พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 151-155


                                                            หน้าที่ ๑๕๑

     บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...  นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
     ที่ชื่อว่า ชาวบ้าน ได้แก่ บุคคลผู้ยังครองเรือนอยู่.
     ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ บุรุษคนใดคนหนึ่งผู้นับเนื่องในจำพวกนักบวชชาย เว้นภิกษุ
สามเณร.
     ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ สตรีคนใดคนหนึ่งผู้นับเนื่องในจำพวกนักบวชหญิง เว้น
ภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี.
     ที่ชื่อว่า สมณจีวร ได้แก่ผ้าที่เรียกกันว่าทำกัปปะแล้ว ให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
          อนาปัตติวาร
     [๒๔๘] ให้แก่มารดาบิดา ๑ ให้ชั่วคราว ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          นัคควรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
          _______________________


                                                            หน้าที่ ๑๕๒

          นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙
          เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
     [๒๔๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้
แก่ภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า ถ้าพวกข้าพเจ้าสามารถก็จักถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ ครั้นภิกษุณีทั้ง
หลายจำพรรษาแล้ว ได้ประชุมกันประสงค์จะแจกจีวร ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณี
เหล่านั้นว่า แม่เจ้า โปรดรอก่อน ภิกษุณีสงฆ์ยังมีหวังจะได้จีวร.
     ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวคำนี้แก่ภิกษุณีถุลลนันทาว่า ขอเชิญแม่เจ้าไปสืบดูให้รู้เรื่องจีวรนั้น.
     ภิกษุณีถุลลนันทาได้เข้าไปสู่ตระกูลนั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า อาวุโสทั้งหลาย จงถวาย
จีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์เถิด.
     คนในตระกูลตอบว่า แม่เจ้า พวกข้าพเจ้ายังไม่สามารถจะถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ได้.
     ภิกษุณีถุลลนันทาได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ...  ต่าง
ก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไปด้วยหวังว่า
จะได้จีวรอันไม่แน่นอนเล่า.
          ทรงสอบถาม
     พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทา
ได้ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอนจริงหรือ?
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
          ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ยัง
สมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอนเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
          พระบัญญัติ
     ๘๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ด้วยหวังว่าจะได้จีวรอันไม่
แน่นอน เป็นปาจิตตีย์


                                                            หน้าที่ ๑๕๓

          สิกขาบทวิภังค์
     [๒๕๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
     บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ...  นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
     ที่ชื่อว่า หวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอน ได้แก่วาจาที่เขาเปล่งออกมาว่า ถ้าพวกข้าพเจ้า
สามารถ ก็จักถวาย จักทำ.
     ที่ชื่อว่า สมัยจีวรกาล คือ เมื่อกฐินยังไม่ได้กราน มีกำหนดเดือนหนึ่งท้ายฤดูฝน
เมื่อได้กรานกฐินแล้ว มีกำหนด ๕ เดือน.
     บทว่า ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ความว่า เมื่อไม่ได้กรานกฐินยังวันสุดท้ายแห่งฤดูฝน
ให้ล่วงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์. เมื่อได้กรานกฐินแล้วยังวันที่กฐินเดาะให้ล่วงไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
          บทภาชนีย์
     [๒๕๑] จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรไม่แน่นอน ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
     จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสงสัย ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
     จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าแน่นอน ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ไม่ต้องอาบัติ.
     จีวรแน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรไม่แน่นอน ต้องอาบัติทุกกฏ.
     จีวรแน่นอน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
     จีวรแน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรแน่นอน ไม่ต้องอาบัติ.
          อนาปัตติวาร
     [๒๕๒] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
          __________________


                                                            หน้าที่ ๑๕๔

          นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐
          เรื่องอุบาสกคนหนึ่ง
     [๒๕๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่งให้ช่างสร้างวิหารหลังหนึ่ง
อุทิศสงฆ์ ในงานฉลองวิหารนั้น เขามีความประสงค์จะถวายอกาลจีวรแก่สงฆ์ทั้งสองฝ่าย แต่
สมัยนั้น สงฆ์ทั้งสองฝ่ายกรานกฐินแล้ว จึงอุบาสกเข้าไปหาสงฆ์แล้วขอการเดาะกฐิน ภิกษุทั้ง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
     ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อเดาะกฐิน แต่
พึงเดาะอย่างนี้.
     อันภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:
          กรรมวาจา
     ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงเดาะ
กฐิน นี่เป็นญัตติ.
     ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ย่อมเดาะกฐิน การเดาะกฐิน ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
     กฐินอันสงฆ์เดาะแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
     [๒๕๔] ครั้นแล้ว อุบาสกนั้นเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ขอเดาะกฐิน. ภิกษุณีถุลลนันทาห้าม
การเดาะกฐินว่า จีวรจักมีแก่พวกข้าพเจ้า จึงอุบาสกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงไม่ให้การเดาะกฐินแก่พวกเราเล่า.
     ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปแล้ว
โดยธรรมเล่า.
          ทรงสอบถาม
     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณี
ถุลลนันทาห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปแล้วโดยธรรมจริงหรือ?.
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.


                                                            หน้าที่ ๑๕๕

          ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
     พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ห้าม
การเดาะกฐินอันเป็นไปแล้วโดยธรรมเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
          พระบัญญัติ
     ๘๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ห้ามการเดาะกฐินอันเป็นไปแล้วโดยธรรม เป็นปาจิตตีย์.
          เรื่องอุบาสกคนหนึ่ง จบ.
          สิกขาบทวิภังค์
     [๒๕๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
     บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
     การเดาะกฐินที่ชื่อว่า เป็นไปแล้วโดยธรรม คือ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงประชุมกันเดาะ.
     บทว่า ห้าม คือ ห้ามว่า กฐินนี้จะเดาะได้ด้วยวิธีไร ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
          บทภาชนีย์
     [๒๕๖] การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ห้าม ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
     การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
     การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.
     การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
     การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
     การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.
          อนาปัตติวาร
     [๒๕๗] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
          นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
          ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๓ จบ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘