พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หน้า 196-200

                                                            หน้าที่ ๑๙๖

ทางจัมปานคร บทจรไปโดยลำดับ ถึงจัมปานคร เข้าไปในพระพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มี-
พระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
                                                                พุทธประเพณี
                ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็น
พุทธประเพณี.
                ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสปฏิสันถารแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
ยังพอทนได้หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ พวกเธอเดินทางมามีความลำบากน้อยหรือ
และพวกเธอมาแต่ไหน?
                อา. พวกข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า และ
พวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาไม่สู้ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า วาสภคามตั้งอยู่ในกาสีชนบท พวก
ข้าพระพุทธเจ้ามาแต่วาสภคามนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอใช่ไหมที่ยกภิกษุเจ้าอาวาสเสีย?
                อา. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยกภิกษุเจ้าอาวาสเสีย เพราะเรื่องอะไร เพราะเหตุอะไร?
                อา. เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติห้าม
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่สมควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนพวกเธอจึงได้ยก
ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติเสีย เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควรเล่า การกระทำของ
พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ อันภิกษุไม่พึงยกเสีย
เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร รูปใดยกเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ทันใดภิกษุเหล่านั้นลุกจากที่นั่ง ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าซบเศียรลงที่พระยุคลบาทของ
พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า โทษที่ล่วงเกินได้ล่วง


                                                            หน้าที่ ๑๙๗

พวกข้าพระพุทธเจ้าผู้เขลา ผู้หลง ไม่ฉลาด เพราะพวกข้าพระพุทธเจ้าได้ยกภิกษุที่บริสุทธิ์หาอาบัติ
มิได้เสีย เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณารับโทษ
ที่ล่วงเกิน เพื่อความสำรวมต่อไป พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เอาเถิด โทษที่ล่วงเกินได้ล่วงพวกเธอผู้เขลา
ผู้หลง ไม่ฉลาด เพราะพวกเธอได้ยกภิกษุที่บริสุทธิ์ หาอาบัติมิได้เสีย เพราะเรื่องไม่สมควร
เพราะเหตุไม่สมควร แต่เพราะพวกเธอเห็นโทษล่วงเกิน โดยความเป็นโทษล่วงเกิน แล้วทำ
คืนตามธรรม เรารับโทษนั้นของพวกเธอละ แท้จริง ข้อที่ภิกษุเห็นโทษล่วงเกิน โดยความเป็น
โทษล่วงเกิน แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นั่นเป็นความเจริญในอารยะวินัย.
                                                                อุกเขปนียกรรม
                [๑๗๕] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายในเมืองจัมปา ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็น
วรรคโดยไม่เป็นธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียง โดยไม่เป็นธรรม ทำกรรมเป็นวรรคโดยธรรม ทำ
กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียว
เสียบ้าง รูปเดียวยกภิกษุ ๒ รูปเสียบ้าง รูปเดียวยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง รูปเดียวยกสงฆ์เสีย
บ้าง สองรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง สองรูปยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง สองรูปยกภิกษุหลายรูป
เสียบ้าง สองรูปยกสงฆ์เสียบ้าง หลายรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง หลายรูปยกภิกษุสองรูปเสีย
บ้าง หลายรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง หลายรูปยกสงฆ์เสียบ้าง สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายในเมือง
จัมปา จึงได้กระทำกรรมเห็นปานนี้เล่า คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม .... สงฆ์ต่อสงฆ์ยก
กันเสียบ้าง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลาย
ในเมืองจัมปาทำกรรมเห็นปานนี้ คือทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม .... สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสีย
บ้าง จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


                                                            หน้าที่ ๑๙๘

                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน .... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ว่าดังนี้:-
                                                                กรรมที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้
                [๑๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรมใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุรูปเดียวยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุรูปเดียวยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุสองรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุสองรูปยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุสองรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุสองรูปยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุหลายรูปยกภิกษุรูปเดียวเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุหลายรูปยกภิกษุสองรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุหลายรูปยกภิกษุหลายรูปเสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ภิกษุหลายรูปยกสงฆ์เสียบ้าง ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                สงฆ์ต่อสงฆ์ยกกันเสียบ้าง ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ.
                                                                กรรม ๔ ประเภท
                [๑๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี ๔ ประเภท คือกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ๑
กรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ๑ กรรมเป็นวรรคโดยธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม ๑


                                                            หน้าที่ ๑๙๙

                                                                อธิบายกรรม ๔ ประเภท
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อว่า
กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม เพราะเป็นวรรค กรรมเห็นปานนี้ไม่ควรทำ และ
เราก็ไม่อนุญาต.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรมนี้ ชื่อ
ว่ากำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะไม่เป็นธรรม กรรมเห็นปานนี้ไม่ควรทำและเราก็ไม่อนุญาต.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่เป็นวรรคโดยธรรมนี้ ชื่อว่ากำเริบ
ไม่ควรแก่ฐานะ เพราะเป็นวรรค กรรมเห็นปานนี้ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรมนี้ ชื่อว่าไม่
กำเริบ ควรแก่ฐานะ เพราะเป็นธรรม เพราะพร้อมเพรียง กรรมเห็นปานนี้ควรทำ และเราก็
อนุญาต.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังกล่าวนั้นแล พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แหละว่า
พวกเราจักทำกรรมที่พร้อมเพรียงโดยธรรม.
                                                พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมหลายอย่าง
                [๑๗๘] โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดย
ไม่เป็นธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ทำกรรมเป็นวรรคโดยธรรม ทำกรรมเป็น
วรรคโดยเทียมธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ทำกรรมบกพร่องด้วยญัตติแต่สมบูรณ์
ด้วยอนุสาวนาบ้าง ทำกรรมบกพร่องด้วยอนุสาวนาแต่สมบูรณ์ด้วยญัตติบ้าง ทำกรรมบกพร่อง
ทั้งญัตติบกพร่องทั้งอนุสาวนาบ้าง ทำกรรมเว้นจากธรรมบ้าง ทำกรรมเว้นจากวินัยบ้าง ทำกรรม
เว้นจากสัตถุศาสน์บ้าง ทำกรรมที่ถูกค้านแล้วและขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะบ้าง
                บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .... เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึง
ได้ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม .... ทำกรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและ
ขืนทำ ไม่เป็นธรรมกำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะบ้างเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุฉัพพัคคีย์
ทำกรรมเห็นปานนี้ คือ ทำกรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม .... ทำกรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ
ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะบ้างจริงหรือ?


                                                            หน้าที่ ๒๐๐

                ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ว่าดังนี้:-
                                                                กรรมที่ใช้ไม่ได้
                [๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยไม่เป็นธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมพร้อมเพรียงโดยเทียมธรรม ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมบกพร่องด้วยญัตติ สมบูรณ์ด้วยอนุสาวนา ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมบกพร่องด้วยอนุสาวนาสมบูรณ์ด้วยญัตติ ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมบกพร่องทั้งญัตติ บกพร่องทั้งอนุสาวนา ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                กรรมแม้แผกจากธรรม ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                กรรมแม้แผกจากวินัย ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                กรรมแม้แผกจากสัตถุศาสน์ ก็ใช้ไม่ได้ และไม่ควรทำ
                ถ้ากรรมที่ถูกคัดค้านแล้วและขืนทำ ไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ก็ใช้ไม่ได้
และไม่ควรทำ.
                                                                กรรม ๖ ประเภท
                [๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมนี้มี ๖ ประเภท คือ กรรมไม่เป็นธรรม ๑ กรรมเป็น
วรรค ๑ กรรมพร้อมเพรียง ๑ กรรมเป็นวรรคโดยเทียมธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยเทียม
ธรรม ๑ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม ๑.
                                                                อธิบายกรรมไม่เป็นธรรม
                [๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่เป็นธรรม เป็นไฉน?
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ภิกษุทำกรรมด้วยตั้งญัตติอย่างเดียว และไม่สวด
กรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘