พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 171-175


                                                            หน้าที่ ๑๗๑

     บทว่า ภายนอกรัฐ คือ ในบ้านเมืองของพระเจ้าแผ่นดินอื่น นอกรัฐที่ตนอยู่.
     ที่ชื่อว่า มีรังเกียจ คือ มีสถานที่พวกโจรซ่องสุม บริโภค ยืน นั่ง นอน ปรากฏอยู่
ในหนทางนั้น.
     ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ มีคนถูกพวกโจรฆ่า ปล้น ทุบตี ปรากฏอยู่ในหนทางนั้น.
     ที่ชื่อว่า ไม่มีพวกเกวียนเป็นเพื่อน คือ เว้นพวกเกวียน.
     บทว่า เที่ยวจาริกไป คือ ในหมู่บ้าน กำหนดระยะชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าที่ไม่มีบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะกึ่งโยชน์.
          อนาปัตติวาร
     [๒๘๘] ไปกับพวกเกวียน ๑ ไปในสถานที่ปลอดภัย คือไม่มีภัยเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ๑
มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
          _______________________


                                                            หน้าที่ ๑๗๒

          ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๙
          เรื่องภิกษุณีหลายรูป
     [๒๘๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพากันเที่ยวจาริก
ไปในภายในพรรษา. คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้เที่ยว
จาริกไปในภายในพรรษาเหยียบย่ำหญ้าเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งมีชีวะ ทำสัตว์
เล็กๆ เป็นจำนวนมาก ให้ประสพการประหาร.
     ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา ที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เที่ยวจาริกไปในภายในพรรษาเล่า.
          ทรงสอบถาม
     พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีเที่ยว
จาริกไปในภายในพรรษา จริงหรือ?.
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
          ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้เที่ยวจาริก
ไปในภายในพรรษาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อม
ใส ...
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
          พระบัญญัติ
     ๙๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด เที่ยวจาริกไปในภายในพรรษา เป็นปาจิตตีย์.
          เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
          สิกขาบทวิภังค์
     [๒๙๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
     บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
     บทว่า ในภายในพรรษา คือ ไม่อยู่ตลอดไตรมาสต้น หรือไตรมาสหลัง.


                                                            หน้าที่ ๑๗๓

     บทว่า เที่ยวจาริกไป คือ ในหมู่บ้าน กำหนดระยะชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าไม่มีบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะกึ่งโยชน์.
          อนาปัตติวาร
     [๒๙๑] ไปด้วยสัตตาหกรณียะ ๑ ถูกใครๆ รบกวนจึงไป ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
          ________________________


                                                            หน้าที่ ๑๗๔

          ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
          เรื่องภิกษุณีหลายรูป
     [๒๙๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในพระ
นครราชคฤห์นั้นนั่นแหละ ตลอดฤดูฝน ตลอดฤดูหนาว ตลอดฤดูร้อน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ทิศทั้งหลายคับแคบเป็นดุจมืดมนแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทิศทั้งหลายย่อมไม่
ปรากฏแก่ภิกษุณีเหล่านี้ ดังนี้.
     ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงเล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุ
ทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
          ทรงบัญญัติสิกขาบท
     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัย
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑  ... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ
สัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
          พระบัญญัติ
     ๙๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด อยู่จำตลอดฤดูฝนแล้ว ไม่หลีกไปสู่จาริก โดยที่สุด
แม้สิ้นหนทาง ๕-๖ โยชน์ เป็นปาจิตตีย์.
          เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
          สิกขาบทวิภังค์
     [๒๙๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
     บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...  นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.


                                                            หน้าที่ ๑๗๕

     ที่ชื่อว่า อยู่จำตลอดฤดูฝนแล้ว คือ อยู่จำตลอดฤดูฝนสามเดือนต้นหรือสามเดือนหลัง
แล้ว พอทอดธุระว่าจักไม่หลีกไปสู่จาริก สิ้นหนทางอย่างต่ำ ๕-๖ โยชน์ ดังนี้เท่านั้น ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
          อนาปัตติวาร
     [๒๙๔] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนแล้วไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีอัน
ตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
          ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕ จบ.
          __________________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘