พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หน้า 131-135

                                                            หน้าที่ ๑๓๑

                                                                ปลิโพธและสิ้นปลิโพธ
                [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กฐินมีปลิโพธ ๒ และสิ้นปลิโพธ ๒
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินมีปลิโพธ ๒ คือ อาวาสปลิโพธ ๑ จีวรปลิโพธ ๑
                                                                                ปลิโพธ ๒
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาวาสปลิโพธเป็นอย่างไร
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังอยู่ในอาวาสนั้น หรือหลีกไป ผูกใจอยู่ว่า
จักกลับมา อย่างนี้แลชื่อว่าอาวาสปลิโพธ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จีวรปลิโพธเป็นอย่างไร
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่ได้ทำจีวร หรือทำค้างไว้ก็ดี ยังไม่สิ้น
ความหวังว่าจะได้จีวรก็ดี อย่างนี้แลชื่อว่าจีวรปลิโพธ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย กฐินมีปลิโพธ ๒ อย่างนี้แล.
                                                                สิ้นปลิโพธ ๒
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กฐินสิ้นปลิโพธ ๒ คือ สิ้นอาวาสปลิโพธ ๑ สิ้นจีวร
ปลิโพธ ๑
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ้นอาวาสปลิโพธอย่างไร
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ หลีกไปจากอาวาสนั้น ด้วยสละใจ วางใจ
ปล่อยใจ ทอดธุระว่าจักไม่กลับมา อย่างนี้แล ชื่อว่าสิ้นอาวาสปลิโพธ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ้นจีวรปลิโพธเป็นอย่างไร
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำจีวรเสร็จแล้วก็ดี ทำเสียก็ดี ทำหายเสียก็ดี
ทำไฟไหม้เสียก็ดี สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรก็ดี อย่างนี้แล ชื่อว่าสิ้นจีวรปลิโพธ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย กฐินสิ้นปลิโพธมี ๒ อย่างนี้แล.
                                                                กฐินขันธกะ ที่ ๗ จบ.
                                ในขันธกะนี้มี ๑๒ เรื่อง และเปยยาลมุข ๑๑๘.
                                                                ________________


                                                            หน้าที่ ๑๓๒

                                                                หัวข้อประจำขันธกะ
                [๑๒๗] ๑. ภิกษุชาวปาไฐยรัฐ ๓๐ รูป จำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกต รัญจวนใจ ออก
พรรษาแล้วมีจีวรเปียกปอนมาเฝ้าพระพุทธชินเจ้า ๒. ต่อไปนี้เป็นเรื่องกฐิน คือได้อานิสงส์
กฐิน ๕ คือ ก. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา ข. เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ ค. ฉัน
คณะโภชน์ได้ ง. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา จ. จีวรลาภอันเกิดในที่นั้น เป็นของภิกษุ
ผู้ได้กรานกฐินแล้ว ๓. ญัตติทุติยกรรมวาจา ๔. อย่างนี้กฐินเป็นอันกราน อย่างนี้ไม่เป็น
อันกราน คือ กฐินกรานด้วยอาการเพียงขีดรอย ซัก กะ ตัด เนา เย็บ ด้น ทำลูกดุม
ทำรังดุม ประกอบผ้าอนุวาต ประกอบผ้าอนุวาตด้านหน้า ดามผ้า ย้อม ทำนิมิต พูดเลียบเคียง
ผ้าที่ยืมเขามา เก็บไว้ค้างคืน เป็นนิสสัคคียะ ไม่ได้ทำกัปปะพินทุ นอกจากไตรจีวร นอกจาก
จีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ซึ่งตัดดีแล้วทำให้เป็นจีวรมีมณฑลนอกจากบุคคลกราน กรานโดย
ไม่ชอบ ภิกษุอยู่นอกสีมาอนุโมทนากฐินอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าไม่เป็นอันกราน
๕. กฐินกรานด้วยผ้าใหม่ ผ้าเทียมใหม่ ผ้าเก่า ผ้าบังสุกุล ผ้าตกตามร้าน ผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิต
ผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา ไม่ใช่ผ้าที่ยืมเขามา ไม่ใช่ผ้าที่ทำค้างคืน ไม่ใช่เป็นผ้านิสสัคคียะ
ผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว ผ้าไตรจีวร ผ้ามีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้เป็นจีวรมี
มณฑลเสร็จในวันนั้น บุคคลกราน กรานโดยชอบ ภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนา อย่างนี้ชื่อว่า
กรานกฐิน ๖. มาติกาเพื่อเดาะกฐิน ๘ ข้อ คือ ๑. กำหนดด้วยหลีกไป ๒. กำหนด
ด้วยทำจีวรเสร็จ ๓. กำหนดด้วยตกลงใจ ๔. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย ๕. กำหนดด้วย
ได้ยินข่าว ๖. กำหนดด้วยสิ้นหวัง ๗. กำหนดด้วยล่วงเขต ๘. กำหนดด้วยเดาะ
พร้อมกัน ๙. อาทายสัตตกะ ๗ วิธี คือ ๑. ถือจีวรที่ทำเสร็จแล้วไปคิดว่าจักไม่กลับ การ
เดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยหลีกไป ๒. ถือจีวรไปนอกสีมา คิดว่าจักทำ ณ ที่นี้ จักไม่
กลับละ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ๓. ถือจีวรไปนอกสีมา คิดว่า
จักไม่ให้ทำ จักไม่กลับ การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยตกลงใจ ๔. ถือจีวรไปนอกสีมา
คิดว่าจักให้ทำจีวร ณ ที่นี้ จักไม่กลับละ กำลังทำ จีวรเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยผ้าเสียหาย ๕. ถือจีวรไป คิดว่าจักกลับ ให้ทำจีวรนอกสีมา ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว


                                                            หน้าที่ ๑๓๓

ได้ยินข่าวว่า ในอาวาสนั้น กฐินเดาะแล้ว การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยได้ยินข่าว
๖. ถือจีวรไปคิดว่าจักกลับ ให้ทำจีวรนอกสีมา ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วโอ้เอ้อยู่นอกสีมาจนกฐินเดาะ
การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนดด้วยล่วงเขต ๗. ถือจีวรไป คิดว่าจักกลับ ให้ทำจีวร ณ
ภายนอกสีมา ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว คิดว่าจักกลับ จักกลับ กลับทันกฐินเดาะ การเดาะกฐิน
ของภิกษุนั้นพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ๘. สมาทายสัตตกะมี ๗ วิธี ๙. อาทายฉักกะ และ
สมาทายฉักกะ คือ ถือจีวรที่ทำค้างไว้ไปอย่างละ ๖ วิธี ไม่มีการเดาะกำหนดด้วยหลีกไป
๑๐. อาทายภาณวาร กล่าวถึงภิกษุถือจีวรไปนอกสีมา คิดว่าจักให้ทำจีวร มี ๓ มาติกา คือ
๑. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ๒. กำหนดด้วยตกลงใจ ๓. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กล่าวถึง
ภิกษุถือผ้าหลีกไป คิดว่าจักไม่กลับไปนอกสีมา แล้วคิดว่าจักทำ มี ๓ มาติกา คือ ๑. กำหนด
ด้วยทำจีวรเสร็จ ๒. กำหนดด้วยตกลงใจ ๓. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กล่าวถึงภิกษุถือจีวร
หลีกไป ด้วยไม่ได้ตั้งใจ ภายหลังเธอคิดว่าจักไม่กลับ มี ๓ นัย กล่าวถึงภิกษุถือจีวรไป คิดว่า
จักกลับ อยู่นอกสีมา คิดว่าจักทำจีวร จักไม่กลับ ให้ทำจีวรเสร็จ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น
กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ ด้วยตกลงใจ ด้วยผ้าเสียหาย ด้วยได้ยินข่าว ด้วยล่วงเขต ด้วยเดาะ
พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย รวมเป็น ๑๕ ภิกษุนำจีวรหลีกไปและนำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปอีก ๔ วาระ
ก็เหมือนกัน รวมทั้งหมด ๑๕ วิธี หลีกไปด้วยสิ้นหวัง ด้วยหวังว่าจะได้ หลีกไปด้วยกรณียะ
บางอย่าง ทั้งสามอย่างนั้นนักปราชญ์พึงทราบโดยนัยอย่างละ ๑๒ วิธี ๑๑. หวังได้ส่วนจีวร
ผาสุวิหาร คือ อยู่ตามสบาย ๕ ข้อ ๑๒. กฐินมีปลิโพธและสิ้นปลิโพธ นักปราชญ์พึงแต่ง
หัวข้อตามเค้าความเทอญ.
                                                                หัวข้อประจำขันธกะ จบ.
                                                                ____________________


                                                            หน้าที่ ๑๓๔

                                                                                จีวรขันธกะ
                                                เรื่องคนมีทรัพย์ ชาวพระนครราชคฤห์
                [๑๒๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นพระนครเวสาลี เป็นบุรีมั่งคั่ง
กว้างขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด
,๗๐๗ หลัง มีสวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ และมีหญิงงามเมือง
ชื่ออัมพปาลีเป็นสตรีทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง ชำนาญ
ในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี คนทั้งหลายที่มีความประสงค์ต้องการพาตัวไปร่วม
อภิรมย์ด้วย ราคาตัวคืนละ ๕๐ กษาปณ์ พระนครเวสาลีงามเพริศพริ้งยิ่งกว่าประมาณ เพราะ
นางอัมพปาลีหญิงงามเมืองนั้น ครั้งนั้น พวกคนมีทรัพย์คณะหนึ่ง ชาวพระนครราชคฤห์
ได้เดินทางไปพระนครเวสาลีด้วยกรณียะบางอย่าง และได้เห็นพระนครเวสาลีมั่งคั่งกว้างขวาง
มีคนมาก มีคนคับคั่ง และมีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง
มีสวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ และมีนางอัมพปาลีหญิงงามเมือง
ผู้ทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง
และประโคมดนตรี คนทั้งหลายที่มีความประสงค์ต้องการตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วย ราคาตัวคืนละ
๕๐ กษาปณ์ และพระนครเวสาลี งามเพริศพริ้งยิ่งกว่าประมาณ เพราะนางอัมพปาลีหญิงงามเมือง
นั้น ครั้นพวกเขาเสร็จกรณียะนั้นในพระนครเวสาลีแล้ว กลับมาพระนครราชคฤห์ตามเดิม
เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ครั้นแล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า ขอเดชะฯ
พระนครเวสาลี เป็นบุรีที่มั่งคั่ง กว้างขวาง มีคนมาก มีคนคับคั่ง และมีอาหารหาได้ง่าย
มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวนดอกไม้ ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี
,๗๐๗ สระ และมีนางอัมพปาลีหญิงงามเมืองผู้ทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา ประกอบด้วย
ผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้องและประโคมดนตรี คนทั้งหลายที่มีความ
ประสงค์ต้องการพาตัวไปร่วมอภิรมย์ด้วยราคาตัวคืนละ ๕๐ กษาปณ์ และพระนครเวสาลีงาม
เพริศพริ้งยิ่งกว่าประมาณ เพราะนางอัมพปาลีหญิงงามเมืองนั้น ขอเดชะฯ แม้ชาวเราจะตั้ง
หญิงงามเมืองขึ้นบ้าง ก็จะเป็นการดี.


                                                            หน้าที่ ๑๓๕

                พระราชารับสั่งว่า พนาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเสาะหากุมารีผู้มีลักษณะงามเช่นนั้น
ที่ควรจะคัดเลือกให้เป็นหญิงงามเมือง.
                                                                กำเนิดชีวกโกมารภัจจ์
                ก็สมัยนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีกุมารีชื่อสาลวดีเป็นสตรีทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา
ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง จึงพวกคนมีทรัพย์ชาวพระนครราชคฤห์ ได้คัดเลือกกุมารีสาลวดี
เป็นหญิงงามเมือง ครั้นนางกุมารีสาลวดี ได้รับเลือกเป็นหญิงงามเมืองแล้ว ไม่ช้านานเท่าไรนัก
ก็ได้เป็นผู้ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงเครื่องดนตรี มีคนที่มีความประสงค์ต้องการตัว
ไปร่วมอภิรมย์ ราคาตัวคืนละ ๑๐๐ กษาปณ์ ครั้นมิช้ามินาน นางสาลวดีหญิงงามเมืองก็ตั้งครรภ์
จึงนางมีความคิดเห็นว่า ธรรมดาสตรีมีครรภ์ไม่เป็นที่พอใจของพวกบุรุษ ถ้าใครๆ ทราบว่าเรา
มีครรภ์ ลาภผลของเราจักเสื่อมหมด ถ้ากระไร เราควรแจ้งให้เขาทราบว่าเป็นไข้ ต่อมานางได้
สั่งคนเฝ้าประตูไว้ว่า นายประตูจ๋า โปรดอย่าให้ชายใดๆ เข้ามา และผู้ใดถามหาดิฉัน จงบอก
ให้เขาทราบว่าเป็นไข้นะ
                คนเฝ้าประตูนั้นรับคำนางสาลวดีหญิงงามเมืองว่า จะปฏิบัติตามคำสั่งเช่นนั้น หลังจากนั้น
อาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น นางได้คลอดบุตรเป็นชาย และสั่งกำชับทาสีว่า แม่สาวใช้
จงวางทารกนี้ลงบนกระด้งเก่าๆ แล้วนำออกไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ
                ทาสีนั้นรับคำนางว่า ทำเช่นนั้นได้ เจ้าค่ะ ดังนี้ แล้ววางทารกนั้นลงบนกระด้งเก่าๆ
นำออกไปทิ้งไว้ ณ กองหยากเยื่อ
                ก็ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เจ้าชายอภัย กำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ได้ทอดพระเนตร
เห็นทารกนั้นอันฝูงกาห้อมล้อมอยู่ ครั้นแล้วได้ถามมหาดเล็กว่า พนายนั่นอะไรฝูงการุมกันตอม
                ม. ทารก พ่ะย่ะค่ะ
                อ. ยังเป็นอยู่หรือ พนาย
                ม. ยังเป็นอยู่ พ่ะย่ะค่ะ
                อ. พนาย ถ้าเช่นนั้น จงนำทารกนั้นไปที่วังของเรา ให้นางนมเลี้ยงไว้
                คนเหล่านั้นรับสนองพระบัญชาว่า อย่างนั้น พ่ะย่ะค่ะ แล้วนำทารกนั้นไปวังเจ้าชายอภัย
มอบแก่นางนมว่า โปรดเลี้ยงไว้ด้วย อาศัยคำว่า ยังเป็นอยู่ เขาจึงขนานนามทารกนั้นว่า ชีวก

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘