พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 066-070

                                                            หน้าที่ ๖๖

จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้, พึง-
ยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก; เธอยืนนิ่งต่อหน้า ๔ ครั้ง
๕ ครั้ง ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก; ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้, การให้สำเร็จได้
ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี, ถ้าให้สำเร็จไม่ได้, ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้น ยังจีวร
นั้นให้สำเร็จ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์; ถ้าให้สำเร็จไม่ได้พึงไปเองก็ได้, ส่งทูตไปก็ได้
ในสำนักที่ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ, บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร
ไปเฉพาะภิกษุใด, ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่, ท่านจงทวง
เอาทรัพย์ของท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย; นี้เป็นสามีจิกรรมใน
เรื่องนั้น.
                                                เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
                                                                สิกขาบทวิภังค์
                [๗๑] บทว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกษุ ความว่า เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือทำภิกษุให้เป็น
อารมณ์แล้วใคร่จะให้ภิกษุครอง.
                ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ท่านผู้ทรงราชย์
                ที่ชื่อว่า ราชอำมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการผู้ได้รับความชุบเลี้ยงของพระราชา
                ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์ โดยกำเนิด.
                ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ เจ้าเรือน ยกพระราชา ราชอำมาตย์ พราหมณ์ นอกนั้น
ชื่อว่าคหบดี.
                ที่ชื่อว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วลาย
หรือแก้วผลึก
                บทว่า ด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ คือ ด้วยทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ
                บทว่า จ่าย คือ แลกเปลี่ยน.
                บทว่า ให้ครอง คือ จงถวาย.
                ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้ นำมา
เฉพาะท่าน, ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร, ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้นอย่างนี้ว่า
พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่, พวกเรารับแต่จีวรอันเป็นของควรโดยกาล;
ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็ใครๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ, ภิกษุ
ผู้ต้องการจีวรพึงแสดงชนผู้ทำการในอาราม หรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรด้วยคำว่า


                                                            หน้าที่ ๖๗

คนนั้นแลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรกล่าวว่า จงให้แก่คนนั้น หรือว่า
คนนั้นจักเก็บไว้ หรือว่าคนนั้นจักแลก หรือว่า คนนั้นจักจ่าย: ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกร
นั้นให้เข้าใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยาวัจกรนั้น,
ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว, ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่านครองจีวรตามกาล, ภิกษุผู้
ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วพึงทวง พึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการจีวร;
อย่าพูดว่า จงให้จีวรแก่รูป จงนำจีวรมาให้รูป จงแลกจีวรให้รูป จงจ่ายจีวรให้รูป พึงพูดได้
แม้ครั้งที่สอง พึงพูดได้แม้ครั้งที่สาม, ถ้าให้จัดสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการ
ดี, ถ้าให้จัดสำเร็จไม่ได้, พึงไปยืนนิ่งต่อหน้าในที่ใกล้ไวยาวัจกรนั้น, ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ไม่
พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม, เมื่อเขาถามว่ามาธุระอะไร พึงกล่าวว่า รู้เอาเองเถิด, ถ้านั่งบน
อาสนะก็ดี รับอามิสก็ดี กล่าวธรรมก็ดี ชื่อว่าหักการยืนเสีย, พึงยืนได้แม้ครั้งที่สอง พึงยืน
ได้ แม้ครั้งที่สาม ทวง ๔ ครั้งแล้ว; พึงยืนได้ ๔ ครั้ง ทวง ๕ ครั้งแล้ว, พึงยืนได้ ๒ ครั้ง
ทวง ๖ ครั้งแล้ว, จะพึงยืนไม่ได้, ถ้าเธอพยายามให้ยิ่งกว่านั้นยังจีวรนั้นให้สำเร็จ, เป็น
ทุกกฏในประโยคที่พยายาม, เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-
                                                                วิธีเสียสละ
                                                เสียสละแก่สงฆ์
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า
นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน
๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสีย-
สละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะ
สละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์. ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้
แก่ภิกษุมีชื่อนี้.ฯ


                                                            หน้าที่ ๖๘

                                                เสียสละแก่คณะ
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่
พรรษากว่า นั่งกระหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน
๖ ครั้ง เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ
ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า. จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ,
เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย. ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว, ท่าน
ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
                                                เสียสละแก่บุคคล
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระหย่งประนมมือ
กล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่าน จีวรผืนนี้ ของข้าพเจ้า ให้สำเร็จด้วยทวงเกิน ๓ ครั้ง ด้วยยืนเกิน ๖ ครั้ง
เป็นของจำจะสละ, ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ
แล้วให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้
                ในประโยคว่า ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงไปเองก็ได้ ส่งทูตไปก็ได้ ในสำนักที่
ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรมาเพื่อเธอ บอกว่า ท่านส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปเฉพาะ
ภิกษุใด, ทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์น้อยหนึ่งแก่ภิกษุนั้นไม่, ท่านจงทวงเอาทรัพย์ของ
ท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย: นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น ดังนี้:
ความว่า นี้เป็นความถูกยิ่งในเรื่องนั้น.ฯ
                                                                บทภาชนีย์
                                                ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
                [๗๒] ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ,
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๖๙

                ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสงสัย ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ, เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าไม่ถึง ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ, เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกกฏ
                ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ยังจีวรให้สำเร็จ, ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
                ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสงสัย ยังจีวรให้สำเร็จ, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                ทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าไม่ถึง ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ, ไม่ต้อง
อาบัติ.ฯ
                                                                อนาปัตติวาร
                [๗๓] ภิกษุทวง ๓ ครั้ง ยืน ๖ ครั้ง ภิกษุทวงไม่ถึง ๓ ครั้ง ยืนไม่ถึง ๖ ครั้ง ๑ ภิกษุ
ไม่ได้ทวง ไวยาวัจกรถวายเอง ๑ เจ้าของทวงเอามาถวาย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑,
ไม่ต้องอาบัติแล.ฯ
                                                จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
                                                นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑ จบ.
                                                หัวข้อประจำเรื่อง
                ๑. ทสาหปรมสิกขาบท ว่าด้วยการทรงอติเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง.
                ๒. เอกรัตติสิกขาบท ว่าด้วยการอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้ราตรีหนึ่ง.
                ๓. มาสปรมสิกขาบท ว่าด้วยการเก็บจีวรไว้ได้เดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง.
                ๔. ปุราณจีวรโธวาปนสิกขาบท ว่าด้วยการให้ภิกษุณีซักจีวรเก่า.
                ๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวรจากมือภิกษุณี.
                ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการขอจีวรต่อเจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ.
                ๗. ตทุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการขอจีวรเกินกำหนด.
                ๘. อุททิสสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรของเจ้าทรัพย์รายเดียว.
                ๙. อุภินนอุททิสสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรของเจ้าทรัพย์สองราย.
                ๑๐. ทูตสิกขาบท ว่าด้วยมูลค่าจีวรที่เจ้าทรัพย์ส่งมาถวาย.ฯ
                                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๗๐

                                                นิสสัคคิยปาจิตตีย์ วรรคที่ ๒
                                                ๒. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑
                                                เรื่องพระฉัพพัคคีย์
                [๗๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตพระนคร-
อาฬวี, ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาพวกช่างไหม กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่าน
ต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้แก่พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือ
ด้วยไหม ช่างไหมเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
จึงได้เข้ามาหาพวกเรากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้แก่
พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือด้วยไหม ดังนี้, แม้พวกเราผู้ซึ่งทำสัตว์
ตัวเล็กๆ มากมายให้วอดวาย เพราะเหตุแห่งอาชีพ เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา ก็ยังเชื่อว่า
ไม่ได้ลาภ หาได้ไม่สุจริต.
                ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกช่างไหมเหล่านั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาผู้ที่
มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพน-
ทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปหาพวกช่างไหม แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวก
ท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก จงให้แก่พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัต
เจือด้วยไหม ดังนี้เล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอ
เข้าไปหาพวกช่างไหม แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านต้มตัวไหมไว้เป็นอันมาก
จงให้แก่พวกอาตมาบ้าง แม้พวกอาตมาก็ปรารถนาจะทำสันถัตเจือด้วยไหม ดังนี้ จริงหรือ?
                พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั้น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้เข้าไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘