พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หน้า 186-190

                                                            หน้าที่ ๑๘๖

ผู้ทำลายสงฆ์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิตบ้าง ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญ
ชนกบ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาคตรัสแนะนำ ดังต่อไปนี้
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น หลีกไปเสีย
เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น สึกเสีย
ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น ปฏิญาณ
เป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณ
เป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญาณ
เป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น ปฏิญาณ
เป็นบัณเฑาะก์ .... ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่
ทันได้แบ่งกัน หลีกไปเสีย เมื่อผู้รับแทนที่สมควรมีอยู่ สงฆ์พึงให้
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่
ทันได้แบ่งกัน สึกเสีย ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณ
เป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้น แต่ยังไม่ทัน
ได้แบ่งกัน ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่าย
เพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐาน
ไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก เมื่อผู้รับแทนที่สมควร
มีอยู่ สงฆ์พึงให้
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้ว แต่ยัง
ไม่ทันได้แบ่งกัน ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ .... ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ


                                                            หน้าที่ ๑๘๗

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้ว
สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง ด้วยเปล่งวาจา
ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ นั่นเป็นของสงฆ์ฝ่ายเดียว.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้ว
สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้นเหมือนกัน ด้วย
เปล่งวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ นั่นเป็นของสงฆ์ฝ่ายเดียว.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้ว
สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง ด้วยเปล่งวาจา
ว่า ข้าพเจ้าถวายฝ่ายหนึ่ง นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายหนึ่ง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา สงฆ์
แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้น ถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้นเหมือนกัน ด้วยเปล่ง
วาจาว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ฝ่ายหนึ่ง นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายหนึ่ง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา แต่
ยังมิทันได้แบ่ง สงฆ์แตกกัน พึงแบ่งส่วนให้ภิกษุทุกรูปเท่าๆ กัน.
                                                เรื่องพระเรวตเถระฝากจีวร
                [๑๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเรวตะฝากจีวรแก่ภิกษุรูปหนึ่งไปถวายท่านพระ
สารีบุตร ด้วยสั่งว่า จงถวายจีวรผืนนี้แก่พระเถระ จึงในระหว่างทาง ภิกษุรูปนั้นได้ถือเอาจีวร
นั้นเสีย เพราะวิสาสะต่อท่านพระเรวตะ
                กาลต่อมา ท่านพระเรวตะมาพบท่านพระสารีบุตร จึงเรียนถามว่า ผมฝากจีวรมาถวาย
พระเถระ. พระเถระได้รับจีวรนั้นแล้วหรือ ขอรับ?
                ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ผมยังไม่เห็นจีวรนั้นเลย คุณ.
                จึงท่านพระเรวตะได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ผมฝากจีวรมาแก่ท่านให้ถวายพระเถระ
ไหนจีวรนั้น?
                ภิกษุนั้นตอบว่า ผมได้ถือเอาจีวรนั้นเสีย เพราะวิสาสะต่อท่าน ขอรับ.


                                                            หน้าที่ ๑๘๘

                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาคตรัสแนะนำ ดังต่อไปนี้:-
                                                                เรื่องถือวิสาสะ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่
ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง เพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง
ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงให้จีวรผืนนี้แก่
ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทาง เพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง
ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงให้จีวรผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้ฝากถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐาน
เป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้องแล้ว ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่า
ถือเอาไม่ถูกต้อง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงให้จีวรผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้รับถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐาน
เป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอา
ถูกต้อง
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า จงให้จีวรผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ทั้งสองรูปถึงมรณภาพเสียแล้ว จึง
อธิษฐานเป็นมรดกของผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐาน
ไม่ถูกต้อง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทางเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาไม่ถูก
ต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.


                                                            หน้าที่ ๑๘๙

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเสียในระหว่างทางเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง
ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้ฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้ฝากถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐานเป็น
จีวรมรดกของผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้รับ ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ผู้รับถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐาน
เป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐานถูกต้อง ถือเอาเสียเพราะวิสาสะต่อผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอา
ไม่ถูกต้อง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในข้อนี้ ภิกษุฝากจีวรแก่ภิกษุไปด้วยสั่งว่า ฉันให้จีวรผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ภิกษุผู้รับฝากทราบข่าวในระหว่างทางว่า ทั้งสองรูปถึงมรณภาพเสียแล้ว จึงอธิษฐาน
เป็นจีวรมรดกของผู้ฝาก ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของผู้รับ ชื่อว่าอธิษฐาน
ถูกต้อง.
                                                                จีวรที่เกิดขึ้นมี ๘ มาติกา
                [๑๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อจีวรเกิดขึ้นนี้ มี ๘ คือ
                ๑. ถวายแก่สีมา
                ๒. ถวายตามกติกา
                ๓. ถวายในสถานที่จัดภิกษา
                ๔. ถวายแก่สงฆ์
                ๕. ถวายแก่อุภโตสงฆ์
                ๖. ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว


                                                            หน้าที่ ๑๙๐

                ๗. ถวายเจาะจง
                ๘. ถวายแก่บุคคล
                ที่ชื่อว่า ถวายแก่สีมา คือ ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่ภายในสีมา ภิกษุเหล่านั้นพึงแบ่งกัน
                ที่ชื่อว่า ถวายตามกติกา คือ วัดมีหลายแห่ง ยอมให้มีลาภเสมอกัน เมื่อทายกถวาย
ในวัดหนึ่ง ชื่อว่าเป็นอันถวายทุกวัด
                ที่ชื่อว่า ถวายในสถานที่จัดภิกษา คือถวายในสถานที่ๆ ทายกทำสักการะประจำแก่สงฆ์
                ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ คือ สงฆ์อยู่พร้อมหน้ากันแบ่ง
                ที่ชื่อว่า ถวายแก่อุภโตสงฆ์ คือ แม้มีภิกษุมาก มีภิกษุณีรูปเดียว ก็พึงให้ฝ่ายละครึ่ง
แม้มีภิกษุณีมาก มีภิกษุรูปเดียว ก็พึงให้ฝ่ายละครึ่ง
                ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว คือภิกษุมีจำนวนเท่าใด จำพรรษาอยู่ในอาวาสนั้น
ภิกษุเหล่านั้นพึงแบ่งกัน
                ที่ชื่อว่า ถวายเจาะจง คือ ถวายเฉพาะยาคู ภัตตาหารของควรเคี้ยว จีวร เสนาสนะ
หรือเภสัช
                ที่ชื่อว่า ถวายแก่บุคคล คือ ถวายด้วยวาจาว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
                                                                จีวรขันธกะ ที่ ๘ จบ.
                                                                ในขันธกะ มี ๙๖ เรื่อง.
                                                                ______________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘