พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หน้า 121-125

                                                            หน้าที่ ๑๒๑

                                                                ทรงห้ามบวชราชภัฏ
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราชภัฏ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใด
ให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ห้ามบวชโจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง
                [๑๐๓] ก็โดยสมัยนั้นแล โจรองคุลิมาลบวชในสำนักภิกษุ. ชาวบ้านเห็นแล้วพากัน
หวาดเสียวบ้าง ตกใจบ้าง หนีไปบ้าง ไปโดยทางอื่นบ้าง เมินหน้าไปทางอื่นบ้าง ปิดประตู
เสียบ้าง. ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
จึงให้โจรที่ขึ้นชื่อโด่งดังบวชเล่า. ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง ภิกษุ
ไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                อภยูวรภาณวาร
                                                                ห้ามบวชโจรหนีเรือนจำ
                [๑๐๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระบรมราชา-
นุญาตไว้ว่า กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น
ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
                สมัยต่อมา บุรุษคนหนึ่งทำโจรกรรมแล้ว ถูกเจ้าหน้าที่จองจำไว้ในเรือนจำ. เขาหนี
เรือนจำหลบไปบวชในสำนักภิกษุ. คนทั้งหลายเห็นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้คือโจรหนี
เรือนจำคนนั้น ถ้ากระไร พวกเราจงจับมัน.
                คนบางคนพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้ เพราะพระเจ้าพิมพิสาร
จอมเสนามาคธราช ได้มีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะ


                                                            หน้าที่ ๑๒๒

เชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
                ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้
มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้โจรผู้หนีเรือนจำบวชเล่า. ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โจรผู้หนีเรือนจำ ภิกษุไม่
พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                ห้ามบวชโจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับ
                [๑๐๕] ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งทำโจรกรรม แล้วหนีไปบวชในสำนักภิกษุ
และบุรุษนั้นถูกเจ้าหน้าที่ออกหมายประกาศไว้ทั่วราชอาณาจักรว่า พบในที่ใด พึงฆ่าเสียในที่นั้น.
คนทั้งหลายเห็นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้ คือโจรผู้ถูกออกหมายจับคนนั้น ถ้ากระไร
พวกเราจงฆ่ามันเสีย.
                คนบางพวกพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้ เพราะพระเจ้าพิมพิสาร
จอมเสนามาคธราชได้มีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
                ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้
มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้โจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับบวชเล่า. ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับ
ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ
                                                ห้ามบวชบุรุษผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย
                [๑๐๖] ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย บวชในสำนักภิกษุ-
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงให้บุรุษผู้
ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวายบวชเล่า. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.


                                                            หน้าที่ ๑๒๓

                พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยน
ด้วยหวาย ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ห้ามบวชบุรุษผู้ถูกสักหมายโทษ
                [๑๐๗] ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งถูกลงอาญาสักหมายโทษ บวชในสำนักภิกษุ
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงให้บุรุษผู้ถูก
ลงอาญาสักหมายโทษบวชเล่า. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ถูกลงอาญาสัก
หมายโทษ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ห้ามบวชคนมีหนี้
                [๑๐๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ลูกหนี้คนหนึ่งหนีบวชในสำนักภิกษุ. พวกเจ้าทรัพย์พบแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้คือลูกหนี้ของพวกเราคนนั้น ถ้ากระไร พวกเราจงจับมัน.
                เจ้าทรัพย์บางพวกพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้ เพราะพระเจ้า
พิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้มีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระ
สมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
                ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้
มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้คนมีหนี้บวชเล่า. ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลความเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนมีหนี้ ภิกษุไม่พึงให้บวช
รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ห้ามบวชทาส
                [๑๐๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ทาสคนหนึ่งหนีไปบวชในสำนักภิกษุ. พวกเจ้านายพบเข้า
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้คือทาสของพวกเราคนนั้น ถ้ากระไร พวกเราจงจับมัน.
                เจ้านายบางพวกพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้ เพราะพระเจ้า
พิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนัก


                                                            หน้าที่ ๑๒๔

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
                ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้
มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้ทาสบวชเล่า. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเป็นทาส ภิกษุไม่พึงบวช
รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ทรงอนุญาตการปลงผม
                [๑๑๐] ก็โดยสมัยนั้นแล บุตรช่างทองศีรษะโล้นคนหนึ่ง ทะเลาะกับมารดาบิดา แล้ว
ไปอารามบวชในสำนักภิกษุ. ครั้งนั้น มารดาบิดาของเขาสืบหาเขาอยู่ ได้ไปอารามถามภิกษุทั้งหลาย
ว่า ท่านเจ้าข้า ท่านทั้งหลายเห็นเด็กชายมีรูปร่างเช่นนี้บ้างไหม.
                บรรดาภิกษุพวกที่ไม่รู้เลยตอบว่า พวกอาตมาไม่รู้ พวกที่ไม่เห็นเลยตอบว่า พวก
อาตมาไม่เห็น
                ครั้นมารดาบิดาของเขาสืบหาอยู่ ได้เห็นเขาบวชแล้วในสำนักภิกษุ จึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ ช่างไม่ละอาย เป็นคนทุศีล พูดเท็จ
รู้อยู่แท้ๆ บอกว่าไม่รู้ เห็นอยู่ชัดๆ บอกว่าไม่เห็น เด็กคนนี้บวชแล้วในสำนักภิกษุ. ภิกษุ
ทั้งหลายได้ยินมารดาบิดาของบุตรช่างทองศีรษะโล้นนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อปโลกน์ต่อ
สงฆ์ เมื่อการปลงผม
                                                                พวกเด็กชายสัตตรสวัคคีย์บวช
                [๑๑๑] ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์มีเด็กชายพวกหนึ่ง ๑๗ คน เป็นเพื่อนกัน
เด็กชายอุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กพวกนั้น. ครั้งนั้น มารดาบิดาของเด็กชายอุบาลีได้หารือกันว่า
ด้วยวิธีอะไรหนอ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีจะอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก.
ครั้นแล้วหารือกันต่อไปว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจะพึงเรียนหนังสือ ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสอง


                                                            หน้าที่ ๑๒๕

ล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลี จะพึงอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก แล้วหารือกันต่อไปอีกว่า
ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนหนังสือ นิ้วมือก็จักระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณ ด้วยอุบายอย่างนี้แหละ
เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีจะพึงอยู่เป็นสุข และไม่ต้องลำบาก. ครั้นต่อมาจึงหารือ
กันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาคำนวณเขาจักหนักอก ถ้าจะพึงเรียนวิชาดูรูปภาพ ด้วยอุบาย
อย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีก็จะพึงอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก
ครั้นต่อมา จึงหารือกันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาดูรูปภาพ นัยน์ตาทั้งสองของเขาจักชอกช้ำ
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มีปกติเป็นสุข มีความประพฤติเรียบร้อย ฉันอาหาร
ที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลีจะพึงบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
ด้วยวิธีนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก.
                เด็กชายอุบาลีได้ยินถ้อยคำที่มารดาบิดาสนทนาหารือกัน ดังนี้ จึงเข้าไปหาเพื่อนเด็ก
เหล่านั้น ครั้นแล้วได้พูดชวนว่า มาเถิดพวกเจ้า พวกเราจักพากันไปบวชในสำนักพระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตร.
                เด็กชายเหล่านั้นพูดว่า ถ้าเจ้าบวช แม้พวกเราก็จักบวชเหมือนกัน.
                เด็กชายเหล่านั้นไม่รอช้า ต่างคนต่างก็เข้าไปหามารดาบิดาของตนๆ แล้วขออนุญาตว่า
ขอท่านทั้งหลายจงอนุญาตให้ข้าพเจ้า ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.
                มารดาบิดาของเด็กชายเหล่านั้นก็อนุญาตทันที ด้วยคิดเห็นว่า เด็กเหล่านี้ต่างก็มีฉันทะ
ร่วมกัน มีความมุ่งหมายดีด้วยกันทุกคน.
                เด็กพวกนั้นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา. ภิกษุทั้งหลายให้พวกเขาบรรพชา
อุปสมบท.
                ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้นลุกขึ้นร้องไห้ วิงวอนว่า ขอท่านทั้งหลาย
จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว.
                ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย จงรอให้ราตรีสว่างก่อน ถ้าข้าวต้มมี
จักได้ดื่ม ถ้าข้าวสวยมี จักได้ฉัน ถ้าของเคี้ยวมี จักได้เคี้ยว ถ้าข้าวต้ม ข้าวสวย หรือของ
เคี้ยวไม่มี ต้องเที่ยวบิณฑบาตฉัน. ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายแม้กล่าวอยู่อย่างนี้แล
ก็ยังร้องไห้วิงวอนอยู่อย่างนั้นแลว่า จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว ถ่ายอุจจาระ
รดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง ซึ่งเสนาสนะ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘