พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 191-195

                                                            หน้าที่ ๑๙๑

                                                                ปาจิตติยกัณฑ์
                ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ
                                                ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑
                                                ๑. มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑
                                                เรื่องพระหัตถกะศากยบุตร
                [๑๗๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระหัตถกะศากยบุตรเป็นคนพูดสับปรับ
ท่านเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อน
เรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้ว ทำให้คลาดเคลื่อน.
                พวกเดียรถีย์พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระหัตถกะศากยบุตร เจรจาอยู่กับ
พวกเรา จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าว
เท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า?.
                ภิกษุทั้งหลายได้ยินเดียรถีย์พวกนั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงเข้าไปหาพระหัตถ-
กะศากยบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วได้ถามพระหัตถกะว่า อาวุโสหัตถกะ ข่าวว่า ท่านเจรจาอยู่กับพวก
เดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จ
ทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้วทำให้คลาดเคลื่อน จริงหรือ?.
                พระหัตถกะศากยบุตรตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์เหล่านี้ เราต้อง
เอาชนะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เราไม่ควรให้ความชนะแก่เดียรถีย์พวกนั้น.
                บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระหัตถกะศากยบุตร เจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์ จึงได้กล่าว
ปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่
พูดนัดหมายไว้แล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม พระหัตถกะศากยบุตรว่า จริงหรือหัตถกะ ข่าวว่า เธอเจรจา


                                                            หน้าที่ ๑๙๒

อยู่กับพวกเดียรถีย์ กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น
กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้วทำให้คลาดเคลื่อน?.
                พระหัตถกะศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอเจรจาอยู่กับพวกเดียรถีย์
จึงได้กล่าวปฏิเสธแล้วรับ กล่าวรับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องอื่นกลบเกลื่อนเรื่องอื่น กล่าวเท็จทั้งๆ
ที่รู้อยู่ พูดนัดหมายไว้แล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว, โดยที่แท้
การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น
อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
                                                ทรงบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคครั้นทรงติเตียนพระหัตถกะศากยบุตร โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัส
โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่
สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคน
บำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่
สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น
ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม
บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน
ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๕๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ในเพราะสัมปชามุสาวาท.
                                                เรื่องพระหัตถกะศากยบุตร จบ.


                                                            หน้าที่ ๑๙๓

                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๑๗๔] ที่ชื่อว่า สัมปชานมุสาวาท ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่ง ถ้อยคำเป็นแนวทาง
การเปล่งวาจา เจตนาที่ให้เขาเข้าใจทางวาจา ของบุคคลผู้จงใจจะพูดให้คลาดจากความจริง ได้แก่
คำพูดของอนารยชน ๘ อย่าง คือ ไม่เห็น พูดว่าข้าพเจ้าเห็น ๑, ไม่ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้า
ได้ยิน ๑, ไม่ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าทราบ ๑, ไม่รู้ พูดว่าข้าพเจ้ารู้ ๑, เห็น พูดว่าข้าพเจ้าไม่เห็น ๑,
ได้ยิน พูดว่าข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ๑, ทราบ พูดว่าข้าพเจ้าไม่ทราบ ๑, รู้ พูดว่าข้าพเจ้าไม่รู้ ๑.
                                                                บทภาชนีย์
                [๑๗๕] ที่ชื่อว่า ไม่เห็น คือ ไม่เห็นด้วยตา.
                ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินด้วยหู.
                ที่ชื่อว่า ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก, ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น, ไม่ได้สัมผัสด้วยกาย.
                ที่ชื่อว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ.
                ที่ชื่อว่า เห็น คือ เห็นด้วยตา.
                ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู.
                ที่ชื่อว่า ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก, ได้ลิ้มด้วยลิ้น, ได้สัมผัสด้วยกาย.
                ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ด้วยใจ.
                                                อาการของการกล่าวเท็จๆ ทั้งที่รู้
                                                ไม่เห็น-ว่าเห็น
                [๑๗๖] ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้น
เธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ, ๒ กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ, ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว,
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ, ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ, ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว, ๔ อำพราง
ความเห็น, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ, ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ, ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว,
อำพรางความเห็น, ๕ อำพรางความถูกใจ, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๑๙๔

                ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ, ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ, ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว, ๔ อำพราง
ความเห็น, ๕ อำพรางความถูกใจ, ๖ อำพรางความชอบใจ, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ ๑ เบื้องต้นเธอรู้ว่า
จักกล่าวเท็จ, ๒ กำลังกล่าว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ, ๓ ครั้นกล่าวแล้ว ก็รู้ว่ากล่าวเท็จ, ๔ อำพราง
ความเห็น, ๕ อำพรางความถูกใจ, ๖ อำพรางความชอบใจ, ๗ อำพรางความจริง, ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                                                ไม่ได้ยิน-ว่าได้ยิน
                ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง  ...,
ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                ไม่ทราบ-ว่าทราบ
                ไม่ทราบ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง  ...,
ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ไม่รู้-ว่ารู้
                ไม่รู้ ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้ารู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๔ อย่าง  ...,
ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ..., ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                ไม่เห็น ว่าเห็น และได้ยิน
                [๑๗๗] ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็นและได้ยินด้วยอาการ ๓ อย่าง  ..., ด้วย
อาการ ๔ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ..., ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                                                ไม่เห็น ว่าเห็น และทราบ
                ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ..., ด้วย
อาการ ๔ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ..., ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                                                ไม่เห็น ว่าเห็น และรู้
                ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ..., ด้วยอาการ
๔ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ..., ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๑๙๕

                                                ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน และทราบ
                ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ...,
ด้วยอาการ ๔ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ...,
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน และรู้
                ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ..., ด้วย
อาการ ๔ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ..., ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                                ไม่เห็น ว่าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้
                ไม่เห็น ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าเห็น ได้ยิน ทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ...,
ด้วยอาการ ๔ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ...,
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และทราบ
                ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และทราบ ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ..., ด้วย
อาการ ๔ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ..., ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                                                ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และรู้
                ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ..., ด้วยอาการ
๔ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ..., ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                                                ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน และเห็น
                ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน และเห็น ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ..., ด้วย
อาการ ๔ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ..., ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                                                ไม่ได้ยิน ว่าได้ยิน ทราบ และรู้
                ไม่ได้ยิน ภิกษุรู้อยู่กล่าวเท็จว่าข้าพเจ้าได้ยิน ทราบ และรู้ ด้วยอาการ ๓ อย่าง  ...,
ด้วยอาการ ๔ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๕ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๖ อย่าง  ..., ด้วยอาการ ๗ อย่าง  ...,
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘