พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 126-130

                                                            หน้าที่ ๑๒๖

ก็นี่อติเรกบาตรบังเกิดแก่เรา และเราก็ใคร่จะถวายแก่ท่านพระสารีบุตร, แต่ท่านอยู่ถึงเมืองสาเกต.
เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ? ครั้นแล้วท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ยังอีกนานเท่าไร สารีบุตรจึงจะกลับมา?.
                พระอานนท์กราบทูลว่า ท่านจะกลับมาในวันที่ ๙ หรือ ๑๐ พระพุทธเจ้าข้า.
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอติเรก-
บาตรไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง, อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระอนุบัญญัติ
                ๔๐. ๑. ก. พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุให้ล่วง
กำหนดนั้นไป, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.ฯ
                                                เรื่องพระอานนท์ จบ.
                                                ___________
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๑๑๙] บทว่า ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง คือ ทรงไว้ได้ ๑๐ วัน เป็นอย่างมาก.
                ที่ชื่อว่า อติเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป.
                ที่ชื่อว่า บาตร มี ๒ อย่าง คือ บาตรเหล็ก ๑ บาตรดินเผา ๑.
                                                ขนาดของบาตร
                บาตรมี ๓ ขนาด คือ บาตรขนาดใหญ่ ๑ บาตรขนาดกลาง ๑ บาตรขนาดเล็ก ๑.
                บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกแห่งข้าวสารกึ่งอาฬหก ของเคี้ยวเท่าส่วนที่ ๔ กับข้าวพอ
สมควรแก่ข้าวสุกนั้น.
                บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกแห่งข้าวสาร ๑ นาฬี ของเคี้ยวเท่าส่วนที่ ๔ กับข้าวพอ-
สมควรแก่ข้าวสุกนั้น.
                บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกแห่งข้าวสาร ๑ ปัตถะ ของเคี้ยวเท่าส่วนที่ ๔ กับข้าวพอ-
สมควรแก่ข้าวสุกนั้น.
                ใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้ เล็กกว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้.


                                                            หน้าที่ ๑๒๗

                [๑๒๐] คำว่า ให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ ความว่า เมื่ออรุณที่ ๑๑ ขึ้นมา
บาตรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละบาตรนั้น อย่างนี้:-
                                                                วิธีเสียสละ
                                                เสียสละแก่สงฆ์
                [๑๒๑] ภิกษุรูปนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่
พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
                ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้าล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละบาตร
ใบนี้แก่สงฆ์.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่
เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. บาตรใบนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ
สละ, เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้บาตร
ใบนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
                                                เสียสละแก่คณะ
                [๑๒๒] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
                ท่านเจ้าข้า บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำสละ, ข้าพเจ้าสละบาตร
ใบนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
                ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่
เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. บาตรใบนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ,
เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่าน-
ทั้งหลายพึงให้บาตรใบนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
                                                เสียสละแก่บุคคล
                [๑๒๓] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า


                                                            หน้าที่ ๑๒๘

                ท่าน บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้
แก่ท่าน.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เสียสละ
ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้บาตรใบนี้แก่ท่าน ดั่งนี้.ฯ
                                                                บทภาชนีย์
                                                นิสสัคคิยปาจิตตีย์
                [๑๒๔] บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสงสัย, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บาตรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บาตรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บาตรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บาตรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บาตรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บาตรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บาตรยังไม่แตก ภิกษุสำคัญว่าแตกแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บาตรยังไม่ถูกชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกชิงไปแล้ว, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกกฏ
                [๑๒๕] บาตรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้เสียสละ บริโภค, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                บาตรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว บริโภค, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                บาตรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสงสัย บริโภค, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                บาตรยังไม่ล่วง ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง บริโภค, ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๑๒๖] ภิกษุอธิษฐาน ๑, ภิกษุวิกัปไว้ ๑, ภิกษุสละให้ไป ๑, บาตรหายไป ๑, บาตร
ฉิบหาย ๑, บาตรแตก ๑, โจรชิงเอาไป ๑, ภิกษุถือวิสาสะ ๑, ในภาย ๑๐ วัน ๑, ภิกษุวิกล-
จริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล


                                                            หน้าที่ ๑๒๙

                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๑๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ ไม่ให้คืนบาตรที่เสียสละ. ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ภิกษุ
เสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ หรือบุคคล จะไม่คืนให้ไม่ได้, ภิกษุรูปใดไม่คืนให้,
ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
                                                ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
                                                ________________


                                                            หน้าที่ ๑๓๐

                                                ๓. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒
                                                เรื่องภิกษุหลายรูป
                [๑๒๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนคร-
กบิลพัสดุ์ สักกชนบท. ครั้งนั้น นายช่างหม้อผู้หนึ่งปวารณาภิกษุทั้งหลายไว้ว่า พระคุณเจ้า
เหล่าใดต้องการบาตร กระผมจักรถวายบาตรแก่พระคุณเจ้าเหล่านั้น.
                สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาเป็นอันมาก. ภิกษุที่มีบาตรขนาด
เล็ก ย่อมขอบาตรขนาดใหญ่, ภิกษุที่มีบาตรขนาดใหญ่ ย่อมขอบาตรขนาดเล็ก. จึงนายช่าง-
หม้อนั้น มัวทำบาตรเป็นอันมากถวายภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่สามารถจะทำของสำหรับขายอย่างอื่นได้,
แม้ตนเองก็ไม่พอครองชีพ, แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก.
                ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึง
ได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามากมายเล่า? นายช่างหม้อผู้นี้มัวทำบาตรเป็นอันมากมาถวาย
พระสมณะเหล่านี้อยู่ จึงไม่สามารถจะทำของสำหรับขายอย่างอื่นได้, แม้ตนเองก็ไม่พอครองชีพ,
แม้บุตรภรรยาของเขาก็ลำบาก
                ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขอบาตรเขามาไว้เป็นอันมากเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค.
                                                ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลาย
ไม่รู้จักประมาณขอบาตรเขามาไว้มากมาย จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ
เหล่านี้นั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน ภิกษุ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘