พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์ หน้า 106-110

                                                            หน้าที่ ๑๐๖

                ที่ชื่อว่า ข้าวเปลือกสด ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง
ลูกเดือย หญ้ากับแก้.
                บทว่า ขอ คือ ขอเอง. บทว่า ให้ขอ คือ ให้ผู้อื่นขอแทน.
                บทว่า คั่ว คือ คั่วเอง. บทว่า ให้คั่ว คือ ให้ผู้อื่นคั่ว.
                บทว่า ตำ คือ ตำเอง. บทว่า ให้ตำ คือ ให้ผู้อื่นตำ.
                บทว่า หุง คือ หุงเอง. บทว่า ให้หุง คือ ให้ผู้อื่นหุง.
                ภิกษุณีรับประเคนไว้ด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกๆ คำกลืน.
                                อนาปัตติวาร
                [๑๗๔] เพราะเหตุอาพาธ ๑ ขออปรัณณชาติ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
                                ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
                                ______________


                                                            หน้าที่ ๑๐๗

                                ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘
                                เรื่องพราหมณ์คนหนึ่ง
                [๑๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเป็นข้าราชการ ถูกปลดออก
จากราชการแล้วคิดว่าจักทูลขอรับพระราชทานตำแหน่งเดิมคืน จึงสนานเกล้าแล้วเดินผ่านที่พำนัก
ของภิกษุณีไปสู่ราชตระกูล ภิกษุณีรูปหนึ่งถ่ายวัจจะลงในหม้อ แล้วเททิ้งออกนอกฝา ราดลงบน
ศีรษะของพราหมณ์นั้น ดังนั้น พราหมณ์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีโล้นเหล่านี้ไม่ใช่
สมณะ ไม่มีสมบัติ ไฉนจึงได้เทหม้อคูถลงบนศีรษะเราเล่า เราจักเผาที่พำนักของภิกษุณีเหล่านี้เสีย
ดังนั้น จึงถือคบเพลิงเข้าไปสู่ที่พำนักภิกษุณี อุบาสกคนหนึ่งออกมาจากสำนักภิกษุณี เห็นพราหมณ์
นั้นกำลังถือคบเพลิงผ่านเข้าไปสู่ที่พำนัก จึงถามพราหมณ์ว่า ท่านผู้เจริญ เหตุไรท่านถือคบเพลิง
เข้าไปสู่ที่พำนักภิกษุณี?
                พราหมณ์ตอบว่า ท่านผู้เจริญ เพราะภิกษุณีโล้นเหล่านี้เป็นสตรีไม่มีสมบัติ เทหม้อคูถลง
บนศรีษะของเรา เราจึงจักเผาสำนักของภิกษุณีเหล่านี้เสีย.
                อุบาสกชี้แจงว่า ไปเถิด ท่านผู้เจริญ นั่นเป็นมงคล ท่านจักได้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ ตำลึง และ
ตำแหน่งเดิมคืน.
                ฝ่ายพราหมณ์นั้นสนานเกล้าแล้วไปสู่ราชตระกูล ได้ทรัพย์พระราชทาน ๑,๐๐๐ ตำลึง และ
ตำแหน่งเดิมนั้นคืน. จึงอุบาสกนั้นเข้าไปสู่ที่พำนักภิกษุณี แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลายแล้วขู่
สำทับ.
                บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ...  ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย
จึงได้เทอุจจาระทิ้งออกภายนอกฝาที่พำนักเล่า ...
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณี
เทอุจจาระทิ้งออกภายนอกฝาที่พำนัก จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้เทอุจจาระ


                                                            หน้าที่ ๑๐๘

ทิ้งออกนอกฝาที่พำนักเล่า การกระทำของพวกนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๖๓. ๘. อนึ่ง ภิกษุณีใด เทหรือให้เท ซึ่งอุจจาระก็ดี ปัสสาวะก็ดี หยากเยื่อก็ดี
ของเป็นเดนก็ดี ณ ภายนอกฝาที่พำนักก็ดี ณ ภายนอกกำแพงก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องพราหมณ์คนหนึ่ง จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๑๗๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า อุจจาระ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่าคูถ.
                ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่ามูตร.
                ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่าขยะมูลฝอย.
                ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ได้แก่ อามิสเป็นเดน หรือกระดูก หรือน้ำที่เป็นเดน.
                ที่ชื่อว่า ฝา ได้แก่ฝา ๓ ชนิด คือ ฝาอิฐ ฝาศิลา ฝาไม้.
                ที่ชื่อว่า กำแพง ได้แก่กำแพง ๓ ชนิด คือ กำแพงอิฐ กำแพงศิลา กำแพงไม้.
                บทว่า ภายนอกฝา คือ ข้างนอกฝาที่อยู่.
                บทว่า ภายนอกกำแพง คือ ข้างนอกกำแพง.
                บทว่า เท ความว่า เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า ให้เท ความว่า ใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้เขาครั้งเดียว เขาเทแม้หลายครั้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                อนาปัตติวาร
                [๑๗๗] มองดูก่อนแล้วจึงเท ๑ เทในที่ที่เขาไม่ใช้ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
                                ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.


                                                            หน้าที่ ๑๐๙

                                ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป
                [๑๗๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งมีนาข้าวเหนียวอยู่ใกล้ที่พำนักของ
ภิกษุณี ภิกษุณีทั้งหลายเทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ทิ้งลงในนา
จึงพราหมณ์นั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ทำนาข้าวเหนียวของ
ข้าพเจ้าให้เสียหายเล่า
                ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพราหมณ์นั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง
หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ลงในของเขียวสดเล่า.
                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุณีทั้งหลาย ข่าวว่าพวกภิกษุณี
เทอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ลงในของเขียวสด จริงหรือ?
                ภิกษุณีทั้งหลายทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เท
อุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง หยากเยื่อบ้าง ของเป็นเดนบ้าง ลงในของเขียวสดเล่า การกระทำ
ของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:
                                พระบัญญัติ
                ๖๔. ๙. อนึ่ง ภิกษุณีใด เท หรือให้เท ซึ่งอุจจาระก็ดี ปัสสาวะก็ดี หยากเยื่อ
ก็ดี ของเป็นเดนก็ดี ลงในของเขียวสด เป็นปาจิตตีย์.
                                เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
                                สิกขาบทวิภังค์
                [๑๗๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...


                                                            หน้าที่ ๑๑๐

                บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี
ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า อุจจาระ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่าคูถ.
                ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่ามูตร.
                ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่าขยะมูลฝอย.
                ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ได้แก่อามิสเป็นเดน หรือกระดูก หรือน้ำที่เป็นเดน.
                ที่ชื่อว่า ของเขียวสด ได้แก่ บุพพัณณชาติ อปรัณณชาติ ที่ประชาชนปลูกไว้สำหรับ
เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภค.
                บทว่า เท ความว่า เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                บทว่า ให้เท ความว่า ใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ  ใช้เขาครั้งเดียวเขาเทแม้หลายครั้ง
ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                บทภาชนีย์
                                ติกะปาจิตตีย์
                [๑๘๐] ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่าของเขียวสด เท หรือให้เท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ของเขียวสด ภิกษุณีสงสัย เท หรือให้เท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของเขียวสด เท หรือให้เท ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                ทุกะทุกกฏ
                มิใช่ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่า ของเขียวสด ต้องอาบัติทุกกฏ.
                มิใช่ของเขียวสด ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
                มิใช่ของเขียวสด ภิกษุณีสำคัญว่า มิใช่ของเขียวสด ไม่ต้องอาบัติ.
                                อนาปัตติวาร
                [๑๘๑] มองดูก่อนแล้วจึงเท ๑ เทบนคันนา ๑ บอกขออนุญาตต่อเจ้าของแล้วเท ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘