พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หน้า 046-050

                                                            หน้าที่ ๔๖

กล่นไปทั่ววิหาร คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมไปตามวิหารพบเข้า ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้มีเรือนคลังในภายใน เหมือนพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา
มาคธราช ฉะนั้น
                ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ....
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้พอใจในความมักมากเช่นนี้ แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลาย
พอใจในความมักมากเช่นนี้ จริงหรือ?
                ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า อนึ่ง มีเภสัชอันควรลิ้มของภิกษุผู้อาพาธ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
ภิกษุรับประเคนของนั้นแล้ว พึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป พึง
ปรับอาบัติตามธรรม.
                                                ภาณวารว่าด้วยทรงอนุญาตเภสัช ที่ ๑ จบ.
                                                                _________________
                                                                พระพุทธานุญาตงบน้ำอ้อย
                [๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครสาวัตถีตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว
เสด็จพุทธดำเนินไปทางพระนครราชคฤห์ ท่านพระกังขาเรวตะได้แวะเข้าโรงทำงบน้ำอ้อย ใน
ระหว่างทาง เห็นเขาผสมแป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย จึงรังเกียจว่า งบน้ำอ้อยเจืออามิส
เป็นอกัปปิยะ ไม่ควรจะฉันในเวลาวิกาล ดังนี้ จึงพร้อมด้วยบริษัทไม่ฉันงบน้ำอ้อย แม้พวก
ภิกษุที่เชื่อฟังคำท่านก็พลอยไม่ฉันงบน้ำอ้อยไปด้วย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาค.
                พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายผสมแป้ง
บ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย เพื่อประสงค์อะไร?


                                                            หน้าที่ ๔๗

                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เพื่อประสงค์ให้เกาะกันแน่น พระพุทธเจ้าข้า.
                พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนทั้งหลายผสม
แป้งบ้าง เถ้าบ้าง ลงในงบน้ำอ้อย เพื่อประสงค์ให้เกาะกันแน่น งบน้ำอ้อยนั้นก็ยังถึงความ
นับว่า งบน้ำอ้อยนั่นแหละ
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันงบน้ำอ้อยตามสบาย.
                                                                พระพุทธานุญาตถั่วเขียว
                ท่านพระกังขาเรวตะ ได้เห็นถั่วเขียวงอกขึ้นในกองอุจจาระ ณ ระหว่างทาง แล้วรังเกียจ
ว่า ถั่วเขียวเป็นอกัปปิยะ แม้ต้มแล้วก็ยังงอกได้ จึงพร้อมด้วยบริษัทไม่ฉันถั่วเขียว แม้พวก
ภิกษุที่เชื่อฟังคำของท่านก็พลอยไม่ฉันถั่วเขียวไปด้วย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถั่วเขียวแม้ที่ต้ม
แล้ว ก็ยังงอกได้ เราอนุญาตให้ฉันถั่วเขียวได้ตามสบาย.
                                                พระพุทธานุญาตยาดองโลณโสจิรกะ
                สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคลมเกิดในอุทร ท่านได้ดื่มยาดองโลณโสจิรกะ
โรคลมเกิดในอุทรของท่านหายขาด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มี
พระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันยาดอง
โลณโสจิรกะได้ตามสบาย แต่ภิกษุไม่อาพาธต้องเจือน้ำฉันอย่างน้ำปานะ.
                                                ประชวรโรคลมเกิดในพระอุทร
                [๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินโดยลำดับเสด็จถึงพระนครราชคฤห์
ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต
เขตพระนครราชคฤห์นั้น คราวนั้น พระองค์ประชวรโรคลมเกิดในพระอุทร จึงท่านพระอานนท์
ดำริว่า แม้เมื่อก่อนพระผู้มีพระภาคประชวรโรคลมเกิดในพระอุทร ก็ทรงพระสำราญได้ด้วยยาคู
ปรุงด้วยของ ๓ อย่าง จึงของาบ้าง ข้าวสารบ้าง ถั่วเขียวบ้าง ด้วยตนเอง เก็บไว้ในภายในที่อยู่
ต้มด้วยตนเองในภายในที่อยู่ แล้วน้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดดื่มยาคูปรุงด้วยของ ๓ อย่าง พระพุทธเจ้าข้า.


                                                            หน้าที่ ๔๘

                                                                พุทธประเพณี
                พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี
ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมตรัสถาม
สิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จัก
ทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง
                ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ยาคูนี้ได้มาแต่ไหน?
                ท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบทันที.
                                                                ทรงตำหนิท่านพระอานนท์
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรอานนท์ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรอานนท์ ไฉนเธอจึงได้พอใจใน
ความมักมากเช่นนี้เล่า ดูกรอานนท์ อามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ เป็นอกัปปิยะ แม้ที่หุงต้มใน
ภายในที่อยู่ ก็เป็นอกัปปิยะ แม้ที่หุงต้มเอง ก็เป็นอกัปปิยะ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส .... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ดังต่อไปนี้:-
                                พระพุทธบัญญัติห้ามอามิสที่เป็นอันโตวุตถะเป็นต้น
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ที่หุงต้มในภายในที่อยู่
และที่หุงต้มเอง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภายในที่อยู่ และหุงต้มเอง
ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภายในที่อยู่ แต่ผู้อื่นหุงต้ม
ถ้าภิกษุฉันอามิส ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้มในภายนอก และหุงต้มเอง
ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว


                                                            หน้าที่ ๔๙

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก แต่หุงต้มในภายใน และหุงต้มเอง
ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้มในภายนอก และผู้อื่นหุงต้ม
ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายใน แต่ผู้อื่นหุงต้ม
ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอก แต่หุงต้มเอง
ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอก และผู้อื่นหุงต้ม
ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้นแล ไม่ต้องอาบัติ.
                                                พระพุทธานุญาตให้อุ่นโภชนาหาร
                [๕๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภัตตาหารที่หุงต้ม
เอง จึงรังเกียจในโภชนาหารที่ต้องอุ่น แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุ่นภัตตาหารที่ต้องอุ่น.
                                พระพุทธานุญาตอามิสที่เป็นอันโตวุตถะเป็นต้น
                [๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระนครราชคฤห์บังเกิดทุพภิกขภัย คนทั้งหลายนำเกลือบ้าง
น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของควรเคี้ยวบ้าง มายังอาราม ภิกษุทั้งหลายให้เก็บของเหล่านั้นไว้
ข้างนอก สัตว์ต่างๆ กินเสียบ้าง พวกโจรลักเอาไปบ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้เก็บไว้ ณ ภายในได้
                กัปปิยการกทั้งหลายเก็บอามิสไว้ข้างในแล้ว หุงต้มข้างนอก พวกคนกินเดนพากัน
ห้อมล้อม
                ภิกษุทั้งหลายไม่พอใจฉัน แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค
ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มในภายใน.


                                                            หน้าที่ ๕๐

                ในคราวเกิดทุพภิกขภัย พวกกัปปิยการกนำสิ่งของไปเสียมากมาย ถวายภิกษุเพียง
เล็กน้อย
                ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มเอง
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ที่หุงต้มในภายในที่อยู่ และ
ที่หุงต้มเอง.
                                                                ผลไม้กลางทาง
                [๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปด้วยกันจำพรรษาในกาสีชนบทแล้ว เดินทาง
ไปสู่พระนครราชคฤห์ เมื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ในระหว่างทางไม่ได้โภชนาหารที่เศร้าหมอง หรือ
ประณีตบริบูรณ์ พอแก่ความต้องการเลย ถึงของขบเคี้ยวคือผลไม้มีมาก แต่ก็หากัปปิยการกไม่ได้
ต่างพากันลำบาก ครั้นเดินทางไปพระนครราชคฤห์ ถึงพระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่พระราชทาน
เหยื่อแก่กระแต แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
                                                                พุทธประเพณี
                ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็น
พุทธประเพณี
                ครั้งนั้น ผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ร่างกายของพวก
เธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ เดินทางมามีความลำบากน้อยหรือ และพวกเธอ
มาจากไหนเล่า?
                ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า
พวกข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษาในกาสีชนบท แล้วเดินทางมาพระนครราชคฤห์ เพื่อเฝ้าพระผู้มี
พระภาค ณ พระเวฬุวันนี้ ในระหว่างทาง ไม่ได้โภชนาหารที่เศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์
พอแก่ความต้องการเลย ถึงของขบเคี้ยว คือผลไม้มีมาก แต่ก็หากัปปิยการกไม่ได้ เพราะเหตุนั้น
พวกข้าพระพุทธเจ้าจึงเดินทางมามีความลำบาก.
                                พระพุทธานุญาตให้รับประเคนของที่เป็นอุคคหิต
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ภิกษุเห็นของขบเคี้ยว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘