พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 191-195


                                                            หน้าที่ ๑๙๑

          พระบัญญัติ
     ๑๐๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่มอบหมายห้องที่อยู่หลีกไปสู่จาริก เป็นปาจิตตีย์.
          เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.
          สิกขาบทวิภังค์
     [๓๑๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
     บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
     ที่ชื่อว่า ห้องที่อยู่ ได้แก่ อาคารที่เรียกกันว่าห้อง มีบานประตูติด.
     คำว่า ไม่มอบหมาย ... หลีกไปสู่จาริก นั้น ความว่า ไม่มอบหมายแก่ภิกษุณี สิกขมานา
หรือสามเณรี เมื่อเดินพ้นเขตห้องที่อยู่ซึ่งมีเครื่องล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินพ้นอุปจารห้องที่อยู่
ซึ่งไม่มีเครื่องล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
          บทภาชนีย์
          ติกะปาจิตตีย์
     [๓๒๐] มิได้มอบหมาย ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้มอบหมาย หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
     มิได้มอบหมาย ภิกษุณีมีความสงสัย หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
     มิได้มอบหมาย ภิกษุณีสำคัญว่ามอบหมายแล้ว หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
          ติกะทุกกฏ
     ห้องที่อยู่มิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมิได้มอบหมาย หลีกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
     ห้องที่อยู่ซึ่งมิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมอบหมายแล้ว สำคัญว่ามิได้มอบหมาย ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
     ห้องที่อยู่ซึ่งมิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมอบหมายแล้ว มีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
     ห้องที่อยู่ซึ่งมิได้ติดบานประตู ภิกษุณีมอบหมายแล้ว สำคัญว่า มอบหมายแล้ว ไม่ต้อง
อาบัติ.
          อนาปัตติวาร
     [๓๒๑] มอบหมายแล้วหลีกไป ๑ หลีกไปในเมื่อมีอันตราย ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑
อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.


                                                            หน้าที่ ๑๙๒

          จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๙
          เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
     [๓๒๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์พากันเรียนติรัจฉานวิชา. คนทั้งหลาย
พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงเรียนติรัจฉานวิชา เหมือนสตรี
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า.
     ภิกษุณีทั้งหลาย ได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้เรียนติรัจฉานวิชาเล่า ...
          ทรงสอบถาม
     พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์
พากันเรียนติรัจฉานวิชา จริงหรือ?
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
          ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากัน
เรียนติรัจฉานวิชาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ...
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
          พระบัญญัติ
     ๑๐๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด เรียนติรัจฉานวิชา เป็นปาจิตตีย์.
          เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.
          สิกขาบทวิภังค์
     [๓๒๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
     บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่
ทรงประสงค์ในอรรถนี้.


                                                            หน้าที่ ๑๙๓

     ที่ชื่อว่า ติรัจฉานวิชา ได้แก่ ศิลปวิทยาการนอกพระศาสนาชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่
กอปรด้วยประโยชน์.
     บทว่า เรียน คือ เรียนโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท เรียนโดยอักขระ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ตัวอักขระ.
          อนาปัตติวาร
     [๓๒๔] เรียนหนังสือ ๑ เรียนวิชาท่องจำ ๑ เรียนวิชาป้องกันเพื่อประสงค์คุ้มครองตัว ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
          ___________________________


                                                            หน้าที่ ๑๙๔

          จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
          เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
     [๓๒๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์พากันสอนติรัจฉานวิชา. คนทั้ง
หลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้สอนติรัจฉานวิชา เหมือน
เหล่าสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า?
     ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้สอนติรัจฉานวิชาเล่า ...
          ทรงสอบถาม
     พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์
สอนติรัจฉานวิชา จริงหรือ?
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
          ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากัน
สอนติรัจฉานวิชาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ...
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
          พระบัญญัติ
     ๑๐๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด สอนติรัจฉานวิชา เป็นปาจิตตีย์.
          เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.
          สิกขาบทวิภังค์
     [๓๒๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
     บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.


                                                            หน้าที่ ๑๙๕

     ที่ชื่อว่า ติรัจฉานวิชา ได้แก่ ศิลปวิทยาการนอกพระศาสนาชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่
กอปรด้วยประโยชน์.
     บทว่า สอน ความว่า สอนโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท สอนโดยอักขระ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ตัวอักขระ.
          อนาปัตติวาร
     [๓๒๗] สอนหนังสือ ๑ สอนวิชาท่องจำ ๑ สอนวิชาป้องกันเพื่อประสงค์คุ้มครองตัว ๑
วิกลจริต  ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
          ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕ จบ.
          __________________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘