พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 036-040

                                                            หน้าที่ ๓๖

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ
ควรแก่ฐานะ นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
                ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ตลอด
๗ ชั่วอายุของบุรพชนก.
                ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.
                ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่จีวร ๖ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้อง
วิกัปเป็นอย่างต่ำ.
                บทว่า เว้นไว้แต่ของแลกเปลี่ยน คือ ยกเสียแต่จีวรที่แลกเปลี่ยนกัน.
                ภิกษุรับ เป็นทุกกฏในประโยคที่รับ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละ
แก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-
                                                                วิธีเสียสละ
                                                เสียสละแก่สงฆ์
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-
                ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้น
แต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ
ให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะสละ
เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุ
มีชื่อนี้.
                                                เสียสละแก่คณะ
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา
กว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-


                                                            หน้าที่ ๓๗

                ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นแต่
แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่
เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของจำจะสละ
เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว ท่าน
ทั้งหลายพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
                                                เสียสละแก่บุคคล
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าวอย่างนี้ว่า:-
                ท่าน จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า รับมาแล้วจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ เว้นแต่
แลกเปลี่ยนกัน เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละ
ให้ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
                                                                บทภาชนีย์
                                                ติกะนิสสัคคิยปาจิตตีย์
                [๕๐] ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ รับจีวรจากมือ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน
เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสงสัย รับจีวรจากมือ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับจีวรจากมือ เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน เป็น
นิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                                                                ทุกกฏ
                [๕๑] ภิกษุรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้อุปสมบทแต่สงฆ์ฝ่ายเดียว เว้นแต่แลกเปลี่ยนกัน
ต้องอาบัติทุกกฏ.


                                                            หน้าที่ ๓๘

                ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ญาติ รับจีวรจากมือ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสงสัย รับจีวรจากมือ ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                ภิกษุณีผู้เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ รับจีวรจากมือ ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๕๒] ภิกษุรับจีวรของภิกษุณีผู้เป็นญาติ ๑ แลกเปลี่ยนกัน คือแลกเปลี่ยนจีวรดีกับ
จีวรเลว หรือจีวรเลวกับจีวรดี ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุขอยืมไป ๑ ภิกษุรับบริขารอื่นนอก
จากจีวร ๑ ภิกษุรับจีวรของสิกขมานา ๑ ภิกษุรับจีวรของสามเณรี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๓๙

                                                ๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๖
                                                เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
                [๕๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นผู้เชี่ยวชาญ
แสดงธรรมีกถา จึงเศรษฐีบุตรผู้หนึ่งเข้าไปหาพระอุปนันทศากยบุตร. ครั้นแล้วอภิวาทท่านพระ-
อุปนันทศากยบุตร แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้ชี้แจงด้วย
ธรรมีกถาให้เศรษฐีบุตรสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงแล้ว.
                เศรษฐีบุตรนั้น อันท่านพระอุปนันทศากยบุตรชี้แจงด้วยธรรมีกถา ให้สมาทาน
อาจหาญ ร่าเริงแล้ว ได้ปวารณาท่านพระอุปนันทศากยบุตรในทันใดนั้นแลอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า
ขอพระคุณเจ้าพึงบอกสิ่งที่ต้องประสงค์ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอันเป็น
ปัจจัยของภิกษุไข้ ซึ่งข้าพเจ้าสามารถจะจัดถวายแด่พระคุณเจ้าได้.
                ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ได้กล่าวคำนี้กะเศรษฐีบุตรนั้นว่า ถ้าท่านประสงค์จะถวายแก่
อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้.
                เศรษฐีบุตรได้กล่าวขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กระผมเป็นกุลบุตรจะเดินไปมีผ้าผืนเดียวดูกระไร
อยู่ โปรดรออยู่ชั่วเวลาที่กระผมกลับไปบ้าน กระผมไปถึงบ้านแล้ว จักจัดส่งผ้าสาฎกผืนหนึ่งจาก
ผ้าเหล่านี้ หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย.
                แม้ครั้งที่สองแล ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะเศรษฐีบุตรนั้นว่า ถ้าท่าน
ประสงค์จะถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้.
                เศรษฐีบุตรได้กล่าวขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กระผมเป็นกุลบุตรจะเดินไปมีผ้าผืนเดียวดู
กระไรอยู่ โปรดรออยู่ชั่วเวลาที่กระผมกลับไปบ้าน กระผมไปถึงบ้านแล้ว จักจัดส่งผ้าสาฎก
ผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้ หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย.
                แม้ครั้งที่สามแล ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็ได้กล่าวคำนี้กะเศรษฐีบุตรนั้นว่า ถ้าท่าน
ประสงค์จะถวายแก่อาตมา ก็จงถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้.


                                                            หน้าที่ ๔๐

                เศรษฐีบุตรได้กล่าวขอผัดว่า ท่านเจ้าข้า กระผมเป็นกุลบุตรจะเดินไปมีผ้าผืนเดียว
ดูกระไรอยู่ โปรดรออยู่ชั่วเวลาที่กระผมกลับไปบ้าน กระผมกลับไปถึงบ้านแล้ว จักจัดส่งผ้า
สาฎกผืนหนึ่งจากผ้าเหล่านี้ หรือผ้าที่ดีกว่านี้มาถวาย.
                ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวพ้อว่า ท่านไม่ประสงค์จะถวายก็จะปวารณาทำไม ท่าน
ปวารณาแล้วไม่ถวาย จะมีประโยชน์อะไร
                ครั้นเศรษฐีบุตรนั้นถูกท่านพระอุปนันทศากยบุตรแคะได้ จึงได้ถวายผ้าสาฎกผืนหนึ่งแล้ว
กลับไป. ชาวบ้านพบเศรษฐีบุตรนั้นแล้วถามว่า นาย ทำไมท่านจึงมีผ้าผืนเดียวเดินกลับมา?
จึงเศรษฐีบุตรได้เล่าเรื่องนั้นแก่ชาวบ้านเหล่านั้น. ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มักมาก ไม่สันโดษ จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่เขาขอผัด
โดยธรรมสักหน่อยก็ไม่ได้ เมื่อเศรษฐีบุตรกระทำการขอผัดโดยธรรม ไฉนจึงได้ถือเอาผ้าสาฎก
ไปเล่า.
                ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็น
ผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้ขอจีวรต่อเศรษฐีบุตรเล่า แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีภาค.
                                                ทรงประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทะว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่าเธอขอจีวร
ต่อเศรษฐีบุตรจริงหรือ?
                ท่านพระอุปนันทะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. ดูกรอุปนันทะ เขาเป็นญาติของเธอหรือมิใช่ญาติ?
                อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ คนที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำ
อันสมควร หรือไม่สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนที่ไม่ใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอยังขอ
จีวรต่อเศรษฐีบุตรผู้มิใช่ญาติได้ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘