พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 216-220

                                                            หน้าที่ ๒๑๖

                                ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๗
                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป
                [๓๖๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชสตรีมีครรภ์. นางบวชแล้ว
เที่ยวไปบิณฑบาต คนทั้งหลายพูดกันอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวายภิกษาแก่แม่เจ้า เพราะแม่เจ้า
มีครรภ์แก่ แล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ให้สตรีมีครรภ์บวชเล่า
                ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวชสตรีมีครรภ์เล่า.
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีให้สตรี
มีครรภ์บวช จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้ให้สตรี
มีครรภ์บวชเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๑๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีมีครรภ์ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๖๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่
ประสงค์ในอรรถนี้.


                                                            หน้าที่ ๒๑๗

                ที่ชื่อว่า สตรีมีครรภ์ ได้แก่หญิงที่เรียกกันว่ามีบุตรมาเกิด.
                บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
                ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี
ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรม
วาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                บทภาชนีย์
                [๓๖๖] สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่ามีครรภ์ ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
                สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ ให้บวช ไม่ต้องอาบัติ.
                สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่ามีครรภ์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ ไม่ต้องอาบัติ.
                                อนาปัตติวาร
                [๓๖๗] สตรีมีครรภ์ สำคัญว่าไม่มีครรภ์ ให้บวช ๑ สตรีไม่มีครรภ์สำคัญว่าไม่มีครรภ์
ให้บวช ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
                                ________________________


                                                            หน้าที่ ๒๑๘

                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป
                [๓๖๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชสตรีแม่ลูกอ่อน. นาง
บวชแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาต. คนทั้งหลายพูดกันอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวายภิกษาแก่แม่เจ้า
เพราะแม่เจ้ามีลูก แล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้สตรีมีลูก
อ่อนบวชเล่า.
                ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้สตรีแม่ลูกอ่อนบวชเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายให้
สตรีแม่ลูกอ่อนบวช จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้
สตรีแม่ลูกอ่อนบวชเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๑๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีมีลูกอ่อนให้บวช เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๖๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.


                                                            หน้าที่ ๒๑๙

                ที่ชื่อว่า สตรีมีลูกอ่อน ได้แก่ หญิงที่เป็นมารดา หรือเป็นแม่นม.
                บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท.
                ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติสีมาก็ดี
ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบ
กรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                บทภาชนีย์
                [๓๗๐] สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่ามีลูกอ่อน ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
                สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่า ไม่ใช่มีลูกอ่อน ให้บวช ไม่ต้องอาบัติ.
                มิใช่สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่ามีลูกอ่อน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                มิใช่สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                มิใช่สตรีมีลูกอ่อน ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่มีลูกอ่อน ไม่ต้องอาบัติ.
                                อนาปัตติวาร
                [๓๗๑] สตรีมีลูกอ่อน สำคัญว่าไม่มีลูกอ่อน ให้บวช ๑ มิใช่สตรีมีลูกอ่อน สำคัญว่า
ไม่มีลูกอ่อน ให้บวช ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
                                _______________________


                                                            หน้าที่ ๒๒๐

                                คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป
                [๓๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพากันบวชสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษา
สิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี สิกขมานาพวกนั้นจึงเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่
ควรหรือไม่ควร.
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย
จึงได้บวชสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลาย
บวชสิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปีจริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้บวช
สิกขมานาผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีเล่า การกระทำของพวกนางนั่นไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ ตลอด ๒ ปี แก่สิกขมานา.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สิกขาสมมตินั้นอย่างนี้.
                                วิธีให้สิกขาสมมติ
                สิกขมานานั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย แล้ว
นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี กล่าวอย่างนี้ ว่าดังนี้
                แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ประการ
ตลอด ๒ ปี ต่อสงฆ์.
                พึงขอแม้ครั้งที่สอง ... พึงขอแม้ครั้งที่สาม
                ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘