พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หน้า 096-100

                                                            หน้าที่ ๙๖

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควรประณาม.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรประณาม คือ
                                ๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์
                                ๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
                                ๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
                                ๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ
                                ๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรประณาม.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อาจารย์เมื่อไม่ประณาม มีโทษ
เมื่อประณาม ไม่มีโทษ คือ
                                ๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้
                                ๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้
                                ๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้
                                ๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ
                                ๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อาจารย์เมื่อไม่ประณาม มี
โทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อาจารย์เมื่อประณามมีโทษ เมื่อไม่
ประณาม ไม่มีโทษ คือ
                                ๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์
                                ๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง
                                ๓. มีความละอายอย่างยิ่ง
                                ๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ
                                ๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อาจารย์เมื่อประณาม มีโทษ
เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ.


                                                            หน้าที่ ๙๗

                                                                การให้นิสสัย
                [๙๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้
๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ย่อมให้นิสสัย ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็น
ผู้เขลา พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้ไม่เฉียบแหลม พวกอันเตวาสิก
เป็นผู้เฉียบแหลม ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ได้ยิน
ได้ฟังมาก ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้มีปัญญาทราม พวกอันเตวาสิกเป็นผู้มีปัญญา.
                บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย
จึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่
เฉียบแหลม ให้นิสสัย ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้เขลา พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏว่า
พวกอาจารย์เป็นผู้ไม่เฉียบแหลม พวกอันเตวาสิกเป็นผู้เฉียบแหลม ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็น
ผู้ได้ยินได้ฟังน้อย พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก  ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้มีปัญญาทราม
พวกอันเตวาสิกเป็นผู้มีปัญญา แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.
                                                                ทรงสอบถาม
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายอ้างว่า เรามี
พรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ให้นิสสัย
ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้เขลา ... พวกอันเตวาสิก เป็นผู้มีปัญญา จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ...  ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่พึงให้นิสสัย รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษา
เกิน ๑๐ ให้นิสสัย.


                                                            หน้าที่ ๙๘

                                                นิสสัยระงับจากอุปัชฌาย์และอาจารย์
                [๙๗] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่ออาจารย์และอุปัชฌาย์หลีกไปเสียก็ดี สึกเสียก็ดี ถึง
มรณภาพก็ดี ไปเข้ารีดเดียรถีย์ก็ดี ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่านิสสัยระงับ. พวกเธอจึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอุปัชฌายะ ๕ อย่าง
ดังนี้ คือ
                                ๑. อุปัชฌายะหลีกไป
                                ๒. สึกเสีย
                                ๓. ถึงมรณภาพ
                                ๔. ไปเข้ารีดเดียรถีย์ และ
                                ๕. สั่งบังคับ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอุปัชฌายะ ๕ อย่างนี้แล.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอาจารย์ ๖ อย่าง ดังนี้ คือ
                                ๑. อาจารย์หลีกไป
                                ๒. สึกเสีย
                                ๓. ถึงมรณภาพ
                                ๔. ไปเข้ารีดเดียรถีย์
                                ๕. สั่งบังคับ และ
                                ๖. ไปร่วมเข้ากับอุปัชฌายะ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิสสัยระงับจากอาจารย์ ๖ อย่างนี้แล.
                                                                การให้นิสสัย จบ.
                                                                ______________


                                                            หน้าที่ ๙๙

                                                องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท ๑๖ หมวด
                                                                กัณหปักษ์ ๑
                [๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย
ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
                                ๑. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
                                ๒. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
                                ๓. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
                                ๔. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
                                ๕. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย
ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
                                                                ศุกลปักษ์ ๑
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
                                ๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ
                                ๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
                                ๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
                                ๔. ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
                                ๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
                                                                กัณหปักษ์ ๒
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้
นิสสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
                                ๑. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น
ในกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ


                                                            หน้าที่ ๑๐๐

                                ๒. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น
ในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
                                ๓. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น
ในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
                                ๔. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่น
ในกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
                                ๕. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ และ
ไม่ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท ไม่พึงให้นิสสัย
ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
                                                                ศุกลปักษ์ ๒
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงให้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
                                ๑. ตนเองประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกองศีล
อันเป็นของพระอเสขะ
                                ๒. ตนเองประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
กองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ
                                ๓. ตนเองประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นใน
กองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ
                                ๔. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวนผู้อื่นในกอง
วิมุติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
                                ๕. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวน
ผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย
พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘