พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 116-120

                                                            หน้าที่ ๑๑๖

                ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ, ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า
เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสิ่งของนี้แก่สงฆ์.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ. ถ้าคนทำการวัด
หรืออุบาสกเดินมาในสถานที่เสียสละนั่น, พึงบอกเขาว่า ท่านจงรู้ของสิ่งนี้ ถ้าเขาถามว่า จะให้
ผมนำสิ่งนี้ไปหาอะไรมาอย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา; ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ
เช่นเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย. ถ้าเขานำของสิ่งนั้นไป แลกของ ที่เป็นกัปปิยะมาถวาย;
เว้นภิกษุผู้ซื้อขายด้วยรูปิยะ ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป. ถ้าได้อย่างนี้, นั่นเป็นการดี; ถ้าไม่ได้
                พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของสิ่งนี้, ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี; ถ้าเขาไม่ทิ้งให้,
พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.
                                                องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
                องค์ ๕ นั้น คือ ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ, ๒. ไม่ถึงความลำเอียง
เพราะความเกลียดชัง, ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย, ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว,
และ ๕. รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้ง หรือไม่เป็นอันทิ้ง.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-
                                                วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
                พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ
ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                                                                คำสมมติ
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงสมมติ
ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี้เป็นญัตติ.
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ, การสมมติ
ภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ชอบแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง. ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด,
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
                ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์. เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
                ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก, ถ้าทิ้งหมายที่ตก; ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                บทภาชนีย์
                                                ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
                [๑๑๑] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ, ซื้อขายรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๑๑๗

                รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
                มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกกฏ
                มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ... ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๑๑๒] ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
                                                _______________


                                                            หน้าที่ ๑๑๘

                                                ๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
                                                เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
                [๑๑๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นผู้ชำนาญ
ทำจีวรกรรม เธอเอาผ้าเก่าๆ ทำผ้าสังฆาฏิ ย้อมแต่งดีแล้วใช้ห่ม.
                ขณะนั้นแล ปริพาชกผู้หนึ่งห่มผ้ามีราคามาก เข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึง
สำนัก. ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ผ้าสังฆาฏิผืนนี้ของท่านงามแท้
จงแลกกันกับผ้าของข้าพเจ้าเถิด.
                ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า ท่านจงรู้เอาเองเถิด.
                ปริพาชกตอบสนองว่า ข้าพเจ้ารู้ ขอรับ.
                ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตอบว่า ตกลง ขอรับ แล้วได้ให้ไป.
                จึงปริพาชกนั้น ได้ห่มผ้าสังฆาฏิผืนนั้น ไปสู่ปริพาชการาม.
                พวกปริพาชกพากันรุมถามปริพาชกผู้นั้นว่า สังฆาฏิผืนนี้ของท่านช่างงามจริง ท่านได้
มาแต่ไหน?.
                ปริพาชกผู้นั้นตอบว่า ผมเอาผ้าของผมผืนนั้นแลกเปลี่ยนมา.
                พวกปริพาชกกล่าวว่า ผ้าสังฆาฏิของท่านผืนนี้จักอยู่ได้สักกี่วัน, ผ้าของท่านผืนนั้นแหละ
ดีกว่า.
                ปริพาชกผู้นั้นเห็นจริงว่า ปริพาชกทั้งหลายพูดถูกต้อง. ผ้าสังฆาฏิของเราผืนนี้ จักอยู่
ได้สักกี่วัน, ผ้าผืนนั้นของเราดีกว่า แล้วเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงสำนัก. ครั้นแล้ว
ได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า โปรดนำผ้าสังฆาฏิของท่านไป โปรดคืนผ้าของ
ผมมา.
                ท่านพระอุปนันทศากยบุตรพูดว่า ข้าพเจ้าได้บอกท่านแล้วมิใช่หรือว่า จงรู้เอาเองเถิด
ข้าพเจ้าจักไม่คืนให้.
                ปริพาชกนั้น จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในทันใดนั้นแลว่า ธรรมดาคฤหัสถ์ก็ยัง
คืนให้แก่คฤหัสถ์ผู้เดือดร้อน, ก็นี่บรรพชิตจักไม่คืนให้แก่บรรพชิตด้วยกันเทียวหรือ?.


                                                            หน้าที่ ๑๑๙

                ภิกษุทั้งหลายได้ยินปริพาชกเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่, บรรดาผู้ที่เป็นผู้
มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตร จึงได้ถึงการแลกเปลี่ยนกับปริพาชกเล่า? แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่าเธอ
ถึงการแลกเปลี่ยนกับปริพาชก จริงหรือ?
                ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอจึงได้ถึงการแลกเปลี่ยนกับ
ปริพาชกเล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไป
เพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่
เลื่อมใสแล้ว.
                                                ทรงบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษ
แห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ
ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย, ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม
แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแก่สงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ


                                                            หน้าที่ ๑๒๐

บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่ง
พระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระบัญญัติ
                ๓๘. ๑๐. อนึ่ง ...  ภิกษุใดถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ, เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์.
                                                เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
                                                __________________
                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๑๑๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ
อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด
เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
                บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว. ชื่อว่า
ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบท
แล้วด้วยไตรสรณคมน์. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
มีสารธรรม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็น
พระอเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติ-
จตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน
อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ใน
อรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า มีประการต่างๆ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร
อันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ โดยที่สุด แม้ก้อนฝุ่น ไม้ชำระฟัน ด้วยชายผ้า.
                บทว่า ถึงการแลกเปลี่ยน คือ ภิกษุพูดเป็นเชิงบังคับว่า จงให้ของสิ่งนี้ด้วยของ
สิ่งนี้ จงนำของสิ่งนี้มาด้วยของสิ่งนี้ จงแลกเปลี่ยนของสิ่งนี้ด้วยของสิ่งนี้ จงจ่ายของสิ่งนี้ด้วย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘