆ ซึ่งมีจำนวนมากให้ถึงความวอดวาย.  ภิกษุทั้งหลาย
ได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา. บรรดาที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จำพรรษาแล้ว จึงได้เที่ยวจาริกระหว่างพรรษาเล่า จึงภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.


                                                            หน้าที่ ๒๒๕

                ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น  ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุจำพรรษา ไม่อยู่ให้
ตลอด ๓ เดือนต้น หรือ ๓ เดือนหลัง ไม่พึงหลีกไปสู่จาริก รูปใดหลีกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                พระฉัพพัคคีย์ไม่จำพรรษา
                [๒๐๘] ก็โดยสมัยนั้นแล   พระฉัพพัคคีย์ไม่ประสงค์จะจำพรรษา  ภิกษุทั้งหลาย
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาครับสั่งห้ามว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
จะไม่จำพรรษาไม่ได้ รูปใดไม่จำพรรษา ต้องอาบัติทุกกฏ.
                สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ ไม่ประสงค์จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา แกล้งล่วงเลยอาวาส
ไปเสีย.  ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาครับสั่งห้ามว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ประสงค์จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา ไม่พึงแกล้งล่วงเลยอาวาสไปเสีย
รูปใดล่วงเลยไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                เลื่อนกาลฝน
                [๒๐๙] ก็โดยสมัยนั้นแล  พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช มีพระราชประสงค์
จะทรงเลื่อนกาลฝนออกไป จึงทรงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ถ้ากระไร ขอพระคุณเจ้า
ทั้งหลายพึงจำพรรษาในชุณหปักษ์อันจะมาถึง. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คล้อยตามพระเจ้าแผ่นดิน.
                                                                เรื่องทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะ
                                                                ทายกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย
                [๒๑๐] ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์
แล้ว เสด็จจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ลุถึงพระนครสาวัตถี. ทราบว่า
พระองค์ประทับอยู่ ณ  พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น.
                ก็โดยสมัยนั้นแล  อุบาสกชื่ออุเทนได้ให้สร้างวิหารอุทิศต่อสงฆ์ไว้ในโกศลชนบท.
เขาได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายจงมา ข้าพเจ้าปรารถนา
จะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘