พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 086-090

                                                            หน้าที่ ๘๖

ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. การสมมติสันถัตอันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์,
เหตุนั้นจึงนิ่ง. ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                                                                พระอนุบัญญัติ
                ๓๓.๔. ก. อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน. ถ้ายัง
หย่อนกว่า ๖ ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัต
อื่นใหม่ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.ฯ
                                                เรื่องภิกษุอาพาธ จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๘๘] ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายการทำขึ้น.
                ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
                บทว่า ให้ทำแล้ว คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม.
                บทว่า พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝน คือ พึงทรงไว้ให้ได้ ๖ ฝนเป็นอย่างเร็ว.
                บทว่า ถ้ายังหย่อนกว่า ๖ ฝน คือ ยังไม่ถึง ๖ ฝน.
                บทว่า สละเสียแล้วก็ดี ... ซึ่งสันถัตนั้น คือ ให้แก่คนอื่นไป.
                บทว่า ยังไม่สละแล้วก็ดี คือ ยังไม่ได้ให้แก่ใครๆ.
                บทว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ.
                ภิกษุทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม ซึ่งสันถัตอื่นใหม่ เป็นทุกกฏในประโยคที่ทำ,
เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา, ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้น อย่างนี้:-
                                                                วิธีเสียสละ
                                                เสียสละแก่สงฆ์
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า
กระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ
เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่
เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-


                                                            หน้าที่ ๘๗

                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ
สละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้สันถัตผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
                                                เสียสละแก่คณะ
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา
กว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ
เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่
เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า, สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ
สละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว,
ท่านทั้งหลายพึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
                                                เสียสละแก่บุคคล
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ
กล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่าน สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า ๖ ฝน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็น
ของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เสีย-
สละให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้สันถัตผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
                                                                บทภาชนีย์
                                                จตุกกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
                [๘๙] สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                สันถัตตนทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๘๘

                                                                อนาปัตติวาร
                [๙๐] ครบ ๖ ฝนแล้วภิกษุทำใหม่ ๑, เกิน ๖ ฝนแล้วภิกษุทำใหม่ ๑. ภิกษุทำเองก็ดี
ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ๑, ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ๑, ภิกษุทำเป็น
เพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านก็ดี เป็นเปลือกฟูกก็ดี เป็นปลอกหมอนก็ดี, ภิกษุได้
สมมติ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๘๙

                                                ๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๕
                                                เรื่องพระอุปเสนวังคันตบุตร
                [๙๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ-
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุ
ผู้นำบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว.
                ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธาณัติแล้ว ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคในพระวิหารนี้เลย
นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียวโดยแท้. ถึงอย่างนั้น สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี
ก็ยังตั้งกติกากันไว้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่
ตลอดไตรมาส ใครๆ ไม่พึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว
ภิกษุรูปใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติปาจิตตีย์.
                [๙๒] ครั้งนั้น ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกับภิกษุบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ. ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.
                                                                พุทธประเพณี
                อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนี้ นั่น
เป็นพุทธประเพณี.
                ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูกรอุปเสน พวกเธอ
พอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้หรือ? พวกเธอเดินทางมาโดยได้รับความลำบากน้อยหรือ?
                ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พอทนได้ พอให้อัตภาพเป็นไปได้ พระพุทธเจ้า-
ข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยได้รับความลำบากเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า.
                ก็แลขณะนั้น ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรนั่งเฝ้าอยู่ไม่ห่างพระผู้มี
พระภาค จึงพระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ผ้าบังสุกุลเป็นที่พอใจของเธอหรือ?
                ภิกษุรูปนั้นกราบทูลว่า ผ้าบังสุกุล มิได้เป็นที่พอใจของข้าพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. ก็ทำไมเธอจึงได้ทรงผ้าบังสุกุลเล่า ภิกษุ?.


                                                            หน้าที่ ๙๐

                ภิ. พระอุปัชฌายะของข้าพระพุทธเจ้าทรงผ้าบังสุกุล, ข้าพระพุทธเจ้าจึงต้องทรงผ้าบังสุกุล
อย่างนั้นบ้าง พระพุทธเจ้าข้า.
                ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูกรอุปเสน บริษัท
ของเธอนี้น่าเลื่อมใสนัก, เธอแนะนำบริษัทอย่างไร?
                ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ผู้ใดขออุปสมบทต่อข้าพระ-
พุทธเจ้า, ข้าพระพุทธเจ้าบอกกะเขาอย่างนี้ว่า อาวุโส ฉันเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาต
เป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตรบ้าง, ฉันก็จักให้ท่านอุปสมบทตามประสงค์ ถ้าเขารับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ
จึงให้เขาอุปสมบท, ถ้าเขาไม่รับคำของข้าพระพุทธเจ้าๆ ก็ไม่ให้เขาอุปสมบท. ภิกษุใดขอนิสัย
ต่อข้าพระพุทธเจ้าๆ บอกกะภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส เราเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาต
เป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, ถ้าท่านจักถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ทรงผ้า
บังสุกุลเป็นวัตรบ้างได้, เราก็จักให้นิสัยแก่ท่านตามความประสงค์ ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระ-
พุทธเจ้าๆ จึงจะให้นิสัย, ถ้าภิกษุนั้นรับคำของข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ให้นิสัย,
ข้าพระพุทธเจ้าแนะนำบริษัทอย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, เธอแนะนำบริษัทได้ดีจริงๆ เออก็เธอรู้กติกาของสงฆ์
ในเขตพระนครสาวัตถีไหม อุปเสน?.
                อุ. ไม่ทราบเกล้าฯ พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. ดูกรอุปเสน สงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี ตั้งกติกากันไว้ว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มี-
พระภาคมีพระประสงค์จะเสด็จหลีกออกเร้นอยู่ตลอดไตรมาส, ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระองค์
นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปถวายรูปเดียว, ภิกษุใดเข้าไปเฝ้าพระองค์ ต้องให้แสดงอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                อ. พระสงฆ์ในเขตพระนครสาวัตถี จักทราบทั่วกันตามกติกาของตน. พวกข้าพระ-
พุทธเจ้าจักไม่แต่งตั้งสิกขาบทที่พระองค์มิได้ทรงบัญญัติ และจักไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติ
ไว้ จักสมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้.
                ภ. ดีแล้ว ดีแล้ว อุปเสน, ไม่ควรแต่งตั้งสิกขาบทที่เรายังมิได้บัญญัติ หรือไม่ควร
เพิกถอนสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ ควรสมาทานประพฤติในสิกขาบท ตามที่เราได้บัญญัติไว้. เรา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘