พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 181-185


                                                            หน้าที่ ๑๘๑

     ที่ชื่อว่า ด้าย ได้แก่ ด้าย ๖ ชนิด คือ ด้ายทำด้วยเปลือกไม้ ทำด้วยฝ้าย ทำด้วยไหม
ทำด้วยขนสัตว์ ทำด้วยป่าน ทำด้วยสัมภาระเจือกัน.
     บทว่า กรอ คือ กรอเอง เป็นทุกกฏในประโยค ม้วนไปๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
          อนาปัตติวาร
     [๓๐๓] กรอด้ายที่เขากรอไว้แล้ว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
          ___________________________


                                                            หน้าที่ ๑๘๒

          จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔
          เรื่องภิกษุณีหลายรูป
     [๓๐๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายช่วยทำงานของชาวบ้าน บรรดาภิกษุณี
ที่เป็นผู้มักน้อย ...  ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ช่วยทำงานของ
ชาวบ้านเล่า ...
          ทรงสอบถาม
     พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีช่วย
ทำงานของชาวบ้าน จริงหรือ?.
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
          ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีจึงได้ช่วยทำงานของ
ชาวบ้านเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
          พระบัญญัติ
     ๙๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ทำงานช่วยเหลือสำหรับคฤหัสถ์ เป็นปาจิตตีย์.
          เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
          สิกขาบทวิภังค์
     [๓๐๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
     บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
     ที่ชื่อว่า งานช่วยเหลือสำหรับคฤหัสถ์ คือ ต้มยาคูก็ดี หุงข้าวก็ดี ทำของเคี้ยวก็ดี
หรือซักผ้าสาฎกก็ดี ผ้าโพกก็ดี ของชาวบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๑๘๓

          อนาปัตติวาร
     [๓๐๖] ต้มยาคูถวายสงฆ์ ๑ หุงข้าวถวายสงฆ์ ๑ ในการบูชาเจดีย์ ๑ ต้มยาคูก็ดี หุงข้าว
ก็ดี ทำของเคี้ยวก็ดี ซักผ้าสาฎกก็ดี ผ้าโพกก็ดี ให้แก่ไวยาวัจกรของตน ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
          ___________________________


                                                            หน้าที่ ๑๘๔

          จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๕
          เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
     [๓๐๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทา แล้วได้
กล่าวขอร้องว่า ขอเชิญแม่เจ้า โปรดไปช่วยระงับอธิกรณ์นี้. เธอรับคำได้ว่า แล้วไม่ช่วยระงับ
ไม่ขวนขวายเพื่อระงับ จึงภิกษุณีรูปนั้นได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
     บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า แม่เจ้าถุลลนันทา อัน
ภิกษุณีกล่าวขอร้องว่า ขอเชิญแม่เจ้าได้โปรดช่วยระงับอธิกรณ์นี้ ดังนี้ รับคำว่าได้ แล้วไฉนจึงไม่ช่วย
ระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อจะระงับเล่า.
          ทรงสอบถาม
     พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา
รับปากคำภิกษุณีรูปหนึ่งว่าจะช่วยระงับอธิกรณ์ แล้วไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อจะระงับ จริงหรือ?
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
          ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีถุลลนันทา อันภิกษุณีรูปหนึ่ง
กล่าวขอร้องว่า ขอเชิญแม่เจ้าช่วยระงับอธิกรณ์นี้ รับปากคำเขาแล้ว ไฉนจึงไม่ระงับ ไม่ขวนขวาย
เพื่อจะระงับ การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
          พระบัญญัติ
     ๑๐๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด ผู้อันภิกษุณีกล่าวอยู่ว่า มาเถิดแม่เจ้า จงช่วยระงับอธิกรณ์
นี้ รับคำว่าดีละแล้ว นางไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ
เป็นปาจิตตีย์.
          เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.
          สิกขาบทวิภังค์
     [๓๐๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...


                                                            หน้าที่ ๑๘๕

     บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
     บทว่า อันภิกษุณี คือ อันภิกษุณีรูปอื่น.
     ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์.
     คำว่า มาเถิดแม่เจ้า จงช่วยระงับอธิกรณ์นี้ ความว่า ขอเชิญแม่เจ้า โปรดตัดสิน
อธิกรณ์นี้.
     คำว่า นางไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่อเหตุขัดขวางไม่มี.
     บทว่า ไม่ระงับ คือ ไม่ระงับด้วยตนเอง.
     บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ คือไม่ใช้ผู้อื่น.
     พอทอดธุระว่าจักไม่ระงับละ จักไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับละ ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
          บทภาชนีย์
          ติกะปาจิตตีย์
     [๓๐๙] อธิกรณ์ของอุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า ของอุปสัมบัน ไม่ระงับ ไม่ทำการ
ขวนขวายเพื่อระงับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
     อธิกรณ์ของอุปสัมบัน ภิกษุณีมีความสงสัย ไม่ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
     อธิกรณ์ของอุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่า ของอนุปสัมบัน ไม่ระงับ ไม่ทำการขวนขวาย
เพื่อระงับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
          จตุกกะทุกกฏ
     อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่ระงับ ไม่ทำการขวนขวายเพื่อระงับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
     อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าของอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
     อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
     อธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
          อนาปัตติวาร
     [๓๑๐] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล
          จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘