พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 211-215

                                                            หน้าที่ ๒๑๑

                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า โอวาท ได้แก่ ครุธรรม ๘
                ที่ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วม ได้แก่ กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน
ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน.
                พอทอดธุระว่า จักไม่ไปเพื่อโอวาทก็ดี เพื่อธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                อนาปัตติวาร
                [๓๕๗] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                อารามวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
                                __________________________


                                                            หน้าที่ ๒๑๒

                                อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป
                [๓๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ถามอุโบสถก็มี ไม่ขอโอวาทก็มี.
ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ถามอุโบสถและไม่ขอ
โอวาทเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลาย
ไม่ถามอุโบสถและไม่ขอโอวาท จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ถาม
อุโบสถ ไม่ขอโอวาท การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๑๔. ๙. อนึ่ง ทุกๆ ระยะกึ่งเดือน ภิกษุณีพึงหวังเฉพาะธรรม ๒ ประการ จาก
ภิกษุสงฆ์ คือการถามอุโบสถ ๑ การเข้าไปขอโอวาท ๑ เมื่อฝ่าฝืนธรรม ๒ อย่างนั้น เป็น
ปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๕๙] บทว่า ทุกๆ ระยะกึ่งเดือน คือ ทุกๆ วันที่มีอุโบสถ.
                ที่ชื่อว่า อุโบสถ ได้แก่ อุโบสถ ๒ อย่าง คือ อุโบสถมีในวัน ๑๔ ค่ำ ๑ อุโบสถมี
ในวัน ๑๕ ค่ำ ๑


                                                            หน้าที่ ๒๑๓

                ที่ชื่อว่า โอวาท ได้แก่ ครุธรรม ๘
                พอทอดธุระว่า จักไม่ถามอุโบสถก็ดี จักไม่ขอโอวาทก็ดี ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                อนาปัตติวาร
                [๓๖๐] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
                                __________________________


                                                            หน้าที่ ๒๑๔

                                อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
                                เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
                [๓๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ให้บ่งฝีอันเกิด
ในร่มผ้า. ครั้นแล้วบุรุษนั้นได้พยายามประทุษร้ายภิกษุณีรูปนั้น นางได้ส่งเสียงขึ้น. ภิกษุณีทั้งหลาย
ได้พากันวิ่งเข้าไปถามภิกษุณีนั้นว่า แม่เจ้าส่งเสียงเรื่องอะไรกัน เมื่อถูกถาม นางได้เล่าเรื่องนั้นแก่
เหล่าภิกษุณี.
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีกับบุรุษ
หนึ่งต่อหนึ่ง จึงได้ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้าเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีกับบุรุษ
หนึ่งต่อหนึ่ง ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้า จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง
จึงได้ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้าเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๑๑๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวสงฆ์หรือคณะ กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ให้
บ่งก็ดี ผ่าก็ดี ชะก็ดี ทาก็ดี พันก็ดี แกะก็ดี ซึ่งฝีหรือบาดแผลอันเกิดในร่มผ้า เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๓๖๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...


                                                            หน้าที่ ๒๑๕

                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า ร่มผ้า ได้แก่ อวัยวะใต้นาภีลงไป เหนือเข่าขึ้นมา.
                บทว่า เกิด คือ เกิดขึ้นในบริเวณนั้น.
                ที่ชื่อว่า ฝี ได้แก่ ฝีชนิดใดชนิดหนึ่ง.
                ที่ชื่อว่า แผล ได้แก่แผลชนิดใดชนิดหนึ่ง.
                บทว่า ไม่บอกกล่าว คือ ไม่แจ้งให้ทราบ.
                ที่ชื่อว่า สงฆ์ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์.
                ที่ชื่อว่า คณะ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีหลายรูป.
                ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่เปรตผู้ชาย
                ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้สามารถเพื่อประทุษร้ายได้.
                บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.
                บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง ภิกษุณีรูปหนึ่ง.
                สั่งว่า จงบ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบ่งเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                สั่งว่า จงผ่า ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผ่าเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                สั่งว่า จงชะ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อชะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                สั่งว่า จงทา ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อทาเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                สั่งว่า จงพัน ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อพันเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                สั่งว่า จงแกะ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อแกะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                อนาปัตติวาร
                [๓๖๓] บอกกล่าวแล้ว ให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะ ให้ทา ให้พัน หรือให้แกะ ๑ มีสตรี
ผู้รู้ความอยู่เป็นเพื่อน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
                                ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖ จบ.
                                ____________________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘