พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 141-145

                                                            หน้าที่ ๑๔๑

                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                                                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                                                ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล
                [๑๓๖] ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๑๔๒

                ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรไม่มีท่าจะมีแผล ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                                                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ-
ปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๑๔๓

                                                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่ไม่มีท่าจะมีแผล, เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๑ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๒ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๓ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุมีบาตรมีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง ขอบาตรที่มีท่าจะมีแผล ๔ แห่ง, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๑๓๗] ภิกษุมีบาตรหาย ๑, ภิกษุมีบาตรแตก ๑, ภิกษุขอต่อญาติ ๑, ภิกษุขอต่อคน
ปวารณา ๑, ภิกษุขอเพื่อประโยชน์ของภิกษุอื่น ๑, ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑, ภิกษุ
วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.ฯ
                                                ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๑๔๔

                                                ๓. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๓
                                                เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ
                [๑๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะกำลังให้คนชำระ
เงื้อมเขาในเขตพระนครราชคฤห์ ประสงค์จะทำเป็นสถานที่เร้น.
                ขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึง
สำนัก. ทรงอภิวาทแล้วประทับเหนือพระราชอาสน์อันควรส่วนข้างหนึ่ง, ได้ตรัสถามท่านพระ-
ปิลินทวัจฉะว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พระเถระกำลังให้เขาทำอะไรอยู่?
                ท่านพระปิลินทวัจฉะถวายพระพรว่า อาตมภาพกำลังให้เขาชำระเงื้อมเขา ประสงค์จะทำ
เป็นสถานที่เร้น ขอถวายพระพร.
                พิ. พระคุณเจ้าจะต้องการคนทำการวัดบ้างไหม.
                ปิ. ขอถวายพระพร คนทำการวัด พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงอนุญาต.
                พิ. ถ้าเช่นนั้น โปรดทูลถามพระผู้มีพระภาค แล้วบอกให้ข้าพเจ้าทราบ.
                ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลสนองพระบรมราชโองการว่า ได้ ขอถวายพระพร แล้วชี้แจง
ให้พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ ทรงสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว.
                ลำดับนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ อันท่านพระปิลินทวัจฉะชี้แจงให้ทรง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว, เสด็จลุกจากพระราชอาสน์ ทรงอภิวาทท่านพระ
ปิลินทวัจฉะ ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.
                หลังจากนั้น ท่านพระปิลินทวัจฉะส่งสมณทูตไปในสำนักพระผู้มีพระภาคกราบทูลว่า
พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ มีพระราชประสงค์จะทรงถวายคนทำการวัด,
ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร? พระพุทธเจ้าข้า.
                                                ทรงอนุญาตให้มีคนทำการวัด
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น, ทรงกระทำธรรมีกถา, แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้มีคนทำการวัด.


                                                            หน้าที่ ๑๔๕

                พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ เสด็จเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงสำนักเป็นคำ
รบสอง, ทรงอภิวาทแล้ว ประทับนั่งเหนือพระอาสน์อันควรส่วนข้างหนึ่ง, แล้วตรัสถาม
ท่านพระปิลินทวัจฉะว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า คนทำการวัด พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตแล้วหรือ?
                ท่านพระปิลินทวัจฉะถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร ทรงอนุญาตแล้ว.
                พระเจ้าพิมพิสาร จอมพลมคธรัฐ ทรงรับปฏิญาณถวายคนทำการวัดแก่ท่านพระปิลินท-
วัจฉะว่า ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าจักถวายคนทำการวัดแก่พระคุณเจ้าดังนี้แล้วทรงลืมเสีย. ต่อนานมา
ทรงระลึกได้ จึงตรัสถามมหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งปวงผู้หนึ่งว่า พนาย คนทำการวัดที่เราได้รับ
ปฏิญาณจะถวายแก่พระคุณเจ้านั้น เราได้ถวายไปแล้วหรือ?
                มหาอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ ยังไม่ได้พระราชทาน พระพุทธเจ้าข้า.
                พระราชาตรัสถามว่า จากวันนั้นมา นานกี่ราตรีแล้ว พนาย.
                ท่านมหาอำมาตย์นับราตรีแล้วกราบทูลในทันใดนั้นแลว่า ขอเดชะ ๕๐๐ ราตรี พระ-
พุทธเจ้าข้า.
                พระราชารับสั่งว่า พนาย ถ้าเช่นนั้นจงถวายท่านไป ๕๐๐ คน.
                ท่านมหาอำมาตย์รับสนองพระบรมราชโองการว่า พระพุทธเจ้าข้า แล้วได้จัดคนทำการ
วัดไปถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ ๕๐๐ คน. หมู่บ้านของคนทำการวัดพวกนั้น ได้ตั้งอยู่แผนกหนึ่ง.
คนทั้งหลายเรียกตำบลบ้านนั้นว่า ตำบลบ้านอารามิกบ้าง ตำบลบ้านปิลินทวัจฉะบ้าง.
                [๑๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะ ได้เป็นพระกุลุปกะในหมู่บ้านตำบลนั้น.
ครั้นเช้าวันหนึ่ง ท่านครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังตำบลบ้านปิลินทวัจฉะ.
สมัยนั้น ในตำบลบ้านนั้นมีมหรสพ. พวกเด็กๆ ตกแต่งกายประดับดอกไม้ เล่นมหรสพอยู่.
พอดีท่านพระปิลินทวัจฉะเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกปิลินทวัจฉะ ได้เข้าไปถึงเรือนคนทำการ
วัดผู้หนึ่ง. ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เข้าจัดถวาย.
                ขณะนั้น ธิดาของสตรีผู้ทำการวัดนั้น เห็นเด็กๆ พวกอื่นตกแต่งกายประดับดอกไม้
แล้วร้องอ้อนว่า จงให้ดอกไม้แก่ข้าพเจ้า, จงให้เครื่องตกแต่งกายแก่ข้าพเจ้า.
                ท่านพระปิลินทวัจฉะจึงถามสตรีผู้ทำการวัดคนนั้นว่า เด็กหญิงคนนี้ร้องอ้อนอยากได้
อะไร?

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘