พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 156-160


                                                            หน้าที่ ๑๕๖

          ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๔
          ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑
          เรื่องภิกษุณีหลายรูป
     [๒๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีสองรูปจำวัดร่วมเตียงกัน คนทั้งหลาย
เที่ยวเดินชมวิหาร พบเห็นแล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้
นอนร่วมเตียงกันสองรูป เหมือนหญิงชาวบ้านเล่า.
     ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็นผู้
มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้จำวัดบนเตียงเดียวกัน
สองรูปเล่า.
          ทรงสอบถาม
     พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณีจำวัด
ร่วมเตียงกันสองรูป จริงหรือ?
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
          ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้จำวัด
ร่วมเตียงกันสองรูปเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ...
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
          พระบัญญัติ
     ๘๖. ๑. อนึ่ง เหล่าภิกษุณีใด สองรูปนอนบนเตียงเดียวกัน เป็นปาจิตตีย์.
          เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
          สิกขาบทวิภังค์
     [๒๕๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
     ที่ชื่อว่า เหล่าภิกษุณี ได้แก่ เหล่าสตรีที่เรียกกันว่า ภิกษุณีอุปสัมบัน.


                                                            หน้าที่ ๑๕๗

     พากย์ว่า สองรูปนอนบนเตียงเดียวกัน คือ เมื่อรูปหนึ่งนอนแล้วอีกรูปหนึ่งจึงนอน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอนทั้งสองรูป ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ลุกขึ้นแล้วนอนต่ออีกก็ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
          อนาปัตติวาร
     [๒๖๐] รูปหนึ่งนอน อีกรูปหนึ่งนั่ง หรือนั่งทั้งคู่ ๑ วิกลจริตทั้งคู่ ๑ อาทิกัมมิกาทั้งคู่ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
          ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
          _______________________


                                                            หน้าที่ ๑๕๘

          ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒
          เรื่องภิกษุณี ๒ รูป
     [๒๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีสองรูปจำวัดมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียว
กัน. คนทั้งหลายเที่ยวชมวิหารพบเห็นแล้วพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี
สองรูปจึงได้จำวัดมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันดุจหญิงชาวบ้านเล่า.
     ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีสองรูปจึงได้จำวัดมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันเล่า.
          ทรงสอบถาม
     พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีสองรูปนอน
มีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน จริงหรือ?
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
          ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีสองรูป จึงได้นอน
มีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
          พระบัญญัติ
     ๘๗. ๒. อนึ่ง เหล่าภิกษุณีใด สองรูป มีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันนอน เป็น
ปาจิตตีย์.
          เรื่องภิกษุณี ๒ รูป จบ.
          สิกขาบทวิภังค์
     [๒๖๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
     ที่ชื่อว่า เหล่าภิกษุณี ได้แก่ เหล่าภิกษุณีที่เรียกกันว่าภิกษุณีอุปสัมบัน.
     พากย์ว่า สองรูปมีผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันนอน นั้น คือ ลาดก็ผืนนั้น ห่มก็
ผืนนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๑๕๙

          บทภาชนีย์
          ติกะปาจิตตีย์
     [๒๖๓] ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันภิกษุณีสำคัญว่า ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกันนอน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
     ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน ภิกษุณีสงสัย นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
     ผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน ภิกษุณีสำคัญว่า ผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
          จตุกกะทุกกฏ
     ผ้าลาดผืนเดียวกัน ผ้าห่มต่างผืน  ต้องอาบัติทุกกฏ.
     ผ้าลาดต่างผืน ผ้าห่มผืนเดียวกัน  ต้องอาบัติทุกกฏ.
     ผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน สำคัญว่าผ้าลาดและผ้าห่มผืนเดียวกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
     ผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน สงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
     ผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน สำคัญว่าผ้าลาดและผ้าห่มต่างผืนกัน ไม่ต้องอาบัติ.
          อนาปัตติวาร
     [๒๖๔] ดูผ้านอนแล้ว  ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          ตุวัฏฏวรรคสิกขาบทที่ ๒ จบ.
          ______________________


                                                            หน้าที่ ๑๖๐

          ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓
          เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
     [๒๖๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นคนคงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด
เป็นคนองอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน. แม้ภิกษุณีภัททากาปิลานีก็เป็นคนคงแก่เรียน เป็น
คนช่างพูด เป็นคนองอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน เป็นผู้ได้รับการสรรเสริญว่าเป็นเยี่ยมกว่า
คนทั้งหลายเห็นกันว่า แม่เจ้าภัททากาปิลานีเป็นคนคงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด เป็นคนองอาจ
สามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน เป็นผู้ได้รับการสรรเสริญยิ่งกว่า จึงพากันเข้าไปหาภิกษุณีภัททา
กาปิลานีก่อน แล้วจึงเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาต่อภายหลัง. ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นคนมักริษยา
รู้ได้ดีว่า ธรรมดาภิกษุณีผู้สาละวนอยู่ด้วยการอภิปรายที่จะให้คนอื่นรู้เข้าใจเนื้อความแจ่มแจ้ง ย่อม
เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ดังนั้น จึงจงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง
สำเร็จการนอนบ้าง บรรยายเองบ้าง ให้ผู้อื่นบรรยายบ้าง ท่องบ่นบ้าง เบื้องหน้าภิกษุณีภัททากาปิลานี.
     บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ...  ต่างพาเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา
จึงได้แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่แม่เจ้าภัททากาปิลานีเล่า.
          ทรงสอบถาม
     พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา
แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณีภัททากาปิลานี จริงหรือ?
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
          ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้
แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณีภัททากาปิลานีเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
          พระบัญญัติ
     ๘๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.
          เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘