พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 116-120

                                                            หน้าที่ ๑๑๖

                ที่ชื่อว่า สถานที่กำบัง ได้แก่ สถานที่ที่เขาบังด้วยฝา บานประตู ลำแพน ม่าน ต้นไม้
เสา หรือฉางข้าว อย่างใดอย่างหนึ่ง.
                ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย มิใช่สัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถ จะยืนร่วม เจรจาร่วมได้.
                บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.
                คำว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีรูปหนึ่ง
                บทว่า ยืนร่วมก็ดี คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า เจรจาร่วมกันก็ดี คือ เจรจาในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม พ้นช่วงระยะแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ยืนร่วมหรือเจรจาร่วมกับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกาย
คล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                อนาปัตติวาร
                [๑๙๐] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ไม่เพ่งที่ลับยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑
ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
                                _______________


                                                            หน้าที่ ๑๑๗

                                อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓
                เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี
                [๑๙๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ญาติผู้ชายของภิกษุณีอันเตวาสีนีแห่งพระภัททา
กาปิลานีเถรี ได้จากบ้านไปสู่พระนครสาวัตถีด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฝ่ายภิกษุณีนั้นทราบแล้วว่า
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการยืนร่วม เจรจาร่วม กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่กำบัง จงยืนร่วม
บ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษคนนั้นแหละหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่แจ้ง.
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้
ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่แจ้งเล่า.
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณียืนร่วมบ้าง
เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่แจ้ง จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง
เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในสถานที่แจ้งเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๖๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี ใน
สถานที่แจ้ง เป็นปาจิตตีย์.
                เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๑๙๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้. ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.


                                                            หน้าที่ ๑๑๘

                ที่ชื่อว่า สถานที่แจ้ง ได้แก่ สถานที่อันมิได้กำบังด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งคือ ฝา บานประตู
ลำแพน ม่าน ต้นไม้ เสา หรือฉางข้าว.
                ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย มิใช่สัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจาร่วมได้.
                บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.
                บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีรูปหนึ่ง.
                บทว่า ยืนร่วมก็ดี คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้าย
มนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                อนาปัตติวาร
                [๑๙๓] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ไม่เพ่งที่ลับ ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑
ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑๐ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
                                ________________


                                                            หน้าที่ ๑๑๙

                                อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
                [๑๙๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทา ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง
กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษ หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพ่งบ้าง
ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้าง.
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง
ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้างเล่า.
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา
ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง
ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้าง จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้
ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง
ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้างเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๖๙. ๔. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยืนร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี กระซิบใกล้หูก็ดี กับบุรุษ
หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนก็ดี ในตรอกตันก็ดี ในทางสามแพร่งก็ดี ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไป
ก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.


                                                            หน้าที่ ๑๒๐

                                สิกขาบทวิภังค์
                [๑๙๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้. ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า ถนน ได้แก่ ทางเดิน.
                ที่ชื่อว่า ตรอกตัน ได้แก่ ทางที่เข้าทางใดออกทางนั้น.
                ที่ชื่อว่า ทางสามแพร่ง ได้แก่ชุมทางที่เที่ยวเตร่.
                ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย มิใช่สัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจาร่วมได้.
                บทว่า กับ คือด้วยกัน.
                บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง.
                บทว่า ยืนร่วมก็ดี คือ ยืนร่วมในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า กระซิบใกล้หูก็ดี คือ บอกเนื้อความใกล้หูของบุรุษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                พากย์ว่า ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก็ดี คือ ประสงค์จะประพฤติอนาจาร จึงส่งภิกษุณี
ผู้เป็นเพื่อนกลับไป ต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนละไปใกล้จะพ้นสายตา หรือสุดเสียง
สั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนพ้นไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้
มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                อนาปัตติวาร
                [๑๙๖] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน ๑ ไม่เพ่งที่ลับ ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑
ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม ๑ ไม่ประสงค์จะประพฤติอนาจาร มีกิจจำเป็นจึงส่งภิกษุณีผู้
เพื่อนกลับ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
                                _______________

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘