พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หน้า 181-185

                                                            หน้าที่ ๑๘๑

ไม่แสลงออกเสีย ๑ พยาบาลไข้เห็นแก่อามิส ไม่มีจิตเมตตา ๑ เป็นผู้เกลียดที่จะนำอุจจาระ
ปัสสาวะ เขฬะ หรือของที่อาเจียนออกไป ๑ เป็นผู้ไม่สามารถจะชี้แจงให้คนไข้เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาในกาลทุกเมื่อ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้
ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้แล ไม่ควรพยาบาลไข้.
                                                องค์ของภิกษุผู้เข้าใจพยาบาล ๕ อย่าง
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลไข้ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรพยาบาลไข้ คือเป็นผู้
สามารถประกอบยา ๑ รู้จักของแสลง และไม่แสลง คือกันของแสลงออก นำของไม่แสลง
เข้าไปให้ ๑ มีจิตเมตตาพยาบาลไข้ ไม่เห็นแก่อามิส ๑ เป็นผู้ไม่เกลียดที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ
เขฬะ หรือของที่อาเจียนออกไปเสีย ๑ เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงให้คนไข้ เห็นแจ้ง สมาทาน
อาจหาญ ร่าเริง  ด้วยธรรมีกถา ในกาลทุกเมื่อ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพยาบาลไข้ที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรพยาบาลไข้.
                                เรื่องให้บาตรจีวรของผู้ถึงมรณะภาพแก่คิลานุปัฏฐาก
                [๑๖๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไกลไปในโกศลชนบทได้เข้าไปอยู่อาวาส
แห่งหนึ่ง บรรดาภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งอาพาธ จึงภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษาตกลงกันดังนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญการพยาบาลภิกษุอาพาธ ผิฉะนั้น พวกเราจง
พยาบาลภิกษุรูปนี้เถิด แล้วพากันพยาบาลภิกษุอาพาธนั้น เธออันภิกษุเหล่านั้นพยาบาลอยู่ได้ถึง
มรณภาพ  จึงภิกษุเหล่านั้นถือบาตรจีวรของเธอไปพระนครสาวัตถี แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุ
ผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตร แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้.
                                                                                วิธีให้
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น
พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่านเจ้าข้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของท่าน
                ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-


                                                            หน้าที่ ๑๘๒

                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้ไตรจีวรและบาตร
ของเธอ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ไตรจีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้
พยาบาลไข้ นี้เป็นญัตติ
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้ไตรจีวรและบาตร
ของเธอ สงฆ์ให้ไตรจีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ การให้ไตรจีวรและบาตรนี้
แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงพูด.
                สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
                                                                สามเณรถึงมรณภาพ
                สมัยต่อมา สามเณรรูปหนึ่งถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสามเณรถึงมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร
แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบจีวรและบาตรแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้.
                                                                                วิธีใช้
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้จีวรและบาตรอย่างนี้ คือ
                ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่านเจ้าข้า สามเณรชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตรของเธอ
                ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                                                กรรมวาจาให้จีวรและบาตร
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตร
ของเธอ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรและบาตรนี้แก่ผู้พยาบาลไข้
นี้เป็นญัตติ
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรมีชื่อนี้ถึงมรณภาพ นี้จีวรและบาตร
ของเธอ สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้ แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ การให้จีวรและบาตรนี้ แก่
ภิกษุผู้พยาบาลไข้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงพูด.


                                                            หน้าที่ ๑๘๓

                สงฆ์ให้จีวรและบาตรนี้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
                                                ภิกษุและสามเณรช่วยกันพยาบาลไข้
                สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณรรูปหนึ่ง ช่วยกันพยาบาลภิกษุอาพาธ เธออันภิกษุ
และสามเณรนั้นพยาบาลอยู่ ได้ถึงมรณภาพ จึงภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้น ได้มีความปริวิตกว่า เรา
พึงให้ส่วนจีวรแก่สามเณรผู้พยาบาลไข้อย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนแก่สามเณร
ผู้พยาบาลไข้เท่าๆ กัน.
                สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งมีของใช้มาก มีบริขารมาก ได้ถึงแก่มรณภาพ ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุถึง
มรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของบาตรจีวร แต่ภิกษุผู้พยาบาลไข้มีอุปการะมาก เราอนุญาตให้สงฆ์มอบ
ไตรจีวรและบาตรให้แก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นลหุภัณฑ์ ลหุบริขาร
สิ่งนั้นเราอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันแบ่ง บรรดาสิ่งของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นครุภัณฑ์
ครุบริขาร สิ่งนั้นเป็นของสงฆ์ผู้อยู่ในจตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ไม่ควรแบ่ง ไม่ควรแจก.
                                เรื่องสมาทานติตถิยมีวัตรเปลือยกายเป็นต้น
                [๑๖๘] ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเปลือยกายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบ
ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาคุณแห่งความมักน้อย
ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร
โดยอเนกปริยาย การเปลือยกายนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา
ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระ-
พุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตการเปลือยกาย
แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้นไม่สมควร  ....
ดูกรโมฆะบุรุษ ไฉนเธอจึงได้สมาทานการเปลือยกายที่พวกเดียรถีย์สมาทานเล่า การกระทำของ


                                                            หน้าที่ ๑๘๔

เธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานการเปลือยกายที่พวกเดียรถีย์สมาทาน
รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งนุ่งผ้าคากรอง .... รูปหนึ่งนุ่งผ้าเปลือกไม้กรอง .... รูปหนึ่งนุ่งผ้า
ผลไม้กรอง .... รูปหนึ่งนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยผมคน .... รูปหนึ่งนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ .... รูปหนึ่ง
นุ่งผ้าทำด้วยปีกนกเค้า .... รูปหนึ่งนุ่งหนังเสือ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลคำนี้แด่
พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาคุณแห่งความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย
อเนกปริยาย หนังเสือนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอ
ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตหนังเสือแก่ภิกษุทั้งหลาย
ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่นไม่สมควร  ....
ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้ทรงหนังเสืออันเป็นธงชัยของเดียรถีย์เล่า การกระทำของเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงหนังเสืออันเป็นธงชัยของเดียรถีย์ รูปใดทรง
ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
                สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก .... รูปหนึ่งนุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนา
คุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ผ้าทำด้วยเปลือกปอนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย
อเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาสขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาอนุญาต
ผ้าทำด้วยเปลือกปอแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่นไม่สมควร  ....
ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้นุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ


                                                            หน้าที่ ๑๘๕

ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วได้ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ รูปใดนุ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                พระฉัพพัคคีย์ทรงจีวรสีครามล้วนเป็นต้น
                [๑๖๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทรงจีวรสีครามล้วน ทรงจีวรสีเหลืองล้วน
ทรงจีวรสีแดงล้วน ทรงจีวรสีบานเย็นล้วน ทรงจีวรสีดำล้วน ทรงจีวรสีแสดล้วน ทรงจีวรสี
ชมภูล้วน ทรงจีวรที่ไม่ตัดชาย ทรงจีวรมีชายยาว ทรงจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ทรงจีวรมีชาย
เป็นแผ่น สวมเสื้อ สวมหมวก ทรงผ้าโพก ประชาชนพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงจีวรสีครามล้วน ไม่พึง
ทรงจีวรสีเหลืองล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีแดงล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีบานเย็นล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีดำ
ล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีแดงล้วน ไม่พึงทรงจีวรสีชมภูล้วน ไม่พึงทรงจีวรที่ไม่ตัดชาย ไม่พึงทรง
จีวรมีชายยาว ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ไม่พึงทรงจีวรมีชายเป็นแผ่น ไม่พึงสวมเสื้อ
ไม่พึงสวมหมวก ไม่พึงทรงผ้าโพก รูปใดทรง ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                เรื่องจีวรยังไม่เกิดแก่ผู้จำพรรษา
                [๑๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น หลีกไป
เสียบ้าง สึกเสียบ้าง ถึงมรณภาพบ้าง ปฏิญาณเป็นสามเณรบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา
บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริตบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน
บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็น
อาบัติบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกฐานไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่
สละคืนทิฏฐิอันลามกบ้าง ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์บ้าง ปฏิญาณเป็นคนลักเพศบ้าง ปฏิญาณเป็น
ผู้เข้ารีดเดียรถีย์บ้าง ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้
ฆ่าบิดาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ปฏิญาณเป็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘