พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 201-205

                                                            หน้าที่ ๒๐๑

                                                                รู้ ว่าเห็น
                รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ...,
ด้วยอาการ ๕ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ...,  ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                รู้ ว่าได้ยิน
                รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๔ อย่าง ...,
ด้วยอาการ ๕ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๖ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๗ อย่าง, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                รู้ ว่าทราบ
                รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๔ อย่าง ...,
ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๗ อย่าง ...,  ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                รู้ ว่าเห็น และได้ยิน
                รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...,  ด้วยอาการ
๔ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๕ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๖ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                                                รู้ ว่าเห็น และทราบ
                รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๔
อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๕ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๖ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                                                รู้ ว่าเห็น ได้ยิน และทราบ
                รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...,  ด้วย
อาการ ๔ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๕ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๖ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๗ อย่าง ...,
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                เห็น-สงสัย
                [๑๘๐] เห็น ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าเห็น จำไม่ได้ว่าเห็น หลงลืมว่าเห็น รู้อยู่
กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าเห็น และได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๔ อย่าง ...,  ด้วยอาการ
๕ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๖ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๗ อย่าง ...,  ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๒๐๒

                ...  ข้าพเจ้าเห็น และทราบ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าเห็น และรู้ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และรู้ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                ได้ยิน - สงสัย
                ได้ยิน ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าได้ยิน จำไม่ได้ว่าได้ยิน หลงลืมว่าได้ยิน รู้อยู่
กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้าได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...,  ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วย
อาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าได้ยิน และรู้ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าได้ยิน และเห็น ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และรู้ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และเห็น ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ รู้ และเห็น ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                ทราบ - สงสัย
                ทราบ ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่าทราบ จำไม่ได้ว่าทราบ หลงลืมว่าทราบ รู้อยู่กล่าว
เท็จว่า ข้าพเจ้าทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕
อย่าง ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าทราบ และเห็น ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าทราบ และได้ยิน ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าทราบ รู้ และเห็น ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าทราบ รู้ และได้ยิน ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                รู้ - สงสัย
                รู้ ภิกษุสงสัย กำหนดไม่ได้ว่ารู้ จำไม่ได้ว่ารู้ หลงลืมว่ารู้ รู้อยู่กล่าวเท็จว่า ข้าพเจ้ารู้
และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง ..., ด้วยอาการ
๖ อย่าง ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๒๐๓

                ...  ข้าพเจ้ารู้ และได้ยิน ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้ารู้ และทราบ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้ารู้ เห็น และได้ยิน ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้ารู้ เห็น และทราบ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ...  ข้าพเจ้ารู้ เห็น ได้ยิน และทราบ ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๑๘๑] ภิกษุพูดพลั้ง ๑, ภิกษุพูดพลาด ๑, [ชื่อว่าพูดพลั้ง คือพูดเร็วไป ชื่อว่าพูดพลาด
คือตั้งใจว่าจักพูดคำอื่น แต่กลับพูดไปอีกอย่าง] ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้อง
อาบัติแล.
                                                มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
                                                ______________


                                                            หน้าที่ ๒๐๔

                                                ๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๑๘๒] โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีล
เป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือ ด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง
ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง
คำด่าที่ทรามบ้าง.
                บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์ ทะเลาะกับภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จึงได้
กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่าสบประมาทกระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์-
ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทราม
บ้างเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า จริงหรือภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ
ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่า
สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง
รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้
ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่า
สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง


                                                            หน้าที่ ๒๐๕

รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง? การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...,
ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้:-
                                                เรื่องโคนันทิวิสาล
                [๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว. พราหมณ์คนหนึ่งในเมืองตักกสิลา
มีโคถึกตัวหนึ่งชื่อนันทิวิสาล. ครั้งนั้นโคถึกชื่อนันทิวิสาล ได้กล่าวคำนี้กระพราหมณ์นั้นว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้า
จักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย จึงพราหมณ์นั้นได้ทำการพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า
โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพราหมณ์ได้ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่มให้เนื่องกัน เทียมโคถึก
นันทิวิสาลเสร็จแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า จงฉุดไป เจ้าโคโกง จงลากไป เจ้าโคโกง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น โคถึกนันทิวิสาลได้ยืนอยู่ในที่เดิมนั่นเอง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พราหมณ์นั้นแพ้พนัน เสียทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์แล้ว
ได้ซบเซา.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมา โคถึกนันทิวิสาลได้ถามพราหมณ์นั้นว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์
เหตุไรท่านจึงซบเซา?
                พ. ก็เพราะเจ้าทำให้เราต้องแพ้ เสียทรัพย์ไป ๑,๐๐๐ กษาปณ์ นั่นละซิ เจ้าตัวดี.
                น. ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ก็ท่านมาเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่าโกงทำไมเล่า?
ขอท่านจงไปอีกครั้งหนึ่ง จงพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้า
จักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้ แต่อย่าเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่าโกง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้นแล พราหมณ์นั้นได้พนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐
กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้. ครั้นแล้วได้ผูกเกวียน
๑๐๐ เล่มให้เนื่องกัน เทียมโคถึกนันทิวิสาลแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า เชิญฉุดไปเถิด พ่อรูปงาม
เชิญลากไปเถิด พ่อรูปงาม.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โคถึกนันทิวิสาลได้ลากเกวียน ๑๐๐ เล่ม ซึ่งผูกเนื่องกัน
ไปได้แล้ว.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘