พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หน้า 161-165

                                                            หน้าที่ ๑๖๑

ถ้าเขาตอบว่า  กระผมจักทำคืนขอรับ  พึงให้อุปสมบท, ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ทำคืนขอรับ
ไม่พึงให้อุปสมบท. ครั้นให้อุปสมบทแล้ว พึงถามว่าท่านจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ? ถ้าเธอตอบว่า
กระผมจักทำคืนขอรับ พึงเรียกเข้าหมู่, ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักไม่ทำคืนขอรับ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่.
ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้ว พึงกล่าวว่า จงยอมทำคืนอาบัตินั้นเสีย. ถ้าเธอยอมทำคืน การทำคืนได้
อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ยอมทำคืน เมื่อได้สามัคคี พึงยกเสียอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี
ไม่เป็นอาบัติในเพราะสมโภคและอยู่ร่วมกัน.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ยอมสละทิฏฐิบาป
สึกไป. เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก. พึงสอบถามเขาเช่นนี้ว่า เจ้าจักยอม
สละคืนทิฏฐิบาปนั้นหรือ? ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักยอมสละคืนขอรับ  พึงให้บรรพชา, ถ้าเขา
ตอบว่า กระผมจักไม่ยอมสละคืนขอรับ ไม่พึงให้บรรพชา. ครั้นให้บรรพชาแล้ว พึงถามว่า
เจ้าจักยอมสละคืนทิฏฐิบาปนั้นหรือ? ถ้าเขาตอบว่า  กระผมจักยอมสละคืนขอรับ พึงให้อุปสมบท,
ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ยอมสละคืนขอรับ ไม่พึงให้อุปสมบท. ครั้นให้อุปสมบทแล้ว
พึงถามว่า ท่านยอมสละคืนทิฏฐิบาปนั้นหรือ? ถ้าเธอตอบว่า  กระผมจักยอมสละคืนขอรับ
พึงเรียกเข้าหมู่, ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักไม่ยอมสละคืนขอรับ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่. ครั้นเรียก
เข้าหมู่แล้ว พึงกล่าวว่า จงยอมสละคืนทิฏฐิบาปนั้น. ถ้าเธอยอมสละคืน การยอมสละคืน
ได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ยอมสละคืน เมื่อได้สามัคคี พึงยกเสียอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี
ไม่เป็นอาบัติในเพราะสมโภคและอยู่ร่วมกัน.
                                                วิธีปฏิบัติในภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย จบ.
                                                                มหาขันธกะที่ ๑ จบ.
                                                                _____________


                                                            หน้าที่ ๑๖๒

                                                                อุททานคาถา
                [๑๔๖] พระวินัยมีประโยชน์มาก คือนำมาซึ่งความสุขแก่พวกภิกษุ
                                ผู้มีศีลเป็นที่รัก ข่มพวกที่มีความปรารถนาลามก ยกย่อง
                                พวกที่มีความละอายและทรงไว้ซึ่งพระศาสนา เป็นอารมณ์
                                ของพระสัพพัญญชินเจ้า ไม่เป็นวิสัยของพวกอื่น เป็นแดน
                                เกษม อันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ไม่มีข้อที่น่า
                                สงสัย ภิกษุผู้ฉลาดในขันธกะ วินัย บริวาร และมาติกา
                                ปฏิบัติด้วยปัญญาอันหลักแหลม ชื่อว่าผู้ทำประโยชน์อันควร.
                                ชนใดไม่รู้จักโค ชนนั้นย่อมรักษาฝูงโคไม่ได้ฉันใด ภิกษุก็
                                ฉันนั้น เมื่อไม่รู้จักศีล ไฉนเธอจะพึงรักษาสังวรไว้ได้.
                                เมื่อพระสุตตันตะ และพระอภิธรรมเลอะเลือนไปก่อน
                                แต่พระวินัยยังไม่เสื่อมสูญ พระศาสนาชื่อว่า ยังตั้งอยู่ต่อไป.
                                เพราะเหตุแห่งการสังคายนานั้น ข้าพเจ้าจักประมวลกล่าว
                                โดยลำดับตามความรู้ ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้ากล่าวเพื่อ
                                จะมิให้ข้อที่ทำได้ยาก คือวัตถุ นิทาน อาบัติ นัยและเปยยาล
                                เหลือลง ขอท่านทั้งหลาย จงทราบข้อนั้นโดยนัยเถิด
                                เรื่องประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิ์ เรื่องประทับอยู่ ณ ควงไม้
                                อชปาลนิโครธ เรื่องประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนพฤกษ์
                                เรื่องท้าวสหัมบดีพรหม เรื่องฤาษีอาฬาระ เรื่องฤาษีอุททกะ
                                เรื่องอุปกาชีวก เรื่องภิกษุปัญจวัคคีย์ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ
                                ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ เรื่องยสกุลบุตร เรื่องสหาย
                                ๔ คน เรื่องสหาย ๕๐ คน เรื่องส่งพระอรหันต์ทั้งหมดไป
                                ในทิศต่างๆ เรื่องมาร ๒ เรื่อง เรื่องภัททวัคคีย์กุมาร ๓๐
                                เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปเป็นต้น   เรื่อง
                                โรงบูชาไฟ เรื่องท้าวมหาราช เรื่องท้าวสักกะ เรื่องท้าว


                                                            หน้าที่ ๑๖๓

                                มหาพรหม เรื่องประชาชนชาวอังคะ มคธะทั้งหมด เรื่อง
                                ทรงชักผ้าบังสุกุล เรื่องสระโบกขรณี เรื่องศิลา เรื่อง
                                ต้นกุ่ม เรื่องผึ่งผ้าบังสุกุลที่แผ่นศิลา เรื่องไม้หว้า เรื่อง
                                ไม้มะม่วง เรื่องไม้มะขามป้อม เรื่องทรงเก็บดอกไม้
                                ปาริฉัตตกะ เรื่องชฎิลพวกอุรุเวลกัสสปผ่าฟืน เรื่องติดไฟ
                                เรื่องดับไฟ เรื่องดำน้ำ เรื่องกองไฟ เรื่องฝนตก เรื่อง
                                แม่น้ำคยา เรื่องสวนตาลหนุ่ม เรื่องพระเจ้าแผ่นดินมคธ
                                เรื่องอุปติสสะและโกลิตะ เรื่องกุลบุตรที่มีชื่อเสียงบวช
                                เรื่องภิกษุนุ่งห่มไม่เรียบร้อย เรื่องประณาม เรื่องพราหมณ์
                                ซูบผอมหม่นหมอง เรื่องประพฤติอนาจาร เรื่องบวชเห็น
                                แก่ท้อง เรื่องมาณพ เรื่องให้อุปสมบทด้วยคณะ เรื่อง
                                อุปัชฌายะมีพรรษาเดียวให้กุลบุตรบวช เรื่องอุปัชฌายะ
                                เขลา เรื่องอุปัชฌายะหลีกไป เรื่องถือนิสสัยกะอาจารย์
                                มีพรรษา ๑๐ เรื่องอันเตวาสิกไม่ประพฤติชอบ เรื่องทรง
                                อนุญาตให้ประณาม เรื่องอาจารย์เขลาให้นิสสัย เรื่องนิสสัย
                                ระงับ เรื่องภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ เรื่องภิกษุประกอบ
                                ด้วยองค์ ๖ เรื่องภิกษุเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เรื่องชีเปลือย
                                เรื่องไม่โกนผม เรื่องชฎิลบูชาไฟ เรื่องอัญญเดียรถีย์ที่เป็น
                                ศากยะบวช เรื่องอาพาธ ๕ อย่าง ในมคธรัฐ เรื่องราชภัฏ-
                                บวช เรื่ององคุลิมาลโจร เรื่องพระเจ้าแผ่นดินมคธมีพระ
                                บรมราชานุญาตไว้ เรื่องห้ามบวชนักโทษหนีเรือนจำ เรื่อง
                                ห้ามบวชนักโทษที่ออกหมายสั่งจับ  เรื่องห้ามบวชคนถูก
                                เฆี่ยนมีรอยหวายติดตัว เรื่องห้ามบวชคนถูกอาญาสักหมาย
                                โทษ เรื่องห้ามบวชคนมีหนี้สิน เรื่องห้ามบวชทาส เรื่องบุตร
                                ชายช่างทอง เรื่องเด็กชายอุบาลี เรื่องอหิวาตกโรค เรื่อง


                                                            หน้าที่ ๑๖๔

                                ตระกูลมีศรัทธา เรื่องสามเณรกัณฏกะ เรื่องทิศคับแคบ เรื่อง
                                ถือนิสสัย เรื่องเด็กบรรพชา เรื่องสิกขาบทของสามเณร เรื่อง
                                สามเณรไม่เคารพภิกษุ เรื่องคำนึงว่าจะลงทัณฑกรรมอย่างไร
                                หนอ เรื่องลงทัณฑกรรม คือห้ามสังฆารามทุกแห่ง เรื่อง
                                ห้ามปาก เรื่องไม่บอกพระอุปัชฌายะ เรื่องเกลี้ยกล่อม
                                สามเณรไว้ใช้ เรื่องสามเณรกัณฏกะ เรื่องห้ามอุปสมบท
                                บัณเฑาะก์ คนลักเพศ เรื่องห้ามอุปสมบทคนเข้ารีดเดียรถีย์
                                เรื่องห้ามอุปสมบทนาค คนฆ่ามารดา คนฆ่าบิดา คนฆ่า
                                พระอรหันต์ คนทำร้ายภิกษุณี ภิกษุผู้ทำสังฆเภท คนทำร้าย
                                พระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต อุภโตพยัญชนก  เรื่อง
                                ห้ามอุปสมบทคนไม่มีอุปัชฌายะ คนมีสงฆ์เป็นอุปัชฌายะ
                                คนมีคณะเป็นอุปัชฌายะ คนมีบัณเฑาะก์เป็นอุปัชฌายะ
                                เรื่องห้ามอุปสมบทคนไม่มีบาตร คนไม่มีจีวร คนไม่มีบาตร
                                จีวรทั้งสองอย่าง เรื่องห้ามอุปสมบทคนยืมบาตรยืมจีวร
                                ยืมทั้งบาตรจีวร รวม ๓ เรื่อง เรื่องห้ามบรรพชาคนมือด้วน
                                ห้ามบรรพชาคนเท้าด้วน ห้ามบรรพชาคนมือเท้าด้วน ห้าม
                                บรรพชาคนหูขาด ห้ามบรรพชาคนจมูกขาด ห้ามบรรพชา
                                คนทั้งหูและจมูกขาด ห้ามบรรพชาคนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด
                                ห้ามบรรพชาคนง่ามมือง่ามเท้าขาด ห้ามบรรพชาคนเอ็นขาด
                                ห้ามบรรพชาคนมือเป็นแผ่น ห้ามบรรพชาคนค่อม ห้าม
                                บรรพชาคนเตี้ย ห้ามบรรพชาคนคอพอก ห้ามบรรพชาคนถูก
                                ลงอาญาสักหมายโทษ ห้ามบรรพชาคนถูกเฆี่ยนมีรอยหวาย
                                ติดตัว ห้ามบรรพชาคนมีหมายประกาศจับ ห้ามบรรพชาคน
                                เท้าปุก ห้ามบรรพชาคนมีโรคเรื้อรัง ห้ามบรรพชาคนมีรูปร่าง
                                ไม่สมประกอบ ห้ามบรรพชาคนตาบอดข้างเดียว ห้าม
                                บรรพชาคนง่อย ห้ามบรรพชาคนกระจอก ห้ามบรรพชาคน


                                                            หน้าที่ ๑๖๕

                                เป็นโรคอัมพาต ห้ามบรรพชาคนมีอิริยาบถขาด ห้ามบรรพชา
                                คนแก่ ห้ามบรรพชาคนตาบอด ๒ ข้าง ห้ามบรรพชาคนใบ้
                                ห้ามบรรพชาคนหูหนวก ห้ามบรรพชาคนทั้งบอดและใบ้
                                ห้ามบรรพชาคนทั้งบอดและหนวก ห้ามบรรพชาคนทั้งใบ้
                                และหนวก ห้ามบรรพชาคนทั้งบอดใบ้และหนวก เรื่อง
                                ให้นิสสัยแก่อลัชชี เรื่องถือนิสสัยต่ออลัชชี เรื่องเดินทาง
                                ไกล เรื่องขอร้อง เรื่องพิจารณา เรื่องจงมาสวด เรื่องแย่งกัน
                                อุปสมบทก่อน เรื่องอุปสมบทมีอุปัชฌายะองค์เดียว เรื่อง
                                พระกุมารกัสสป เรื่องอุปสัมบันปรากฏถูกโรคเบียดเบียน
                                เรื่องอุปสัมปทาเปกขะยังมิได้สอนซ้อมสะทกสะท้าน เรื่อง
                                สอนซ้อมในท่ามกลางสงฆ์นั้นแหละ เรื่องห้ามภิกษุเขลา
                                สอนซ้อม เรื่องห้ามภิกษุยังไม่ได้รับสมมติสอนซ้อม
                                เรื่องผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขะมาพร้อมกัน เรื่อง
                                ขอจงยกขึ้น เรื่องญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา เรื่องบอก
                                นิสสัย เรื่องละอุปสัมบันไว้แต่ลำพัง เรื่องภิกษุถูกสงฆ์ยก
                                เสีย ๓ เรื่อง.
                                                รวมเรื่องในขันธกะนี้ ๑๗๒ เรื่อง.
                                                หัวข้อเรื่องในมหาขันธกะ จบ.
                                                                __________________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘