พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หน้า 031-035

                                                            หน้าที่ ๓๑

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า สหายคฤหัสถ์ของข้าพระองค์เหล่านี้เป็นชาว
ชนบท  เป็นบุตรของสกุลเก่าสืบๆ  กันมา  ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทานโอวาทสั่งสอนสหาย
ของข้าพระองค์เหล่านี้.
                พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา
สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจาก
กาม.  เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า  พวกเขามีจิตสงบ  มีจิตอ่อน  มีจิตปลอดจากนิวรณ์
มีจิตเบิกบาน  มีจิตผ่องใสแล้ว  จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา  ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยก
ขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.  ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา
ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล  ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน  ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี
ฉะนั้น. พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว  มีธรรมอันหยั่งลง
แล้ว  ข้ามความสงสัยได้แล้ว  ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย  ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา  ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า  พระพุทธเจ้าข้า
ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค.  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด  ดังนี้  แล้วได้ตรัสต่อไปว่า  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจง
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
                พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.
                ต่อมาพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้น ด้วยธรรมีกถา.  เมื่อพระ
ผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วยธรรมีกถา จิตของภิกษุเหล่านั้นพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
                สมัยนั้น  มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ องค์.
                สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คน  ของพระยสออกบรรพชา จบ.
                                                                ______________


                                                            หน้าที่ ๓๒

                                                                เรื่องพ้นจากบ่วง
                [๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้ว
จากบ่วงทั้งปวง  ทั้งที่เป็นของทิพย์  ทั้งที่เป็นของมนุษย์  แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์  ทั้งที่เป็นของมนุษย์  พวกเธอจงเที่ยวจาริก  เพื่อประโยชน์และความสุขแก่
ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก  เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์
พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป  จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น  งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด  จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลาย
จำพวกที่มีธุลีคือกิเลศในจักษุน้อย  มีอยู่  เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม  จักมี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  เพื่อแสดงธรรม.
                                                                เรื่องพ้นจากบ่วง จบ.
                                                                เรื่องมาร
                [๓๓] ครั้งนั้น มารผู้มีใจบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาค
ด้วยคาถาว่า
                ท่านเป็นผู้อันบ่วงทั้งปวง  ทั้งที่เป็นของทิพย์  ทั้งที่เป็นของมนุษย์  ผูกพันไว้แล้ว ท่าน
เป็นผู้อันเครื่องผูกใหญ่รัดรึงแล้ว  แน่ะสมณะ  ท่านจักไม่พ้นเรา.
                พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า  เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง  ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่
เป็นของมนุษย์  เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกใหญ่  ดูกรมาร  ท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว.
                มารกราบทูลว่า  บ่วงนี้เที่ยวไปได้ในอากาศ  เป็นของมีในจิต  สัญจรอยู่  เราจักผูกรัด
ท่านด้วยบ่วงนั้น  แน่ะสมณะ  ท่านจักไม่พ้นเรา.
                พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า  เราปราศจากความพอใจในอารมณ์เหล่านี้  คือ  รูป  เสียง
กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ  ดูกรมาร  ท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว.
                ครั้งนั้น  มารผู้มีใจบาปรู้ว่า  พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา  ดังนี้แล้ว
มีทุกข์  เสียใจ  หายไปในที่นั้นเอง.
                                                                เรื่องมาร จบ.


                                                            หน้าที่ ๓๓

                                ทรงอนุญาตบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์
                [๓๔] ก็โดยสมัยนั้น  ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและผู้มุ่งอุปสมบท  มาจาก
ทิศต่างๆ  จากชนบทต่างๆ  ด้วยตั้งใจว่า  พระผู้มีพระภาคจักให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบท.  ใน
เพราะเหตุนั้น ทั้งพวกภิกษุ ทั้งกุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและกุลบุตรผู้มุ่งอุปสมบท  ย่อมลำบาก.
                ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาคประทับในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ มีพระทัยปริวิตกเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
บัดนี้  ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและผู้มุ่งอุปสมบทมาจากทิศต่างๆ จากชนบทต่างๆ
ด้วยตั้งใจว่า  พระผู้มีพระภาคจักให้พวกเขาบรรพชา  อุปสมบท  ในเพราะเหตุนั้น  ทั้งพวกภิกษุ
ทั้งกุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและกุลบุตรผู้มุ่งอุปสมบท ย่อมลำบาก  ผิฉะนั้น  เราพึงอนุญาตแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่นแหละจงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชาอุปสมบท
ในทิศนั้นๆ  ในชนบทนั้นๆ  เถิด. ครั้นเวลาเย็น เสด็จออกจากที่เร้น  รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น  ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น  ทรงทำธรรมีกถาแล้ว  รับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ที่นี้  ได้มีใจปริวิตกเกิดขึ้นอย่างนี้
ว่า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและผู้มุ่งอุปสมบท มาจากทิศต่างๆ  จากชนบท
ต่างๆ  ด้วยตั้งใจว่า  พระผู้มีพระภาคจักให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบท  ในเพราะเหตุนั้น ทั้งพวก
ภิกษุ  ทั้งกุลบุตรผู้มุ่งบรรพชา และกุลบุตรผู้มุ่งอุปสมบท  ย่อมลำบาก  ผิฉะนั้น  เราพึงอนุญาต
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้  พวกเธอนั่นแหละจงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชา
อุปสมบทในทิศนั้นๆ  ในชนบทนั้นๆ  เถิด.  ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราอนุญาต พวกเธอ
นั่นแหละจงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชาอุปสมบท ในทิศนั้นๆ  ในชนบทนั้นๆ  เถิด.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็แลพวกเธอพึงให้กุลบุตรบรรพชาอุปสมบทอย่างนี้:-
                ชั้นแรก พวกเธอพึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและผู้มุ่งอุปสมบท ปลงผมและหนวด แล้ว
ให้ครองผ้ากาสายะ  ให้ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า  ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลายแล้ว  ให้นั่งกระหย่ง
ประคองอัญชลีสั่งว่า  เธอจงว่าอย่างนี้ แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้:-
                ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
                ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
                ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง


                                                            หน้าที่ ๓๔

                แม้วาระที่ ๒  ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
                แม้วาระที่ ๒  ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
                แม้วาระที่ ๒  ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
                แม้วาระที่ ๓  ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
                แม้วาระที่ ๓  ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
                แม้วาระที่ ๓  ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตบรรพชาอุปสมบท ด้วยไตรสรณคมน์นี้.
                                                กถาว่าด้วยอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ จบ.
                                                                ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
                [๓๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษาแล้ว  รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย  เพราะทำในใจโดยแยบคาย  เพราะตั้งความเพียรชอบโดยแยบคาย  เราจึงได้บรรลุ
อนุตตรวิมุติ  จึงได้ทำอนุตตรวิมุติให้แจ้ง  แม้พวกเธอก็ได้บรรลุอนุตตรวิมุติ  ทำอนุตตรวิมุติ
ให้แจ้ง  เพราะทำในใจโดยแยบคาย  เพราะตั้งความเพียรชอบโดยแยบคาย.
                ครั้งนั้น  มารผู้มีใจบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค  ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคด้วย
คาถาว่า
                ท่านเป็นผู้อันบ่วงมาร  ทั้งที่เป็นของทิพย์  ทั้งที่เป็นของมนุษย์ผูกพันไว้แล้ว  ท่านเป็น
ผู้อันเครื่องผูกแห่งมารรัดรึงแล้ว แน่ะสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา.
                พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า  เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็น
ของมนุษย์ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกแห่งมาร  ดูกรมาร  ท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว.
                ครั้งนั้น  มารผู้มีใจบาปรู้ว่า  พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้แล้ว
มีทุกข์ เสียใจ หายไปในที่นั้นเอง.
                                                                เรื่องสหายภัททวัคคีย์
                [๓๖] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระนครพาราณสีตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จ
จาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลอุรุเวลา  และทรงแวะจากทาง  แล้วเสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์
แห่งหนึ่ง  ครั้นถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว  ประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง.


                                                            หน้าที่ ๓๕

                ก็โดยสมัยนั้นแล  สหายภัททวัคคีย์จำนวน  ๓๐ คน  พร้อมด้วยปชาบดีบำเรอกันอยู่ ณ
ไพรสณฑ์แห่งนั้น.  สหายคนหนึ่งไม่มีประชาบดี.  สหายทั้งหลายจึงได้นำหญิงแพศยามาเพื่อ
ประโยชน์แก่เขา.  ต่อมาหญิงแพศยานั้น เมื่อพวกสหายนั้นเผลอตัวมัวบำเรอกันอยู่  ได้ลัก
เครื่องประดับหนีไป.  จึงพวกสหายนั้น เมื่อจะทำการช่วยเหลือสหาย  เที่ยวตามหาหญิงแพศยา
นั้น ไปถึงไพรสณฑ์แห่งนั้น  ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค  แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า  พระผู้มีพระภาคเห็นหญิงบ้างไหม
เจ้าข้า?
                พระผู้มีพระภาคทรงย้อนถามว่า  ดูกรกุมารทั้งหลาย  พวกเธอจะต้องการอะไรด้วย
หญิงเล่า?
                ภัท. เจ้าข้า พวกข้าพเจ้าเป็นสหายภัททวัคคีย์จำนวน ๓๐ คน ในตำบลนี้  พร้อมด้วย
ปชาบดี บำเรอกันอยู่ในไพรสณฑ์แห่งนี้  สหายคนหนึ่งไม่มีปชาบดี  พวกข้าพเจ้าจึงได้นำหญิง
แพศยามาเพื่อประโยชน์แก่เขา ต่อมา หญิงแพศยานั้น  เมื่อพวกข้าพเจ้าเผลอตัวมัวบำเรอกันอยู่
ได้ลักเครื่องประดับหนีไป เพราะเหตุนั้น พวกข้าพระองค์ผู้เป็นสหายกัน เมื่อจะทำการช่วยเหลือ
สหาย จึงเที่ยวตามหาหญิงนั้นมาถึงไพรสณฑ์แห่งนี้ เจ้าข้า.
                ภ.  ดูกรกุมารทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่พวกเธอแสวงหาหญิง
หรือแสวงหาตนนั้น อย่างไหนเป็นความดีของพวกเธอเล่า?
                ภัท.  ข้อที่พวกข้าพระองค์แสวงหาตนนั่นแล  เป็นความดีของพวกข้าพเจ้า เจ้าข้า.
                ภ.  ดูกรกุมารทั้งหลาย  ถ้าอย่างนั้นพวกเธอนั่งลงเถิด  เราจักแสดงธรรมแก่พวกเธอ.
                พวกสหายภัททวัคคีย์เหล่านั้น  รับพระพุทธาณัติพจน์ว่า อย่างนั้น เจ้าข้า  ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้ว  นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.  พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถา
แก่พวกเขา คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม  ความเศร้าหมองของ
กามทั้งหลาย  และอานิสงส์ในความออกจากกาม.  เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า  พวกเขามีจิตสงบ
มีจิตอ่อน  มีจิตปลอดจากนิวรณ์  มีจิตเบิกบาน  มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา
ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง  คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.  ดวงตา
เห็นธรรม  ปราศจากธุลี  ปราศจากมลทินว่า  สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้น
ทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา  ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั่นแล ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘