พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 221-225

                                                            หน้าที่ ๒๒๑

                                กรรมวาจา
                แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางนี้มีชื่อนี้เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขา
สมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง
ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปี แก่สิกขมานามีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ.
                แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางนี้มีชื่อนี้เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขา
สมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติ ในธรรม ๖ ประการตลอด ๒
ปี แก่สิกขมานาชื่อนี้ การให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแก่สิกขมานาชื่อนี้
ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
                สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่สิกขมานาชื่อนี้แล้ว ชอบ
แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
                พึงบอกสิกขมานาผู้นั้นว่า เธอจงว่าอย่างนี้.
                ๑. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี
                ๒. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการถือเอาพัสดุอันเจ้าของเขามิได้ให้ มั่น ไม่ละเมิด
ตลอด ๒ ปี
                ๓. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการประพฤติผิด มิใช่กิจพรหมจรรย์ มั่น ไม่ละเมิด
ตลอด ๒ ปี
                ๔. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการพูดเท็จ มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี
                ๕. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นฐานประมาท
มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี
                ๖. ข้าพเจ้าสมาทานศีลข้อเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มั่น ไม่ละเมิดตลอด ๒ ปี
                ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วตรัสโทษ
แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๑๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ตลอดสองฝน ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.


                                                            หน้าที่ ๒๒๒

                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๗๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                บทว่า สองฝน คือ ๒ ปี.
                ที่ชื่อว่า ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา คือ สิกขาอันภิกษุณียังมิได้ให้ หรือให้แล้วแต่สิกขมานา
ทำขาดเสีย.
                บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
                ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี
ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรม
วาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                บทภาชนีย์
                                ติกะปาจิตตีย์
                [๓๗๔] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                ติกะทุกกฏ
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                อนาปัตติวาร
                [๓๗๕] บวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
                                _______________________


                                                            หน้าที่ ๒๒๓

                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป
                [๓๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ. ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า มานี่
สิกขมานา เธอจงรู้สิ่งนี้ จงประเคนสิ่งนี้ จงนำสิ่งนี้มา เราต้องการสิ่งนี้ จงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ
                นางเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่แม่เจ้า ดิฉันไม่ใช่สิกขมานา พวกดิฉันเป็นภิกษุณี.
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย
จึงได้บวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลาย
บวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้วแต่สงฆ์ไม่ได้สมมติ จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวช
สิกขมานา ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า การ
กระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงกระทำ
ธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่
สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สมมติการอุปสมบทนั้น อย่างนี้:
                                วิธีให้สมมติการอุปสมบท
                สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้วนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้า
อุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ว่า
                แม่เจ้า ดิฉันมีชื่อนี้ เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ครบ ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์.
                พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
                ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:


                                                            หน้าที่ ๒๒๔

                                กรรมวาจา
                แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ผู้นี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ครบ ๒ ปีแล้ว นี้เป็นญัตติ.
                แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ผู้นี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว ขอสมมติการอุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สมมติการอุปสมบท
แก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีแล้ว.
                การให้สมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานาชื่อนี้ ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ
ครบ ๒ ปีแล้ว ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้า
ผู้นั้นพึงพูด.
                สมมติการอุปสมบทอันสงฆ์ให้แล้วแก่สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประ
การ ครบ ๒ ปีแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
                ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดั่งนี้ แล้วตรัสโทษ
แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๑๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด
สองฝนแล้ว อันสงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๗๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                บทว่า ตลอดสองฝน คือ ตลอด ๒ ปี.
                ที่ชื่อว่า ผู้ศึกษาสิกขา ... แล้ว คือ มีสิกขาในธรรม ๖ ประการอันได้ศึกษาแล้ว.


                                                            หน้าที่ ๒๒๕

                ที่ชื่อว่า อันสงฆ์ยังมิได้สมมติ คืออันสงฆ์ยังไม่ได้ให้สมมติการอุปสมบทด้วยญัตติทุติย
กรรม
                บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
                ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี
ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                บทภาชนีย์
                                ติกะปาจิตตีย์
                [๓๗๘] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                ติกะทุกกฏ
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                อนาปัตติวาร
                [๓๗๙] บวชสิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปีที่สงฆ์สมมติแล้ว ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
                                _______________________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘