พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ หน้า 021-025

                                                            หน้าที่ ๒๑

                จีวรเดิมเกิดได้ ๒๐ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน ๑๐  วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๒๑ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน    วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๒๒ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน    วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๒๓ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน    วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๒๔ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน    วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๒๕ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน    วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๒๖ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน    วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๒๗ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน    วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๒๘ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน    วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๒๙ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงให้ทำให้เสร็จใน    วัน.
                จีวรเดิมเกิดได้ ๓๐ วัน จีวรที่หวังจึงเกิด พึงอธิษฐาน พึงวิกัปไว้ พึงสละให้ผู้อื่นไป
ในวันนั้นแหละ. ถ้าไม่อธิษฐาน ไม่วิกัปไว้ หรือไม่สละให้ผู้อื่นไป เมื่ออรุณที่ ๓๑ ขึ้นมา
จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้;-
                                                                วิธีเสียสละ
                                                เสียสละแก่สงฆ์
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่านเจ้าข้า อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็นของจำจะสละ
ข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่สงฆ์.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่
เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อกาลจีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้ เป็นของ
จำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้
อกาลจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.


                                                            หน้าที่ ๒๒

                                                เสียสละแก่คณะ
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา
กว่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่านเจ้าข้า อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็นของจำจะสละ
ข้าพเจ้าสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่
เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
                ท่านทั้งหลาย ขอจงฟังข้าพเจ้า อกาลจีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้เป็นของจำจะ
สละ เธอสละแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว
ท่านทั้งหลายพึงให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้.
                                                เสียสละแก่บุคคล
                ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าวอย่างนี้ว่า
                ท่าน อกาลจีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วงเดือนหนึ่ง เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละ
อกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน.
                ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับเสียสละนั้น พึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เสียสละให้
ด้วยคำว่า ข้าพเจ้าให้อกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน ดังนี้.
                [๓๘] เมื่อจีวรเดิมเกิดขึ้นแล้ว จีวรที่หวังจึงเกิดขึ้น เนื้อผ้าไม่เหมือนกัน และราตรี
ยังเหลืออยู่ ภิกษุไม่ต้องการ ก็ไม่พึงให้ทำ.
                                                                บทภาชนีย์
                                                นิสสัคคิยปาจิตตีย์
                [๓๙] จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุสงสัย เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวรล่วงเดือนหนึ่งแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.


                                                            หน้าที่ ๒๓

                จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวรยังไม่ได้สละให้ไป ภิกษุสำคัญว่าสละให้ไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวรยังไม่หาย ภิกษุสำคัญว่าหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                จีวรยังไม่ถูกโจรชิงไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
                                                                ทุกกฏ
                [๔๐] จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่เสียสละ บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ. จีวรยังไม่ล่วง
เดือนหนึ่ง ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุ
สงสัย บริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.
                                                                ไม่ต้องอาบัติ
                จีวรยังไม่ล่วงเดือนหนึ่ง ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้องอาบัติ.
                                                                อนาปัตติวาร
                [๔๑] ในภายในหนึ่งเดือน ภิกษุอธิษฐาน ๑ ภิกษุวิกัปไว้ ๑ ภิกษุสละให้ไป ๑
จีวรหาย ๑ จีวรฉิบหาย ๑ จีวรถูกไฟไหม้ ๑ โจรชิงเอาไป ๑ ภิกษุถือวิสาสะ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑
ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
                                                จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
                                                ___________


                                                            หน้าที่ ๒๔

                                                ๑. จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๔
                                                เรื่องพระอุทายี
                [๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถปิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ปุราณาทุติยิกาของท่านพระอุทายี บวชอยู่
ในสำนักภิกษุณี นางมายังสำนักท่านพระอุทายีเสมอ แม้ท่านพระอุทายีก็ไปยังสำนักภิกษุณีนั้น
เสมอ และบางครั้งก็ฉันอาหารอยู่ในสำนักภิกษุณีนั้น. เช้าวันหนึ่ง ท่านพระอุทายีครอง
อันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเข้าไปหาภิกษุณีนั้นถึงสำนัก ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะ เปิดองค์กำเนิด
เบื้องหน้าภิกษุณีนั้น แม้ภิกษุณีนั้นก็นั่งบนอาสนะ เปิดองค์กำเนิดเบื้องหน้าท่านพระอุทายี
ท่านพระอุทายีมีความกำหนัด ได้เพ่งดูองค์กำเนิดของนาง อสุจิได้เคลื่อนจากองค์กำเนิดของ
ท่านพระอุทายี ท่านพระอุทายีได้พูดกะนางว่า ดูกรน้องหญิง เธอจงไปหาน้ำมา ฉันจะซักผ้า
อันตรวาสก
                นางบอกว่า ส่งมาเถิดเจ้าข้า ดิฉันเองจักซักถวาย. ครั้นแล้วนางได้ดูดอสุจินั้นของท่าน
ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้สอดเข้าไปในองค์กำเนิด นางได้ตั้งครรภ์เพราะเหตุนั้นแล้ว.
                ภิกษุณีทั้งหลายได้พูดกันอย่างนี้ว่า ภิกษุณีรูปนี้มิใช่พรหมจารินี ภิกษุณีรูปนี้จึงมีครรภ์.
                นางพูดว่า แม่เจ้า ดิฉันมิใช่พรหมจารินีก็หาไม่ ครั้นแล้วนางได้แจ้งความนั้นแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย.
                ภิกษุณีทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้ให้
ภิกษุณีซักจีวรเก่าเล่า แล้วแจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.
                บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้ให้ภิกษุณีซักจีวรเก่าเล่า แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
                                                ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
                ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น
ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่าเธอให้ภิกษุณี
ซักจีวรเก่า จริงหรือ?


                                                            หน้าที่ ๒๕

                ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
                ภ. นางเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ?
                อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า.
                                                                ทรงติเตียน
                พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ
ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ บุรุษที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำ
อันสมควรหรือไม่สมควร การกระทำอันน่าเลื่อมใสหรือไม่น่าเลื่อมใสของสตรีที่มิใช่ญาติ เมื่อ
เป็นเช่นนั้น เธอยังให้ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติซักจีวรเก่าได้ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้
การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น
อย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
                                                ทรงบัญญัติสิกขาบท
                พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายี โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ
เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ
คลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ
ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่
เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่ม
บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดใน
ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘