พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 121-125

                                                            หน้าที่ ๑๒๑

                                อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕
                                เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
                [๑๙๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นกุลุปิกาของสกุลแห่งหนึ่ง รับ
ภัตตาหารเป็นประจำ จึงภิกษุณีนั้นครั้นเวลาเช้า ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เดินผ่านเข้า
ไปทางสกุลนั้น ครั้นถึงจึงนั่งบนอาสนะแล้วไม่บอกลาเจ้าของบ้านกลับไป ทาสีแห่งสกุลนั้น
มัวสาละวนเก็บกวาดเรือน ได้เก็บอาสนะนั้นลงในกระโถน คนในบ้านไม่เห็นอาสนะ จึงถาม
ภิกษุณีนั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า อาสนะนั้นอยู่ที่ไหน?
                ภิกษุณีนั้นปฏิเสธว่า อาวุโส ดิฉันไม่เห็นอาสนะนั้น.
                คนเหล่านั้นกล่าวคาดคั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านจงให้อาสนะนั้น ดังนี้แล้ว ได้บอกเลิก
ถวายภัตตาหารประจำ ภายหลังเขาชำระเรือนพบอาสนะนั้นอยู่ในกระโถน จึงขอขมาโทษภิกษุณีนั้น
แล้วได้เริ่มต้นถวายภัตตาหารประจำต่อไป.
                ส่วนภิกษุณีนั้นได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีเข้าสู่สกุลในเวลา ก่อนอาหารนั่งบนอาสนะแล้ว จึง
ไม่ได้บอกลาเจ้าของบ้านก่อนกลับเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีเข้าสู่สกุล
ในเวลาก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว ไม่บอกลาเจ้าของบ้านก่อนกลับ จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีเข้าสู่สกุลในเวลา
ก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว จึงได้ไม่บอกลาเจ้าของบ้านก่อนกลับเล่า การกระทำของนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:


                                                            หน้าที่ ๑๒๒

                                พระบัญญัติ
                ๗๐. ๕. อนึ่ง ภิกษุณีใด เข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลาก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะ
แล้ว ไม่บอกลาเจ้าของบ้าน หลีกไป เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๑๙๘] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้. ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า เวลาก่อนอาหาร คือเวลาอรุณขึ้นตราบเท่าเที่ยงวัน.
                ที่ชื่อว่า สกุล ได้แก่สกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุลแพศย์ สกุลศูทร์.
                บทว่า เข้าไป คือ ไปในสกุลนั้น.
                ที่ชื่อว่า อาสนะ ได้แก่ เอกเทสที่เขาเรียกกันว่าที่สำหรับนั่งพับพแนงเชิง.
                บทว่า นั่ง คือ นั่งบนอาสนะนั้น.
                คำว่า ไม่บอกลาเจ้าของบ้าน หลีกไป ความว่า ไม่อำลาคนในสกุลนั้นซึ่งเป็นเจ้าของ

ถวาย.
                เดินพ้นชายคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ในที่แจ้ง เดินล่วงอุปจาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                บทภาชนีย์
                                ติกะปาจิตตีย์
                [๑๙๙] ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสงสัย หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า บอกลาแล้ว หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                ติกะทุกกฏ
                ไม่ใช่สถานที่สำหรับนั่งพับพแนงเชิง ต้องอาบัติทุกกฏ.
                บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา ต้องอาบัติทุกกฏ.
                บอกลาแล้ว ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.


                                                            หน้าที่ ๑๒๓

                                ไม่ต้องอาบัติ
                บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกลาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
                                อนาปัตติวาร
                [๒๐๐] บอกลาแล้วไป ๑ อาสนะเคลื่อนที่ไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
                                _______________


                                                            หน้าที่ ๑๒๔

                                อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
                [๒๐๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทา เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร
แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บนอาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้าน คนในบ้านกระดากภิกษุณีถุลลนันทา
ไม่กล้านั่ง ไม่กล้านอนบนอาสนะ เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง
ได้เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บนอาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้าน
เล่า ...
                ภิกษุณี ทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่
เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา จึงได้เข้าไปสู่สกุลใน
เวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บนอาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้านเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทา
เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บนอาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้าน
จริงหรือ?
                ภิกษุณีทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้เข้า
ไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บนอาสนะไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้านเล่า
การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๗๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหารไม่บอกกล่าวพวกเจ้าของ
บ้าน นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.


                                                            หน้าที่ ๑๒๕

                                สิกขาบทวิภังค์
                [๒๐๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้. ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า เวลาหลังอาหาร ได้แก่เวลาเที่ยงล่วงไปแล้ว ตราบเท่าพระอาทิตย์อัสดงคต.
                ที่ชื่อว่า สกุล ได้แก่สกุล ๔ คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุลแพศย์ สกุลศูทร์
                บทว่า เข้าไป คือ ไปในสกุลนั้น.
                คำว่า ไม่บอกกล่าวพวกเจ้าของบ้าน คือ ไม่บอกคนในสกุลนั้นซึ่งเป็นเจ้าของถวาย.
                ที่ชื่อว่า อาสนะ ได้แก่สถานที่เขาเรียกกันว่าแท่นหรือเตียงอันว่าง.
                บทว่า นั่ง นั่งลงบนอาสนะนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า นอน คือ นอนลงบนอาสนะนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                บทภาชนีย์
                                ติกะปาจิตตีย์
                [๒๐๓] มิได้บอกกล่าว ภิกษุณีสำคัญว่ามิได้บอกกล่าว นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                มิได้บอกกล่าว ภิกษุณีสงสัย นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                มิได้บอกกล่าวภิกษุณีสำคัญว่าบอกกล่าวแล้ว นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                                ติกะทุกกฏ
                นั่ง ณ สถานอันมิใช่แท่นหรือเตียง ต้องอาบัติทุกกฏ.
                บอกกล่าวแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังมิได้บอกกล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ.
                บอกกล่าวแล้ว ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                ไม่ต้องอาบัติ
                บอกกล่าวแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกกล่าวแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
                                อนาปัตติวาร
                [๒๐๔] บอกแล้ว นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ ๑ บนอาสนะที่เขาปูไว้เป็นประจำ ๑
อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
                                _______________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘