พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หน้า 191-195

                                                            หน้าที่ ๑๙๑

                                                                หัวข้อประจำขันธกะ
                [๑๗๓] ๑. เรื่องคนมั่งมีชาวพระนครราชคฤห์ เห็นหญิงงามเมืองในพระนครเวสาลี
กลับมาพระนครราชคฤห์ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้พระราชาทรงทราบ  ๒. เรื่องบุตรชายของ
นางสาลวดี ซึ่งภายหลังเป็นโอรสของเจ้าชายอภัย เพราะเหตุที่ยังมีชีวิต เจ้าชายจึงประทานชื่อว่า
ชีวก ๓. เรื่องชีวกเดินทางไปเมืองตักกสิลา เรียนวิชาแพทย์สำเร็จเป็นหมอใหญ่ได้รักษาโรค
ซึ่งเป็นอยู่ถึง ๗ ปี หายด้วยการให้นัตถุ์ยา ๔. เรื่องรักษาโรคริดสีดวงงอกของพระเจ้าพิมพิสาร
หายด้วยการทายา ๕. เรื่องพระราชทานตำแหน่งแพทย์หลวงประจำพระองค์ พระสนม นาง
กำนัล พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ๖. เรื่องรักษาเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ ๗. เรื่องรักษา
เนื้องอกในลำไส้ ๘. เรื่องรักษาโรคสำคัญของพระเจ้าปัชโชตหายด้วยให้เสวยพระโอสถผสม
เปรียง ได้รับพระราชทานผ้าคู่สิไวยกะเป็นรางวัล ๙. เรื่องสรงพระกายของพระผู้มีพระภาค
ซึ่งหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษให้สดชื่น ๑๐. หมอชีวกทูลถวายพระโอสถ ๓๐ ครั้ง โดย
อบก้านอุบล ๓ ก้านด้วยยา ๑๑. เมื่อพระตถาคตมีพระกายเป็นปกติแล้ว หมอชีวกทูลขอ
ประทานพร ๑๒. ทรงรับผ้าคู่สิไวยกะ ๑๓. พระพุทธานุญาตจีวรที่คฤหัสถ์ถวาย ๑๔. เรื่อง
จีวรบังเกิดมากในพระนครราชคฤห์ ๑๕. เรื่องพระพุทธานุญาตผ้าปาวาร ผ้าไหม ผ้าโกเชาว์
๑๖. เรื่องผ้ากัมพลมีราคากึ่งกาสี ๑๗. เรื่องผ้าชนิดดี ชนิดเลว ทรงสรรเสริญความสันโดษ
๑๘. เรื่องคอยและไม่คอย และก่อนและหลังและพร้อมกันทำกติกากันไว้ ๑๙. เรื่องทายกนำ
จีวรกลับคืนไป ๒๐. เรื่องสมมติเรือนคลัง ๒๑. เรื่องรักษาผ้าในเรือนคลัง ๒๒. เรื่อง
สั่งย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ๒๓. เรื่องจีวรบังเกิดมาก ๒๔. เรื่องแจกกันส่งเสียงโกลาหล
๒๕. เรื่องจะแบ่งกันอย่างไร ๒๖. เรื่องจะให้แบ่งกันอย่างไร ๒๗. เรื่องแลกส่วนของตน
๒๘. เรื่องให้ส่วนพิเศษ ๒๙. เรื่องจะให้ส่วนจีวรอย่างไร ๓๐. เรื่องย้อมจีวรด้วยโคมัย
๓๑. เรื่องย้อมด้วยน้ำเย็นและน้ำร้อน ๓๒. เรื่องน้ำย้อมล้น ๓๓. เรื่องไม่รู้ว่าน้ำย้อมสุก
หรือไม่สุก ๓๔. เรื่องยกหม้อน้ำย้อมลง ๓๕. เรื่องไม่มีภาชนะย้อม ๓๖. เรื่องขยำจีวร
ในถาด ๓๗. เรื่องตากจีวรบนพื้นดิน ๓๘. เรื่องปลวกกัด ๓๙. เรื่องตากจีวรตรงกลาง
๔๐. เรื่องชายจีวรชำรุด ๔๑. เรื่องน้ำย้อมหยดออกชายเดียว ๔๒. เรื่องจีวรแข็ง ๔๓. เรื่อง
จีวรกระด้าง ๔๔. เรื่องใช้จีวรไม่ได้ตัด ๔๕. เรื่องตัดจีวรตามแบบคันนา ๔๖. เรื่อง


                                                            หน้าที่ ๑๙๒

พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นพวกภิกษุแบกห่อจีวร ๔๗. เรื่องพระศากยมุนีทรงทดลองแล้ว
ทรงอนุญาตผ้า ๓ ผืน ๔๘. เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทรงอดิเรกจีวรสำรับอื่นเข้าบ้าน ๔๙. เรื่อง
อดิเรกจีวรเกิดขึ้น ๕๐. เรื่องอันตรวาสกขาดทะลุ ๕๑. เรื่องฝนตกพร้อมกัน ๔ ทวีป
๕๒. เรื่องนางวิสาขาขอประทานพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝน อาคันตุกภัตร คมิกภัตร คิลานภัตร
คิลานุปัฏฐากภัตร เภสัช ยาคูประจำ และถวายอุทกสาฎกแก่ภิกษุณีสงฆ์ ๕๓. เรื่องฉันโภชนะ
ประณีต ๕๔. เรื่องผ้าปูนั่งเล็กเกินไป ๕๕. เรื่องฝีดาดหรืออีสุกอีใส ๕๖. เรื่องผ้าเช็ดหน้า
เช็ดปาก ๕๗. เรื่องผ้าเปลือกไม้ ๕๘. เรื่องไตรจีวรบริบูรณ์ ๕๙. เรื่องอธิษฐาน ๖๐. เรื่อง
จีวรขนาดเล็กเท่าไรควรวิกัป ๖๑. เรื่องผ้าอุตราสงค์ที่ทำด้วยผ้าบังสุกุลหนัก ๖๒. เรื่อง
ชายสังฆาฏิไม่เสมอกัน ๖๓. เรื่องด้ายลุ่ย ๖๔. เรื่องแผ่นผ้าสังฆาฏิลุ่ย ๖๕. เรื่องผ้าไม่พอ
๖๖. เรื่องผ้าดาม ๖๗. เรื่องจีวรเกิดขึ้นมาก ๖๘. เรื่องเก็บจีวรไว้ในวิหารอันธวัน ๖๙. เรื่อง
เผลอสติ ๗๐. เรื่องภิกษุรูปเดียวจำพรรษา ๗๑. เรื่องภิกษุอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล ๗๒. เรื่อง
พระเถระสองพี่น้อง ๗๓. เรื่องภิกษุ ๓ รูป จำพรรษาในพระนครราชคฤห์ ๗๔. เรื่อง
พระอุปนันทะจำพรรษาแล้วไปวัดใกล้บ้าน ได้รับส่วนแบ่ง แล้วกลับมาพระนครสาวัตถีตามเดิม
๗๕. เรื่องพระอุปนันทะจำพรรษา ๒ วัด ๗๖. เรื่องภิกษุอาพาธเป็นโรคท้องร่วง ๗๗. เรื่อง
ภิกษุอาพาธ ๗๘. เรื่องภิกษุและสามเณร ๒ รูปอาพาธ ๗๙. เรื่องเปลือยกาย ๘๐. เรื่อง
นุ่งผ้าคากรอง ๘๑. เรื่องนุ่งผ้าเปลือกไม้กรอง ๘๒. เรื่องนุ่งผ้าผลไม้กรอง ๘๓. เรื่อง
นุ่งผ้ากัมพลทำด้วยผมคน ๘๔. เรื่องนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ ๘๕. เรื่องนุ่งผ้ากัมพลทำด้วย
ขนปีกนกเค้า ๘๖. เรื่องนุ่งหนังเสือ ๘๗. เรื่องนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก ๘๘. เรื่อง
นุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ ๘๙. เรื่องทรงจีวรสีล้วนๆ คือ สีคราม สีแดง สีบานเย็น สีแสด
สีชมภู ทรงจีวรไม่ตัดชาย มีชายยาว มีชายเป็นลายดอกไม้ มีชายเป็นแผ่น สวมเสื้อ สวมหมวก
ใช้ผ้าโพกศีรษะ ๙๐. เรื่องจีวรยังไม่เกิดขึ้น ภิกษุหลีกไปเสีย ๙๑. เรื่องสงฆ์แตกกัน
๙๒. เรื่องถวายจีวรแก่สงฆ์ในฝ่ายหนึ่ง ๙๓. เรื่องท่านพระเรวตะฝากจีวร ๙๔. เรื่องถือวิสาสะ
๙๕. เรื่องอธิษฐาน ๙๖. เรื่องมาติกาของจีวร ๘ ข้อ.
                                                                ____________________


                                                            หน้าที่ ๑๙๓

                                                                จัมเปยยขันธกะ
                                                                เรื่องพระกัสสปโคตร
                [๑๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ริมฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา
เขตจัมปานคร ครั้งนั้น บ้านวาสภคามตั้งอยู่ในกาสีชนบท พระชื่อกัสสปโคตรเป็นเจ้าอาวาส
ในวาสภคามนั้นฝักใฝ่ในการก่อสร้าง ถึงความขวนขวายว่า ทำไฉน ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา
พึงมา ที่มาแล้วพึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้พึงถึงความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ สมัยต่อมา ภิกษุ
หลายรูป เที่ยวจาริกในกาสีชนบท ได้ไปถึงวาสภคาม พระกัสสปโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้นมา
แต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับบาตรจีวร
นิมนต์ให้ฉันน้ำ ได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร จึง
พระอาคันตุกะเหล่านั้น ได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอาวาสรูปนี้ดีมาก ได้จัดแจง
การสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ผิฉะนั้น พวกเราจงพักอยู่ใน
วาสภคามนี้แหละ ครั้นแล้วได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นนั่นเอง จึงพระกัสสปโคตรได้มีความปริวิตก
ความลำบากโดยฐานเป็นอาคันตุกะ ของพระอาคันตุกะเหล่านี้ สงบหายแล้ว พระอาคันตุกะ
ที่ไม่ชำนาญในที่โคจรเหล่านี้ บัดนี้ชำนาญในที่โคจรแล้ว อันการทำความขวนขวายในสกุลคนอื่น
จนตลอดชีวิต ทำได้ยากมาก และการขอก็ไม่เป็นที่พอใจของคนทั้งหลาย ถ้ากระไรเราพึงเลิก
ทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร ดังนี้ แล้วได้เลิกทำความขวนขวายในยาคู
ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร
                จึงพระอาคันตุกะเหล่านั้นได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อนแล พระเจ้าอาวาส
รูปนี้ จัดแจงการสรงน้ำ จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร บัดนี้เธอเลิกทำความ
ขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร อาวุโสทั้งหลาย เดี๋ยวนี้พระเจ้าอาวาสรูปนี้ชั่วเสียแล้ว
ผิฉะนั้นพวกเราจงยกพระเจ้าอาวาสนี้เสีย ต่อมาพระอาคันตุกะเหล่านั้นประชุมกันแล้ว ได้กล่าว
คำนี้ต่อพระกัสสปโคตรว่า อาวุโส เมื่อก่อนแล ท่านได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคู
ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร บัดนี้ ท่านนั้นเลิกจัดแจงยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหารเสียแล้ว
ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม?


                                                            หน้าที่ ๑๙๔

                พระกัสสปโคตรกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น.
                พระอาคันตุกะเหล่านั้น จึงได้ยกพระกัสสปโคตรเสียฐานไม่เห็นอาบัติทันที จึงพระ-
กัสสปโคตรได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เราไม่รู้ข้อนั้นว่า นั่นอาบัติหรือมิใช่อาบัติ เราต้องอาบัติแล้ว
หรือไม่ต้อง ถูกยกเสียแล้วหรือไม่ถูกยกเสีย โดยธรรมหรือไม่เป็นธรรม กำเริบหรือไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะหรือไม่ควรแก่ฐานะ ถ้ากระไร เราพึงไปจัมปานครแล้วทูลถามเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาค. ครั้นแล้วเก็บเสนาสนะถือบาตรจีวรเดินทางไปจัมปานคร บทจรไปโดยลำดับถึงจัมปานคร
เข้าไปในพระพุทธสำนัก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
                                                                พุทธประเพณี
                ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็น
พุทธประเพณี.
                ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสปฏิสันถารต่อพระกัสสปโคตรว่า ภิกษุเธอยังพอทนได้
หรือ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ เธอเดินทางมามีความลำบากน้อยหรือ และเธอมาจากไหน?
                พระกัสสปโคตรกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนอยู่ได้ ยังพอให้อัตภาพเป็นไปได้
พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาไม่สู้ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า วาสภคามตั้งอยู่ใน
กาสีชนบท ข้าพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าอาวาสในวาสภคามนั้น ฝักใฝ่ในการก่อสร้าง ถึงความขวนขวาย
ว่า ทำไฉน ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา พึงมา ที่มาแล้วพึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้
พึงถึงความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเที่ยวจาริกในกาสีชนบทได้ไปถึงวาสภคาม
ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นภิกษุเหล่านั้นกำลังมาแต่ไกลเทียว จึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ได้ลุกไปรับบาตรจีวร นิมนต์ให้ฉันน้ำ ได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่ง
ยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร จึงพระอาคันตุกะเหล่านั้นได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
พระเจ้าอาวาสรูปนี้ดีมาก ได้จัดแจงการสรงน้ำ ได้จัดแจงกระทั่งยาคูของควรเคี้ยว ภัตตาหาร
ผิฉะนั้น พวกเราจงพักอยู่ในวาสภคามนี้แหละ ครั้นแล้วได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นนั่นเอง
ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า ความลำบากโดยฐานะเป็นอาคันตุกะของพระอาคันตุกะ
เหล่านี้ สงบหายแล้ว ท่านพระอาคันตุกะที่ไม่ชำนาญในที่โคจรเหล่านี้ บัดนี้เป็นผู้ชำนาญในที่


                                                            หน้าที่ ๑๙๕

โคจรแล้ว อันการทำความขวนขวายในสกุลคนอื่นจนตลอดชีวิต ทำได้ยากมาก และการขอก็ไม่
เป็นที่พอใจของคนทั้งหลาย ถ้ากระไร เราพึงเลิกทำความขวนขวายในยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร
ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้เลิกทำความขวนขวายในยาคูของควรเคี้ยว ภัตตาหารแล้ว จึงพระอาคันตุกะ
เหล่านั้น ได้หารือกันดังนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อนแลพระเจ้าอาวาสรูปนี้จัดแจงการสรงน้ำ
จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร บัดนี้ เธอเลิกจัดแจงยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร
อาวุโสทั้งหลาย เดี๋ยวนี้พระเจ้าอาวาสรูปนี้ชั่วเสียแล้ว ผิฉะนั้น พวกเราจงยกพระเจ้าอาวาสรูปนี้
เสีย ต่อมาจึงประชุมกัน ได้กล่าวคำนี้กะข้าพระพุทธเจ้าว่า เมื่อก่อนแล ท่านได้จัดแจงการสรงน้ำ
ได้จัดแจงกระทั่งยาคู ของควรเคี้ยว ภัตตาหาร บัดนี้ ท่านนั้นเลิกจัดแจงยาคู ของควรเคี้ยว
ภัตตาหารเสียแล้ว อาวุโส ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า
อาวุโสทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น พระอาคันตุกะเหล่านั้นจึงยกข้าพระพุทธเจ้าเสียฐาน
ไม่เห็นอาบัติทันที ข้าพระพุทธเจ้าได้มีความปริวิตกว่า เราไม่รู้ข้อนั้นว่า นั่นอาบัติหรือมิใช่อาบัติ
เราต้องอาบัติแล้วหรือไม่ต้อง ถูกยกเสียแล้วหรือไม่ถูกยกเสีย โดยธรรมหรือไม่เป็นธรรม
กำเริบหรือไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะหรือไม่ควรแก่ฐานะ ถ้ากระไร เราพึงไปจัมปานคร แล้วทูลถาม
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ข้าพระพุทธเจ้ามาจากวาสภคามนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุ นั้นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ เธอไม่ต้องอาบัติ
เธอต้องอาบัติหามิได้ เธอไม่ถูกยกเสีย เธอถูกยกเสียหามิได้ เธอถูกยกเสียโดยกรรมไม่เป็นธรรม
กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ ไปเถิด ภิกษุ เธอจงอาศัยอยู่ในวาสภคามนั้นแหละ.
                พระกัสสปโคตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสว่า เป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า แล้วลุกจาก
ที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไปวาสภคาม.
                ครั้งนั้น ความรำคาญ ความเดือดร้อน ได้มีแก่พระอาคันตุกะเหล่านั้นว่า มิใช่ลาภ
ของพวกเราหนอ ลาภของพวกเราไม่มีหนอ พวกเราได้ชั่วแล้วหนอ พวกเราไม่ได้ดีแล้วหนอ
เพราะพวกเรายกภิกษุผู้บริสุทธิ์หาอาบัติมิได้เสีย เพราะเรื่องไม่ควร เพราะเหตุไม่ควร อาวุโส
ทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจงไปจัมปานครแล้ว แสดงโทษที่ล่วงเกิน โดยความเป็นโทษล่วงเกิน
ในสำนักพระผู้มีพระภาค. ต่อมาพระอาคันตุกะเหล่านั้น เก็บงำเสนาสนะ ถือบาตร จีวรเดินไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘