พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 146-150

                                                            หน้าที่ ๑๔๖

                                นัคควรรค สิกขาบทที่ ๖
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
                [๒๓๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ตระกูลอุปฐากของภิกษุณีถุลลนันทา ได้กล่าวคำ
นี้กะภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า พวกข้าพเจ้าจักถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์.
                ภิกษุณีถุลลนันทาได้ทำการขัดขวางว่า พวกท่านยังมีธุระมาก มีการงานที่ยังจะต้องทำมาก.
                ต่อมาเรือนแห่งตระกูลนั้นถูกไฟไหม้ พวกเขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ทำไทยธรรมของพวกเราให้เป็นอันตรายเล่า พวกเราเป็นคนคลาดจากประโยชน์
ทั้งสอง คือโภคะและบุญ.
                ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา จึงได้ทำลาภคือจีวรของหมู่ให้เป็น
อันตรายเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทา
ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็นอันตราย จริงหรือ?.
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ทำ
ลาภคือจีวรของหมู่ให้เป็นอันตรายเล่า การกระทำของนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๘๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็นอันตราย เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.


                                                            หน้าที่ ๑๔๗

                                สิกขาบทวิภังค์
                [๒๔๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า หมู่ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์.
                ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัป
เป็นอย่างต่ำ.
                บทว่า ทำ ... ให้เป็นอันตราย คือ ทำการขัดขวางว่า เขาจะพึงถวายจีวรนี้ได้ด้วยวิธีไร
ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ทำการขัดขวางบริขารอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ทำการขัดขวางจีวรหรือบริขารอย่างอื่น ของภิกษุณีหลายรูปก็ดี ของภิกษุณีรูปเดียวก็ดี ของ
อนุปสัมบันก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                อนาปัตติวาร
                [๒๔๑] แสดงคุณและโทษแล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                นัคควรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
                                ______________


                                                            หน้าที่ ๑๔๘

                                นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
                [๒๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น มีอกาลจีวรบังเกิดแก่ภิกษุณีสงฆ์แล้ว จึงภิกษุณี
สงฆ์ประชุมใคร่จะแจกกัน แต่เวลานั้นพวกภิกษุณีอันตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทาพากันหลีกไป
ภิกษุกณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีทั้งหลายห้ามการแจกจีวรว่า แม่เจ้า ภิกษุณีทั้งหลายหลีกไป
แล้ว จักแจกจีวรกันยังไม่ได้ก่อนดังนี้.
                ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวกันว่า ยังไม่แจกจีวรก่อน แล้วพากันกลับไป เมื่อหมู่ภิกษุณีอัน
เตวาสินีกลับมาแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาจึงสั่งให้แจกจีวรนั้น.
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ...  ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงได้ห้ามการแจกจีวรอันเป็นไปโดยชอบธรรมเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา
ห้ามการแจกจีวร อันเป็นไปโดยชอบธรรม จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ห้าม
การแจกจีวร อันเป็นไปโดยชอบธรรมเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๘๒. ๗. อนึ่ง ภิกษุณีใด ห้ามการแจกจีวรอันเป็นไปโดยชอบธรรม เป็นปาจิตตีย์ ฯ
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๒๔๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่าผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้


                                                            หน้าที่ ๑๔๙

                การแจกจีวร ที่ชื่อว่า เป็นไปโดยชอบธรรม คือ ภิกษุณีสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงประชุม
กันแจก
                บทว่า ห้าม คือห้ามว่า การแจกจีวรนี้ด้วยวิธีไร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ
                                บทภาชนีย์
                [๒๔๔] การแจกเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ห้าม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
                การแจกเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ
                การแจกเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ห้าม ไม่ต้องอาบัติ
                การแจกไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ
                การแจกไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ
                การแจกไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ ฯ
                                อนาปัตติวาร
                [๒๔๕] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล ฯ
                                นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
                                _______________


                                                            หน้าที่ ๑๕๐

                                นัคควรรค สิกขาบทที่ ๘
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
                [๒๔๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิก-
คหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทา ให้สมณจีวรแก่พวกครูฟ้อนรำบ้าง พวก
คนฟ้อนรำบ้าง พวกโดดไม้สูงบ้าง พวกจำอวดบ้าง พวกเล่นกลองบ้าง ด้วยสั่งว่า พวกท่านจง
กล่าวพรรณาคุณของฉันในที่ชุมนุมชน พวกครูฟ้อนรำก็ดี พวกฟ้อนรำก็ดี พวกโดดไม้สูงก็ดี
พวกจำอวดก็ดี พวกเล่นกลองก็ดี ย่อมกล่าวพรรณนาคุณของภิกษุณีถุลลนันทาในที่ชุมนุมชนว่า
แม่เจ้าถุลลนันทาเป็นผู้คงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด เป็นผู้องอาจ เป็นผู้สามารถเจรจาถ้อยคำมีหลัก
ฐาน ท่านทั้งหลายจงถวายแก่แม่เจ้า จงทำแก่แม่เจ้า ดังนี้
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ...  ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงให้สมณจีวรแก่ชาวบ้านเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา
ให้สมณจีวรแก่ชาวบ้าน จริงหรือ
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงให้
สมณจีวรแก่ชาวบ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๘๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้สมณจีวรแก่ชาวบ้านก็ดี ปริพาชกก็ดี ปริพาชิกาก็ดี
เป็นปาจิตตีย์.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๒๔๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘