พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 216-220

                                                            หน้าที่ ๒๑๖

ผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ, ...  ผู้ต้องอาบัติทุกกฏ, ...  ผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต, ว่าท่านถึงโสดาบัน, ดังนี้
เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดยกยอกระทบอาบัติ
                [๒๓๒] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ปรารถนาจะ
ทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบอาบัติอุกฤษฏ์ คือ พูดกะอุป-
สัมบันผู้เป็นโสดาบัน ว่าท่านต้องโสดาบัติ, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดกดกระทบคำสบประมาท
                [๒๓๓] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ปรารถนาจะ
ทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติทราม ด้วยกล่าวกระทบคำด่าทราม คือ พูดกะอุป
สัมบันมีความประพฤติดังอูฐ, ...  มีความประพฤติดังแพะ, ...  มีความประพฤติดังโค, ...  มีความ-
ประพฤติดังลา, ...  มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน, ... มีความประพฤติดังสัตว์นรก, ว่าท่านเป็นอูฐ
ว่าท่านเป็นแพะ, ว่าท่านเป็นโค, ว่าท่านเป็นลา, ว่าท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน, ว่าท่านเป็นสัตว์นรก,
สุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่ทุคติ, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดกดให้เลวกระทบคำสบประมาท
                [๒๓๔] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ปรารถนาจะ
ทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบคำด่าทราม คือ อุปสัม
บันผู้เป็นบัณฑิต, ...  ผู้ฉลาด, ...  ผู้มีปัญญา, ...  ผู้พหูสูต, ...  ผู้มีธรรมกถึก, ว่าท่านเป็นอูฐ, ว่าท่าน
เป็นแพะ, ว่าท่านเป็นโค, ว่าท่านเป็นลา, ว่าท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน, ว่าท่านเป็นสัตว์นรก, สุคติ
ของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้ทุคติ, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดประชดกระทบคำสบประมาท
                [๒๓๕] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ปรารถนาจะ
ทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติทราม ด้วยกล่าวกระทบคำด่าอุกฤษฏ์ คือ พูดกะ-
อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ, ... มีความประพฤติดังแพะ, ... มีความประพฤติดังโค, ... มีความ-
ประพฤติดังลา, ... มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน, ... มีความประพฤติดังสัตว์นรก, ว่าท่านเป็น
บัณฑิต, ว่าท่านเป็นคนฉลาด, ว่าท่านเป็นคนมีปัญญา, ว่าท่านเป็นคนพหูสูต, ว่าท่านเป็นธรรม
กถึก, ทุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.


                                                            หน้าที่ ๒๑๗

                                                พูดยกยอกระทบคำสบประมาท
                [๒๓๖] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ปรารถนาจะ
ทำให้อัปยศ พูดกะอุปสัมบันผู้มีความประพฤติอุกฤษฏ์ ด้วยกล่าวกระทบคำด่าอุกฤษฏ์ คือ
พูดกะอุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต, ... ผู้ฉลาด, ... ผู้มีปัญญา, ... ผู้พหูสูต, ... ผู้ธรรมกถึก, ว่าท่านเป็น-
บัณฑิต, ว่าท่านเป็นคนฉลาด, ว่าท่านเป็นคนมีปัญญา, ว่าท่านเป็นพหูสูต, ว่าท่านเป็นธรรมกถึก,
ทุคติของท่านไม่มี, ท่านต้องหวังได้แต่สุคติ, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเปรยกระทบชาติทราม
                [๒๓๗] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ปรารถนาจะ
ทำให้อัปยศ พูดเปรยอย่างนี้ คือกล่าวว่า มีภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บางพวกเป็นชาติคนจัณฑาล,
บางพวกเป็นชาติคนจักสาน, บางพวกเป็นชาติพราน, บางพวกเป็นชาติคนช่างหนัง, บางพวก-
เป็นชาติคนเทดอกไม้, ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำพูด.
                                                พูดเปรยกระทบชาติอุกฤษฏ์
                [๒๓๘] อุปสัมบันปรารถนาจะด่า ปรารถนาจะสบประมาทอุปสัมบัน ปรารถนาจะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘